เปิดกล่องความทรงจำกรุงเทพฯ กับนิทรรศการ ‘บางกอกรำลึก’ โดยช่างภาพชาวเดนมาร์ก วันนี้ – 19 มี.ค. 67 ที่ Charoen 43 Art & Eatery

ความทรงจำของเรามักถูกเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เพลง ภาพยนตร์ ผู้คน หรือแม้แต่สถานที่ที่เมื่อเรากลับไปตรงนั้น ภาพความทรงจำต่างๆ ก็จะปรากฏชัดขึ้นมา เช่นเดียวกับในนิทรรศการ ‘บางกอกรำลึก’ (Bangkok Archive) โดย ‘อุล์ฟ สเวน’ ช่างภาพชาวเดนมาร์ก ที่จะชวนให้ทุกคนได้มาเปิดกล่องภาพแห่งความทรงจำกับเรื่องราวของผู้คนและย่านต่างๆ ในกรุงเทพมหานครกัน นิทรรศการนี้เป็นการสานต่อมาจากนิทรรศการ ‘Copenhagen Archive’ ประเทศเดนมาร์ก โปรเจกต์ที่ได้รับความร่วมมือกับ ‘UNESCO and the World Congress of Architecture’ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการบันทึกเรื่องราวความทรงจำของผู้คนและสถานที่ที่มักถูกมองข้ามในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม ภาพไฮไลต์ในบางกอกรำลึกครั้งนี้มาจากสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นสวนสัตว์พาต้า สถานตากอากาศบางปู ย่านตลาดน้อย และยังมีอีกมากมายที่ครั้งหนึ่งอาจเคยเป็นความทรงจำของเรา ร่วมเปิดกล่องภาพความทรงจำของกรุงเทพฯ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 19 มีนาคม 2567 ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 12.00 – 19.00 น. ที่ Charoen 43 Art & […]

นิทรรศการศิลปะ ‘เมืองลับแล’ บอกเล่าเรื่องกรุงเทพฯ ที่มองไม่เห็น วันนี้ – 23 มี.ค. 67 ที่ SAC Gallery

‘กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย’ คำขวัญกรุงเทพฯ ที่พูดถึงความเจริญของเมืองผ่านแง่มุมที่สวยหรู แต่ด้วยการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้กรุงเทพฯ ในจินตนาการนั้นแตกต่างกับความเป็นจริง ‘เมืองลับแล’ (Invisible Town) คือนิทรรศการที่สะท้อนถึงผู้คนและกรุงเทพฯ เมืองที่กำลังพัฒนาผ่านผลงานศิลปะของ ‘มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ’ ศิลปินหญิงชาวมุสลิม ที่มองเห็นถึงปัญหาทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ความบกพร่องในการวางผังเมือง และการคอร์รัปชัน รวมไปถึงบางพื้นที่ชาวบ้านต้องอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับแหล่งทิ้งขยะขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรม ที่หลายคนอาจมองข้ามผลกระทบที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไป ผลงานในนิทรรศการนี้มีแนวความคิดการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับสิ่งของเหลือใช้ เช่น กระป๋องบุบ มุ้งลวดกันยุง กระดาษลังใช้แล้ว กล่องนม เหล็กดัด และใช้ผ้ามัดย้อมหรือผ้าพิมพ์ลายภาพสถานที่สื่อถึงการตระหนักรู้เรื่องหมอกควัน แสดงให้เห็นถึงมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาแก่ผู้คนในประเทศไทยและกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอในลักษณะเหมือนช่องหน้าต่างและฉากกั้นห้อง ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งภายในบ้านแบบไทยและบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมีการนำเอาผนังรีไซเคิลมาสร้างเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่อีกด้วย เปิดประสบการณ์เมืองลับแล (Invisible Town) ที่ SAC Gallery ตั้งแต่วันนี้ – 23 มีนาคม 2567 ทุกวันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 11.00 – 18.00 น.

