Mitsubishi Electric ชวนมองปัญหาโลกร้อนในมุมมองสัตว์โลก ผ่านแคมเปญ ‘#MEเธอแล้วโลกโอเค’

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจนทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของมนุษย์โลก ซึ่งบางครั้งเราเองอาจไม่ได้ทันนึกว่าสิ่งของรอบตัวจะเป็นส่วนที่ทำให้อายุของโลกสั้นลง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุให้สภาพอากาศแย่ลงไปด้วย ในฐานะของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน ‘Mitsubishi Electric’ ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อยู่เสมอ จึงมีแนวทางในการดำเนินงานด้วยความใส่ใจทั้งคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่มีความทนทานเพื่อลดปริมาณขยะลง ใช้วัสดุรีไซเคิล และเพิ่มระบบประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยลดโลกร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของแบรนด์ รวมไปถึงยังมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบวงกว้างของปัญหาโลกร้อนต่อสัตว์โลก ที่นอกเหนือจากความร้อนแล้ว เราอาจไม่รู้ว่าปัญหาโลกร้อนนั้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างไรบ้าง กับแคมเปญ #MEเธอแล้วโลกโอเค โดยนำเสนอผ่าน Documentary Film 3 เรื่อง ได้แก่ ต้าวหมาขี้ร้อน VS ทาสผู้หวังดี เล่าถึงสุนัขพันธุ์โกลเดนรีทรีฟเวอร์ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ต้องออกไปใช้เวลาสนุกสนานกับเจ้าของบ้าน ซึ่งอากาศภายนอกนั้นเต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ แถมยังร้อนจนอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นฮีตสโตรกให้กับน้องหมา แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้น้องหมาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Mitsubishi Electric ที่ช่วยดูแลสภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งคนและสัตว์เย็นสบาย หายใจรับอากาศสะอาดภายในบ้านอย่างเต็มปอด หมีแท้ VS หุ่นหมี ภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลแค่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดฤดูหนาวที่อาจหนาวยาวนานขึ้นหรือสั้นลง จนหมีที่จำศีลได้รับผลกระทบถึงขั้นตายได้ ถึงแม้ว่าหมีขั้วโลกจะดูเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไกลตัวเรามาก แต่ในฐานะมนุษย์ เราสามารถช่วยเหลือเจ้าหมีพวกนี้ได้ด้วยการใช้ Mitsubishi Electric […]

ชมหนังสั้นประเด็นโลกร้อนจากทั่วโลกที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’18 – 19 ก.พ. 66 ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

ใครที่อยากเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ชวนไปชมภาพยนตร์ประเด็นวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลากหลายรูปแบบที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 3’ หรือ ‘CCCL FILM FESTIVAL 2023’ ภายในงานมีโปรแกรมจัดฉายหนังทั้งหมด 40 เรื่องจาก 16 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วยหนังสั้นจากประเทศไทย 21 เรื่อง หนังสั้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16 เรื่อง และหนังจากต่างประเทศ 3 เรื่อง ประกอบด้วยฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และแคนาดา ตัวอย่างโปรแกรมฉายที่น่าสนใจ ได้แก่ สารคดีสั้นที่ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 95 เรื่อง ‘Haulout’ โดย Maxim Chakilev และ Evgenia Arbugaeva, หนังสั้นสไตล์จัดจ้านจากเทศกาลโลการ์โน เรื่อง ‘Watch the Fire or Burn Inside it’ โดย Jonathan Vinel และ Caroline Poggi, […]

Coldplay วงป็อปร็อกจากอังกฤษที่ทัวร์คอนเสิร์ตสุดกรีน และผลักดันความยั่งยืนแบบรอบด้าน

