Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน

หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]

‘Rainy Day People’ มนุษย์เมืองใต้ฝนฟ้าที่ไม่เป็นใจ

“ดูท่าเหมือนฝนจะตก หยิบร่มติดตัวไปด้วยเป็นยันต์กันฝน” นี่คือประโยคที่หลายคนพูดล้อเล่นกันบ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาสภาพอากาศในป่าคอนกรีตที่ร้อนระอุอย่างกรุงเทพมหานครได้ แม้จะมีกรมอุตุนิยมวิทยาคอยพยากรณ์ให้ก็ตาม บางวันบอกว่าจะตกหนัก แต่ดันไม่หนักบริเวณที่เราอยู่ บางวันบอกว่าฟ้าจะสว่างสดใส แต่เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างกลับมีฝนตกโปรยปรายเสียอย่างนั้น การหลบฝนใต้ร่มเงาสะพาน สวมถุงกันผมชื้น หรือฝืนเดินฝ่าม่านน้ำไป เลยอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเมืองอย่างเราๆ ล้วนต้องปรับตัวและใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่คาดเดายากมานานแล้ว จนบางครั้งก็อาจลืมไปว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วหรือเปล่า ระหว่างติดฝนจนกลับบ้านไม่ได้ครั้งหนึ่ง เราจึงลองมองพฤติกรรมของ ‘มนุษย์เมืองใต้ฝน’ ที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งน่าสังเกต น่าสนใจ และน่าคิดตาม ทำให้เราอยากบันทึกเอาไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราต่างต้องเอาตัวรอดกันให้ได้ในมหานครแห่งนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.