มองปัญหาเมืองผ่านภาพสเก็ตช์สิ่งของข้างทาง ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ วันนี้ – 4 ก.พ. ที่ Everyday Architect Studio

เชื่อหรือไม่ว่า งานดีไซน์หรืองานสร้างสรรค์บางชิ้นอาจเป็นส่วนเล็กๆ ที่พาเราไปพบกับปัญหาต่างๆ ของการอยู่อาศัยในเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ เช่นเดียวกับนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ โดย Everyday Architect & Design Studio ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่จะพาเราไปทำความเข้าใจและพบกับปัญหาในเมืองที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ภายในนิทรรศการจัดแสดงภาพสเก็ตช์จำนวน 365 รูป ที่เป็นภาพวาดบันทึกสิ่งของและงานออกแบบสถาปัตยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างข้างทางในกรุงเทพฯ ตลอดช่วงปลายปี 2019 ถึงปลายปี 2020 โดยงานออกแบบทั้งหมดนี้มีชื่อเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ เพื่อเป็นการให้คำจำกัดความภาพงานออกแบบสิ่งของที่ดูเรี่ยราด อยู่เป็นกองๆ เหมือนหมู่คณะที่ข้างทางนั่นเอง แม้ว่าผลงานเหล่านี้อาจจะดูไม่น่าสนใจและดูเหมือนจะนำไปต่อยอดไม่ได้ แต่ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอฯ ได้วาดภาพเหล่านี้ ทำให้เขาเข้าใจถึงเงื่อนไขและปัญหาของเมืองที่ซ่อนอยู่แบบที่คาดไม่ถึง และปัญหาเหล่านี้มักมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคนิคที่ยากจะคาดเดา ช่วยท้าทายวิธีคิดและมุมมองของเหล่านักออกแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เห็นผลงานเหล่านี้ด้วย ไปชมผลงานทั้งหมดนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 19.00 น. […]

‘She’s Too Much’ นิทรรศการบันทึกชีวิต 28 วัน โดย Juli Baker and Summer วันที่ 16 มี.ค. – 16 เม.ย. ที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

กลับมาอีกครั้งกับนิทรรศการเดี่ยวจาก ‘Juli Baker and Summer’ หรือ ‘ป่าน-ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา’ ศิลปินที่มีผลงานเป็นเอกลักษณ์ ผู้ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกผ่านผลงานศิลปะสีสันสดใสราวกับแสงแดดในฤดูร้อน โดยนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 5 นี้มีชื่อว่า ‘She’s Too Much’ ซึ่งเป็นการแสดงผลงานที่ผ่านการสำรวจ บันทึก เฉลิมฉลอง ผลักไส และโอบกอดทุกห้วงอารมณ์ความรู้สึก ตลอดช่วงเวลา 28 วันของเธอ She’s Too Much คือคำกล่าวถึงเธอที่ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ในบางเวลา และได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือปกสองเล่ม คือ ‘All About Love’ โดย Bell Hooks และ ‘Red Moon Gang’ โดย Tara Costello ที่มอบพลังแห่งความรักและโอบกอดอารมณ์ทั้งดีและร้ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 28 วันของเธอ และทำให้ตระหนักถึงที่มาที่ไปของอารมณ์ความรู้สึกในใจที่อาจเกิดได้จากเรื่องยิบย่อยประจำวัน ทำให้เธอเริ่มจดบันทึก สำรวจ และเฝ้าติดตามอารมณ์ ก่อนที่จะนำเรื่องราวที่บันทึกไว้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาด 29 […]

Chongqing Huguang City Exhibition Hall อาคารชั่วคราวทรงสามเหลี่ยมในเมืองฉงชิ่ง ใช้บริบทของพื้นที่มาออกแบบให้โดดเด่นท่ามกลางหมอกหนา