ถ้าถามถึงวงดนตรีสากลที่คอเพลงชื่นชอบที่สุด เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยต้องมีชื่อวงป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษอย่าง Coldplay ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของลิสต์แน่ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวดนตรีที่มีเมโลดี้สุดยูนีก เนื้อเพลงความหมายลึกซึ้งที่ฟังเมื่อไหร่ก็รีเลตได้ทันที จึงไม่แปลกใจที่ผลงานของ Coldplay ช่วยปลอบประโลมและเยียวยาจิตใจของแฟนๆ ทั่วโลกได้นานถึง 26 ปี แต่ในปี 2022 วงดนตรีระดับโลกเจ้าของ 7 รางวัลแกรมมี่ (Grammy Awards) และ 9 รางวัลบริต (BRIT Awards) ไม่ได้หยุดอยู่แค่การถ่ายทอดความสุขให้แฟนเพลงผ่านเสียงดนตรีเท่านั้น แต่ยังยกระดับตัวเองให้เป็นแนวหน้าของวงการเพลงระดับโลกที่เปลี่ยนทัวร์คอนเสิร์ตให้มี ‘ความยั่งยืน’ และ ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ย้อนไปเมื่อปี 2019 Coldplay ได้ประกาศยกเลิกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้ม Everyday Life เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่โลกของเรากำลังเผชิญ โดยทางวงให้เหตุผลว่าจะใช้ช่วงเวลาที่หยุดพักหาแนวทางการทัวร์คอนเสิร์ตที่ยั่งยืน ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลกระทบทางบวกให้สังคม สองปีผ่านไป วงดนตรีจากเมืองผู้ดีคัมแบ็กพร้อมคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการประกาศทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มใหม่ Music of the Spheres World Tour 2022 ที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงแนวทางที่ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนอีกเพียบ ครอบคลุมเกือบทุกมิติของการจัดคอนเสิร์ตที่วงดนตรีวงหนึ่งจะทำได้ […]

Climate Anxiety เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้คน ‘เครียดไม่ไหว’ จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องด้วยตัวเอง

สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนหนักและคาดเดายาก อาจทำให้คนเครียดและวิตกกังวลจากปรากฏการณ์นี้มากขึ้น จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ย้อนไปเมื่อปี 2018 ฝรั่งเศสเคยประกาศเป้าหมายที่จะปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดในประเทศภายในปี 2022 เพื่อต่อสู้กับ ‘การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก’ หรือ ‘Climate Change’ ซึ่งอีกราวสองเดือนก็ถึงเส้นตายแล้ว แต่ดูเหมือนว่าฝรั่งเศสจะทำตามแผนการไม่สำเร็จแน่ๆ เพราะอาจจำเป็นต้องกลับมาเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ ด้านเมืองที่ท็อปฟอร์มเรื่องความยั่งยืนของโลกอย่าง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็อาจรักษาสัญญาที่จะเป็นเมืองปราศจากคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวตัวอย่างแผนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่ล้มเหลวของนานาชาติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศยังไม่เอาจริงเอาจังเรื่องโลกร้อนเสียที และมองว่าวิกฤตนี้คือเรื่องที่รอได้ เป้าหมายที่ถูกผัดวันประกันพรุ่ง นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกปัดตก และคำมั่นสัญญาของบรรดาผู้นำที่เป็นเพียงลมปาก ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลและท้อมากขึ้นทุกที นึกภาพไม่ออกว่าทั่วโลกจะควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ยังไง และเป้าหมายของนานาประเทศที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะเป็นเพียงแค่ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงหรือเปล่า Urban Creature ชวนทุกคนไปทำความรู้จัก ‘Climate Anxiety’ อาการวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตโลกรวน ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนพวกเขาไม่ขอนิ่งเฉย ลุกขึ้นมาเรียกร้องถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง หายนะโลกร้อน คงหน้าตาประมาณนี้สินะ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก […]

ไม่เพียงระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจากโลกร้อน! เมืองใหญ่ทั่วโลกเสี่ยงน้ำท่วมเพราะทรุดตัวจากที่อยู่หนาแน่น ใช้ทรัพยากรใต้ดิน ฯลฯ