โครงการ Chongqing Huguang ในเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ได้สร้างอาคารชั่วคราวอย่าง Chongqing Huguang City Exhibition Hall ขึ้นท่ามกลางความสวยงามของเมืองที่ด้านหลังเป็นที่ตั้งของอาคารทรงสูงทันสมัย ส่วนด้านหน้าเป็นสถานที่เชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติอย่าง Huguang Guild Hall มรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง ไกลออกไปเป็นสะพาน Dongshuimen และแม่น้ำแยงซี  ด้วยความที่ฉงชิ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งหมอก ทำให้ SUZAO Architects สตูดิโอออกแบบเลือกใช้สีทองมาทำให้ตัวอาคารโดดเด่นจากหมอกที่ปกคลุมทั้งเมือง ดูล้ำสมัย เรียบง่าย และแปลกใหม่ในสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมา  ทั้งนี้ ตัวอาคารยังถูกออกแบบเป็นทรงสามเหลี่ยมที่ยกสูง เพื่อเพิ่มการมองเห็นในมุมมองที่กว้างขึ้น ส่วนฐานด้านล่างของอาคารก็ล้อมรอบไปด้วยกระจกที่ให้ความรู้สึกเหมือนตัวอาคารสามเหลี่ยมนี้กำลังลอยตัวอยู่บนพื้น  นอกจากภายในอาคารจะมีนิทรรศการขายโครงการ Chongqing Huguang แล้ว ตัวพื้นที่นั้นยังใช้เป็นหอชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองฉงชิ่งผ่านกระจกใสบานใหญ่ได้อีกด้วย ว่าแล้วก็อยากเห็นที่ไทยทำอาคารลักษณะนี้ออกมาบ้าง Source : ArchDaily | bit.ly/3jlN8Xy

สำรวจความจริงและความลวงในเมือง กับนิทรรศการ ‘Ghost 2565 : อยู่ยังไงให้ไม่ตาย’ วันนี้ – 13 พ.ย. 65 ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ

หากใครเคยชมงานศิลปะจากนิทรรศการ Ghost : 2561 มาก่อนหน้านี้ ก็คงรอคอยที่จะชมงานศิลปะในรูปแบบที่แปลกใหม่แบบนี้อีกแน่นอน เพราะ Ghost เป็นเทศกาลศิลปะซีรีส์ในรูปแบบของวิดีโอและศิลปะการแสดงที่จัดขึ้นทุกๆ สามปีในกรุงเทพฯ​ โดยมีเป้าหมายมุ่งมั่นสร้างและหล่อเลี้ยงชุมชนผ่านงานวิดีโอและศิลปะการแสดงพร้อมกับกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และปีนี้ซีรีส์ Ghost ได้กลับมายังกรุงเทพฯ อีกครั้งในชื่อ ‘Ghost 2565 : อยู่ยังไงให้ไม่ตาย’ ครั้งนี้แก่นของนิทรรศการเน้นไปทางการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านคอนเซปต์ที่ยึดโยงกับบริบทพื้นที่ของกรุงเทพฯ​ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยเล่าถึงแนวความคิดจากความผิดพลาดของเวลา พื้นที่ และสิ่งต่างๆ รอบตัวที่ไม่สอดคล้องกัน ให้เราได้รับชมและจินตนาการถึงการค้นหาแนวทางในการใช้ชีวิตกันต่อไป ผ่านงานศิลปะในรูปแบบของการแสดงและ Video Installation โดยศิลปินหลากหลายประเทศทั้งไทยและต่างชาติ ที่ผ่านการคัดเลือกของ ‘คริสติน่า ลี’ ภัณฑารักษ์และนักเขียนที่ทำงานระหว่างฮ่องกงและอัมสเตอร์ดัม Ghost 2565 : อยู่ยังไงให้ไม่ตาย จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – 13 พฤศจิกายน 2565 เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ โดยส่วน Video Installation จะจัดขึ้นที่ Bangkok CityCity Gallery, บ้านตรอกถั่วงอก, […]

วินมอเตอร์ไซค์ที่สดใสที่สุดในตอนนี้! ชวนแวะ ‘สวนวิน-วิน’ ประดิพัทธ์ 17 โปรเจกต์ใหม่จาก Weekend Garden Bkk

การรอวินมอเตอร์ไซค์ในย่านอารีย์จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป! เพราะเราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘สวนวิน-วิน’ โปรเจกต์ใหม่จาก Weekend Garden Bkk ที่เปลี่ยนวินมอเตอร์ไซค์ในซอยประดิพัทธ์ 17 ให้มีชีวิตชีวาด้วยต้นไม้และดอกไม้หลากชนิด เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดเล็กที่พร้อมต้อนรับชาวกรุงก่อนซิ่งมอเตอร์ไซค์ไปทำงานกัน Weekend Garden Bkk คือกลุ่มนักออกแบบผู้สร้าง Pop-up Garden ซึ่งเป็น Exhibition สวนชั่วคราว ที่จะสร้างสรรค์และแต่งแต้มความสดใสให้กับย่านต่างๆ ในเมือง ซึ่งเป็นทีมเดียวกันกับ Kernel Design ที่เคยจัดแสดงงานในเทศกาล Bangkok Design Week มาแล้วถึงสองครั้ง  ‘ธัน-นรมน วงษ์นิยม’ จาก Weekend Garden Bkk ได้เล่าถึงไอเดียของสวนวิน-วินให้เราฟังว่า พวกเขาเริ่มต้นโปรเจกต์ชิ้นแรกด้วยการเลือกพื้นที่ที่ใกล้กับออฟฟิศของ Weekend Garden ซึ่งเหตุผลที่เลือกวินมอเตอร์ไซค์ก็เพราะสมาชิกในทีมต่างใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์ในซอยประดิพัทธ์ 17 เป็นประจำอยู่แล้ว ทำให้รู้สึกว่า จุดรับผู้โดยสารบริเวณนั้นเปรียบเสมือนออฟฟิศของกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ไปในตัว  เพราะเห็นว่าพี่ๆ วินมอเตอร์ไซค์ต้องสแตนด์บายรอรับผู้โดยสารแทบจะตลอดทั้งวัน พื้นที่นั้นจึงไม่ต่างอะไรกับบ้านหลังที่สองของพวกเขา ทาง Weekend Garden Bkk จึงอยากช่วยเปลี่ยนพื้นที่ของวินมอเตอร์ไซค์ให้กลายเป็นสวนบ้านขนาดย่อม เพื่อปรับสถานที่ทำงานของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างให้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยสีเขียวของต้นไม้ ซึ่งล้อไปกับแนวคิดเรื่อง […]

ชวนรำลึกเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 กับนิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม’ ที่ Palette Artspace วันนี้ – 29 พ.ค. 65

เหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ หรือ ‘พฤษภาฯ 2535’ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เกิดเหตุการณ์ประชาชนรวมตัวกันเพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สถานการณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นไม่นาน รัฐบาลได้สั่งทหารปราบปรามผู้ชุมนุมจนนำไปสู่ความรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการจำนวนมาก และสิ่งที่หลายคนอาจหลงลืมก็คือ ‘ผู้สูญหาย’ ซึ่งไม่มีตัวเลขบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ สำหรับบางคน พฤษภาฯ 35 อาจเป็นเพียงเหตุการณ์นองเลือดในประวัติศาสตร์ แต่สำหรับญาติของผู้สูญหาย พวกเขายังคงรอคำตอบจากภาครัฐเกี่ยวกับชะตากรรมของพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือลูกของพวกเขา ก่อนคำว่า ‘สูญหาย’ จะทำให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเลือนรางมากกว่านี้ เราอยากชวนทุกคนไปรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 30 ปีก่อนที่นิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม (Lost, and life goes on)’ จัดขึ้นโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เพื่อนำเสนอเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 ผ่านเรื่องราวการ ‘สูญหาย (Lost)’ และ ‘ชีวิต (Life)’ ของญาติผู้สูญหายที่ยังคงดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลา 30 ปี  ภายในงานมีการจัดแสดงศิลปะ […]