เชื่อว่าเราคงเห็นข่าวหรือได้ยินว่าเมืองใหญ่ๆ ของโลกมีโอกาสจมน้ำเพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ด้วยวิกฤตสภาวะโลกร้อนมาแล้ว แต่งานวิจัยจากวารสาร Geophysical Research Letters ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม อาจจะชวนกระตุกต่อมความเชื่อและท้าทายงานวิจัยเดิม เพราะเขาบอกเราว่า การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลอาจจะไม่รวดเร็วเท่ากับอัตราที่เมืองใหญ่ทรุดตัวลง ในงานวิจัยชื่อว่า ‘Subsidence in Coastal Cities Throughout the World Observed by InSAR (สำรวจการทรุดตัวลงของเมืองชายฝั่งทั่วโลกโดยเรดาร์ InSAR)’ ผู้วิจัยสามคนคือ Pei-Chin Wu Meng Wei และ Steven D’Hondt ได้สำรวจ 99 เมืองใหญ่ติดชายฝั่งทะเลทั่วโลกผ่านระบบเรดาร์ และค้นพบว่า อย่างน้อย 33 เมืองทรุดตัวลงด้วยความเร็วมากกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี นั่นคือตัวเลขที่มากกว่าความเร็วการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลกว่า 5 เท่า ผลจากการทรุดตัวของเมืองนั้น คณะผู้วิจัยแจกแจงว่ามี 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ การสูบน้ำบาดาล การสร้างที่อยู่อาศัยหนาแน่น และการขุดเจาะแหล่งพลังงานธรรมชาตินั่นเอง เมืองส่วนใหญ่ที่เป็นที่น่ากังวลที่สุดอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด […]

FYI

เบื้องหลังทุกหยดของ L’ORÉAL ที่เราไม่เคยรู้! กับบริษัทที่ปรับตัวสู้โลกร้อนมานับสิบปี

แฟชั่นหมุนมาแล้วผ่านไป แนวเพลงสับเปลี่ยนหมุนเวียน แต่เรื่องโลกร้อนอย่างไรก็คงอยู่กับเราไปอีกนาน และเป็นเทรนด์ที่ไม่น่าจะเชยในเร็ววันนี้แน่ๆ (ถึงจะอยากให้กระแสนี้ผ่านไปเต็มที) และเมื่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเราก็คุยกันเรื่องโลกร้อนบ่อยขึ้นตามไปด้วย นอกจากภาครัฐที่เดินหน้าเรื่องนโยบาย ภาคธุรกิจเองก็ไม่น้อยหน้าเช่นกันเห็นได้จากหลายแบรนด์ที่พยายามปรับตัวมาสู้กับโลกร้อนมากขึ้นในหลายปีมานี้ และเชื่อไหมว่าทุกแบรนด์ ทุกผลิตภัณฑ์สามารถปรับตัวมาสู้โลกร้อนได้  คอลัมน์ Sgreen วันนี้อยากขอชวนไปดูเบื้องหลังทุกหยดของ L’ORÉAL (ลอรีอัล) บริษัทความงามจากฝรั่งเศสผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์อย่าง L’ORÉAL PARIS, Garnier หรือ Yves Saint Laurent และอีกมากมาย กับบทบาทที่พวกเขาเดินหน้าต่อสู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศมาเป็นเวลานานเกือบสิบปีแล้ว ถามว่าแบรนด์เครื่องสำอางจะมีส่วนช่วยเรื่องโลกร้อนได้ยังไง ก็ขอเกริ่นให้ฟังก่อนแล้วกันว่า ก็เป็นเพราะแบรนด์ในเครือลอรีอัล กรุ๊ปเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนเกษตรกรรายเล็ก ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ประหยัดทรัพยากรผ่านการรีไซเคิล หรือการเดินหน้าใช้พลังงานทดแทน แต่ที่เราคิดว่าสำคัญและมีผลกระทบต่อโลกมากที่สุดคือ L’ORÉAL FOR THE FUTURE หรือวิสัยทัศน์ความยั่งยืนปี 2030 ของลอรีอัล เพราะพวกเขาไม่ได้ตั้งแค่เป้าหมายส่วนตัวอย่างการก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือลดการใช้งานพลาสติกเท่านั้น แต่เดินหน้าสื่อสารไปยังผู้บริโภคว่าการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนจะช่วยโลกได้มากแค่ไหน และมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งระบบนิเวศให้ธุรกิจเจ้าอื่นเดินหน้าสู่ความยั่งยืนด้วยเหมือนกัน  ว่าแต่บริษัทเครื่องสำอางจากฝรั่งเศสทำอะไรไปแล้วบ้างที่เรายังไม่เคยรู้ วิธีการน่าสนใจขนาดไหน จะโน้มน้าวให้ธุรกิจอื่นร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ยังไง เป้าหมายของบริษัทที่บอกว่าต้องการ “Create The Beauty That Moves The World” […]