Diverse Ukraine นิทรรศการภาพเล่าวัฒนธรรมหลากหลายของยูเครน ที่มิวเซียมสยาม วันนี้ – 29 พ.ค. 65

ใครอยากรู้จักวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายของ ‘ชาวยูเครน’ ที่อาจไม่เคยเห็นมาก่อน เราขอชวนทุกคนไปชมนิทรรศการภาพถ่ายชุดพิเศษ ‘Diverse Ukraine’  Diverse Ukraine คือนิทรรศการที่เกิดจากเวิร์กช็อป ‘Треті Півні’ แปลเป็นไทยว่า ‘เวลาก่อนรุ่งอรุณ’ เป็นการรวมตัวกันของศิลปินชาวยูเครน 3 คน ได้แก่ Dominika Dyka, Tetiana Cherevan และ Natalia Kolpakova ซึ่งเป็นทั้งช่างภาพ ช่างแต่งหน้า และสไตลิสต์ ภาพถ่ายที่จัดแสดงเกิดขึ้นจากการสร้างรูปลักษณ์แบบโบราณขึ้นมาใหม่ โดยให้ผู้คนแต่งกายในชุดประเพณีและเครื่องประดับศีรษะจากหลากหลายภูมิภาคของยูเครน เพื่อแสดงถึงความงดงามและความหลากหลายของวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ หนึ่งในความน่าสนใจก็คือ ภาพที่จัดแสดงส่วนใหญ่นำเสนอความแตกต่างระหว่างเครื่องแต่งกายของผู้หญิงชาวยูเครนหลายช่วงวัย ตั้งแต่เด็กสาว ผู้หญิงที่แต่งงาน ไปจนถึงผู้หญิงสูงอายุ รวมไปถึงภาพชายหญิงในชุดแต่งงานตามประเพณีดั้งเดิมของยูเครนด้วย ใครที่สนใจสามารถแวะไปเรียนรู้วัฒนธรรมของยูเครนที่นิทรรศการ Diverse Ukraine ได้ ‘ฟรี’ ที่ชั้น 1 อาคารนิทรรศการ ‘มิวเซียมสยาม’ (t.ly/xhvq) ตั้งแต่วันนี้ – 29 พฤษภาคม 2565 เปิดทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.00 […]

ท่องโลกประวัติศาสตร์ไทยอันเพ้อฝัน กับนิทรรศการ BLUE FANTASY ที่ Hub of Photography วันนี้ – 19 มิ.ย. 65

เพราะตำนานและพงศาวดารเก่าแก่ของไทยถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อประดับลงบนโครงสร้างสังคมร่วมสมัย ตีกรอบความเชื่อ และเพิ่มพูนอำนาจให้แก่รัฐในทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ ความเชื่อนี้จึงเป็นสารตั้งต้นที่ทำให้ศิลปินอยากชวนทุกคนไปสำรวจโลกเพ้อฝันอันแปลกตาที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ‘BLUE FANTASY : ประวัติศาสตร์เพ้อฝัน’ คือนิทรรศการของ ‘กมลลักษณ์ สุขชัย’ ที่นำเสนอศิลปะภาพตัดแปะแบบคอลลาจ (Collage) ผ่านส่วนประกอบของภาพถ่าย รูปวาด จดหมาย ตลอดจนเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สอดประสานกัน เพื่อสะท้อนความไม่เท่าเทียมเชิงระบบ ตลอดจนความเหลื่อมล้ำของสังคมที่เกิดขึ้นมาจากบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งมักอุทิศเนื้อหาให้แก่การเชิดชูเหล่าวงอวตาร โดยบางส่วนของวรรณกรรมเหล่านี้ยังถูกคัดสรรขึ้น เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนความจริงทางประวัติศาสตร์อันเป็นปริศนาด้วย สำหรับผลงานภาพชุด BLUE FANTASY กมลลักษณ์มอบอำนาจให้เหล่าผู้ถูกปกครองลองเขียนและสร้างประวัติศาสตร์ของพวกเขาขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสร้างความหมายของการมีชีวิตและความรู้สึกถึงตัวตนขึ้นมาใหม่ เธอจึงกลายเป็น ‘จิตรกรผู้วาดประวัติศาสตร์’ ผ่านการประพันธ์เรื่องราวในแบบฉบับของเธอเอง โดยแทนที่ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ด้วยใบหน้าของสมาชิกในครอบครัว  ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกมลลักษณ์จึงเป็นการผสมผสานภูมิหลังของครอบครัว จินตนาการของชาวบ้านในท้องถิ่น วรรณกรรม ความฝันของสมาชิกในบ้าน ตลอดจนเรื่องราวเก่าแก่ของสิ่งของดั้งเดิมภายในบ้าน โดยเธอได้เน้นย้ำและยกย่องถึงคุณค่าของครอบครัว เพื่อให้ความหมายแด่สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองข้ามไป ผลงานคอลลาจเหล่านี้จะพาทุกคนไปสำรวจและตั้งคำถามถึงนิยามของคำว่า ‘ประวัติศาสตร์’ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างและกำหนดอัตลักษณ์ ความปรารถนา และจิตสำนึกของคนในสังคม เพื่อสะท้อนว่าประวัติศาสตร์ที่ถูกอำนาจคัดสรรมานั้น ส่งผลให้อัตลักษณ์และความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมถูกดัดแปลง ควบคุม และเต็มไปด้วยความโป้ปด เหนือสิ่งอื่นใด ผลงานชุดนี้ยังเปรียบเสมือนสื่อกลางของศิลปิน ที่อยากเรียกคืนความยุติธรรมและความเท่าเทียมของสังคมผ่านการตีแผ่และชำแหละเรื่องราวอันเพ้อฝัน รวมไปถึงเรื่องเล่าเหนือธรรมชาติที่ทำให้อำนาจทางการเมืองส่องประกายโดดเด่นและมีความหมายสำคัญต่อประวัติศาสตร์การปกครองของไทยตลอดมา กมลลักษณ์ สุขชัย เป็นศิลปินช่างภาพชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นจากการสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายแบบคอลลาจ […]

Guarding The Art นิทรรศการในบัลติมอร์ งานศิลปะที่คัดสรรโดย รปภ. พิพิธภัณฑ์ เปลี่ยนผู้ดูแลงานให้เป็น Curator

ใครไปพิพิธภัณฑ์บ่อยๆ คงเคยสังเกตเห็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ยืนตามจุดต่างๆ ของพื้นที่จัดแสดง หน้าที่หลักของพวกเขาคือเคลื่อนย้ายและดูแลงานศิลปะที่จัดแสดง รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชม ซึ่งยามรักษาการณ์เหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่คุ้นเคยและใกล้ชิดกับงานศิลปะมากกว่าคนทั่วไป  เพราะเหตุนี้ Baltimore Museum of Art พิพิธภัณฑ์ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา จึงปิ๊งไอเดียจัดนิทรรศการ ‘Guarding the Art’ เพื่อแสดงงานศิลปะ 25 ชิ้นที่คัดสรรโดย 17 เจ้าหน้าที่จากแผนกรักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ มีทั้งอดีตเจ้าหน้าที่และคนที่ปัจจุบันยังทำงานอยู่ เจ้าหน้าที่ทั้ง 17 คนได้มีส่วนร่วมรังสรรค์นิทรรศการนี้เกือบทุกขั้นตอน ทั้งกระบวนการคัดเลือกผลงานที่ใช้เวลานานกว่า 2 ปี การออกแบบการจัดวาง (Installation) การผลิตเนื้อหาสำหรับเอกสารและสื่อประเภทอื่นๆ รวมไปถึงการออกแบบทัวร์นิทรรศการสำหรับผู้เข้าชมด้วย ผลงานที่ถูกคัดเลือกจัดแสดงใน Guarding the Art มีความหลากหลาย ทั้งในด้านยุคสมัยของผลงาน ประเภท หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ ‘Black Lives Matter’ การระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับงานของพวกเขา Guarding the Art เกิดขึ้นจากไอเดียของเอมี่ เอเลียส […]