Epson EcoTank L15150 l ตัวช่วยเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสิ่งแวดล้อม

คุณคิดว่า Printer 1 เครื่อง เซฟโลกได้ไหม? . ชีวิตพนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ จะพรินต์งานแต่ละที ก็ต้องอาศัย Printer ที่สุดท้ายกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ยากแก่การทำลายและเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมวนไป . เหมือนจะดูเป็นเรื่องเล็กจิ๋วที่ไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่ Epson คิดมาแล้ว ว่าพวกเราชาวออฟฟิศและ Printer เครื่องเดียวก็ช่วยโลกได้ด้วย Epson EcoTank L15150 เครื่องพรินต์ที่ตอบโจทย์ทั้งการพรินต์และความยั่งยืน . ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายของออฟฟิศด้วยการพิมพ์สูงสุดถึงขนาด A3 ทั้งยังช่วยสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน เจ้าเครื่องนี้จะเจ๋งแค่ไหนนั้น ตามมาดูกันเลย #UrbanCreature #UrbanEyes #Epson #EpsonEcoTankPrinter

รมต.ตูวาลู ปราศรัย COP26 ในทะเล ย้ำวิกฤตประเทศจมน้ำ

Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19  หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้  ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้  หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]

ญี่ปุ่นปลุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นพ่อให้กลับมาทำงานอีกครั้งหวังลด CO2 แต่ ปชช.กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกประกาศที่จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฯ ซึ่งรวมถึง ‘ญี่ปุ่น’ เองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ตัดสินใจจะปลุกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อายุกว่า 44 ปีให้มันกลับขึ้นมาผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง เพื่อที่จะใช้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050! เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะหมายเลข 3 ในจังหวัดฟุกุอิได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากได้รับการอนุมัติเป็นการพิเศษจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เพราะปกติแล้วกฎหมายได้กำหนดให้โรงงานนิวเคลียร์ปฏิบัติการได้ไม่เกิน 40 ปี โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะนี้อยู่ในความดูแลของโรงงานไฟฟ้าคันไซ ที่สัญญาว่าจะตรวจสอบและควบคุมการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กลับมาทำงานใหม่นี้อย่างระมัดระวัง  โดยญี่ปุ่นกล่าวว่า การกลับมาใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านพลังงานสำรองลดลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนนี้ แต่เพราะเครื่องปฏิกรณ์นี้เป็นหน่วยแรกที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่ได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งทำให้พลเมืองชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มกังวลและไม่พอใจเกี่ยวกับความปลอดภัย จนยื่นฟ้องเพื่อขอให้หยุดการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานที่ไม่เห็นด้วยกับการอนุมัติให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอายุเกินมาตรฐานนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง เพราะกลัวว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่จังหวัดฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 200,000 คน Sources :Insider | https://tinyurl.com/7n5epjhyVice World News | https://tinyurl.com/5sfs2et9

ชั้นบรรยากาศบาง โอโซนลด ต้นเหตุอากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

โควิด-19 สาเหตุที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของไทยลดลง?

ในปี 2563 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อยู่ที่ 224.3 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี หรือเราอยู่ในจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ?

ขณะที่โลกหมุนไป ความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมกระจายออกไปทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.