มองสติกเกอร์ให้เป็นมากกว่าแผ่นลอก-ติด ไปกับนิทรรศการ Whatever Sticker ที่ XXXYYY Cafe วันนี้ – 30 เม.ย. 65

‘สติกเกอร์’ มีความหมายและมีบทบาทในชีวิตของพวกคุณอย่างไรบ้าง? สติกเกอร์ (Sticker) มีคำแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘รูปลอก’ หรือที่เรารู้จักกันดีในรูปแบบแผ่นลอก-ติด-แปะ ที่มีหลากหลายลวดลายและสีสัน พบได้ทั่วไปในบ้านของเราเอง ร้านค้า ร้านอาหาร รวมไปถึงสถานที่สาธารณะ หากสังเกตดีๆ จะพบว่าแผ่นลอกเหล่านี้แฝงตัวอยู่รอบตัวพวกเรามานานหลายปีแล้ว ช่วงวัยเด็กหลายคนคงคุ้นเคยกับการซื้อสติกเกอร์การ์ตูนจากร้านเครื่องเขียนใกล้โรงเรียน หรือรถพุ่มพวงขายสติกเกอร์ที่ขับผ่านหน้าบ้าน บางคนมีสมุดสติกเกอร์เป็นของตัวเองไว้สะสมหรือเก็บไว้แลกรางวัล โตขึ้นมาหน่อยก็จะรู้จักสติกเกอร์สะสมความดี สติกเกอร์คำหยาบ และสติกเกอร์คำคมติดหลังรถ เมื่อเทคโนโลยีล้ำสมัยมากขึ้น สติกเกอร์ก็กลายร่างสู่รูปแบบดิจิทัล มีม และสารพัดอีโมจิ ที่ผู้คนซื้อขายกันตามโซเชียลมีเดีย ส่วนการใช้งานของสติกเกอร์ก็หลากหลาย ชนิดที่ว่าไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดใดๆ ทั้งการใช้งานเพื่อตกแต่ง สื่อสาร เป็นของที่ระลึก หรือแม้แต่ในสถานการณ์โรคระบาด การใช้สติกเกอร์ยังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเราเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การติดสติกเกอร์ไว้ที่ตัวหลังวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าพื้นที่สาธารณะเพื่อเป็นการบอกว่าเราสบายดี หรือการใช้สติกเกอร์กำหนดพื้นที่เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม ความหลากหลายทั้งด้านการใช้งานและการสื่อความหมายของสติกเกอร์จึงเป็นที่มาของ Whatever Sticker นิทรรศการที่ชวนผู้คนจากหลากหลายแวดวงผลิตชิ้นงาน ‘สติกเกอร์’ ในมุมมองของตัวเอง นอกเหนือจากสติกเกอร์ที่มีรูปแบบแผ่นลอก-ติด โดยมีศิลปิน ครีเอเตอร์ นักออกแบบ นักสื่อสาร และนักรณรงค์ ร่วมจัดแสดงผลงานถึง 26 คน Whatever Sticker จัดแสดงสติกเกอร์ที่มีรูปแบบแปลกตา ฟังก์ชันล้ำ แถมยังซ่อนข้อความของผู้ออกแบบไว้ด้วย […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.