Major เปิดตัว ‘i-Tail PET CINEMA’ โรงหนัง Pet Friendly ที่แรกในไทย ให้พาน้องหมาน้องแมวไปดูหนังด้วยกัน

ในยุคนี้ Pet Humanization หรือการเลี้ยงสัตว์แทนการมีลูก กลายเป็นไลฟ์สไตล์สำหรับสร้างครอบครัวของคนยุคใหม่ เพราะหลายๆ บ้านไม่ได้เลี้ยงน้องหมาน้องแมวเป็นแค่สัตว์เลี้ยงเท่านั้น แต่ให้ความรัก ดูแล และเอาใจใส่เหมือนกับเป็นสมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะไปไหนเราก็อยากพาเขาออกไปใช้เวลาและทำกิจกรรมด้วยกัน นอกจากสวนสาธารณะและร้านอาหารแล้ว โรงหนังก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่แห่งใหม่ที่เราจะพาน้องหมาน้องแมวไปทำกิจกรรมร่วมกันอย่างการดูหนังด้วยกันได้ โดย ‘Major Cineplex Group’ ร่วมมือกับ ‘i-Tail Corporation’ ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง เปิดตัว ‘i-Tail PET CINEMA’ โรงหนังสำหรับคนและสัตว์เลี้ยงแห่งแรกในประเทศไทย ‘i-Tail PET CINEMA’ จะเปิดให้บริการทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ในรอบฉายแรกของวัน ซึ่งเจ้าของสามารถซื้อตั๋วหนังสำหรับคนในราคาปกติ และสำหรับสัตว์เลี้ยงตัวละ 99 บาท (1 ตัว/1 ที่นั่ง) โดยจะได้รับแพมเพิร์สฟรีสำหรับใส่ให้สัตว์เลี้ยงระหว่างดูหนังด้ว ส่วนสัตว์เลี้ยงที่นำเข้าโรงหนังได้นั้นจำกัดเฉพาะน้องหมาและน้องแมวอายุ 4 เดือนขึ้นไป และมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ดุร้าย สะอาด ไม่มีกลิ่น ได้รับวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์ น้ำหนักไม่เกิน 15 กิโลกรัม (น้ำหนักรวมกระเป๋าที่ใช้ชมภาพยนตร์) รวมถึงเมื่อเข้าโรงหนังแล้วต้องใส่แพมเพิร์สและอยู่ในกระเป๋าตลอดการชม สำหรับใครที่กังวลเรื่องการพาสัตว์เลี้ยงเข้าโรงหนังนั้น ‘น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล’ […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

ย้อนดูบรรยากาศและคำบอกเล่าของโรงหนัง ‘สกาลา’ ผ่านสารคดี The Scala ใน Netflix 15 เม.ย. 65

ช่วงนี้สยามกำลังรีโนเวตพื้นที่ครั้งใหญ่ ทำให้หวนคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ และพาลให้นึกถึงสถานที่ในความทรงจำอย่างโรงภาพยนตร์ลิโด้และสกาลา ใครที่กำลังคิดถึงสกาลา เราอยากชวนมารำลึกความทรงจำในสารคดี ‘The Scala’ ที่กำลังจะเข้า Netflix ในวันที่ 15 เมษายน 2565 ‘The Scala’ (2015) คือภาพยนตร์สารคดีถึงโรงภาพยนตร์ในตำนาน ‘สกาลา’ ที่กำกับโดย ‘จุ๊ก-อาทิตย์ อัสสรัตน์’ เจ้าของผลงานภาพยนตร์นอกกระแสอย่าง ‘Wonderful Town’ (พ.ศ. 2550) และ ‘ไฮโซ’ (พ.ศ. 2553) สารคดีเรื่องนี้จะพาผู้ชมไปร่วมสำรวจมนตร์เสน่ห์แห่งภาพยนตร์ของโรงภาพยนตร์เก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่ยืนหยัดให้บริการเป็นแห่งสุดท้าย โดยเป็นการบันทึกช่วงเวลาสำคัญ บรรยากาศ ความทรงจำ และความรู้สึกจากปี 2015 ผ่านสายตาของเจ้าของและเหล่าพนักงานที่ทำงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคที่สกาลารุ่งเรืองไปจนถึงช่วงที่ความนิยมลดลงในยุคสมัยที่มีโรงภาพยนตร์หลากหลายขึ้น สำหรับใครที่ลืมเลือนไปแล้ว ‘The Scala’ คือภาพยนตร์ที่ฉายอำลาวันสุดท้ายของสกาลาเมื่อ 2 ปีก่อน เรียกว่าเป็นภาพยนตร์ทิ้งทวนแห่งความทรงจำ ถ้ากลับมาชมเรื่องนี้ในยุคปัจจุบัน เราคิดว่าหลายคนน่าจะคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ และเสียดายที่โรงภาพยนตร์แห่งนี้ไม่อยู่ให้เห็นอีกต่อไป หมายเหตุ : โรงหนังสกาลา เป็นโรงหนังเครือเอเพ็กซ์แห่งสุดท้ายที่ปิดตัวไปเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม […]

จิบกาแฟ แลดูหนังทางเลือกครั้งแรก ในเมืองชายโขง กับ ‘พนมนครรามา’ พื้นที่ฉายหนังอิสระแห่งเดียวในนครพนม

หลังจากที่หนังนอกกระแสเริ่มมีพื้นที่ในวงการคนดูหนังในไทยมากขึ้น เริ่มต้นในกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปยังเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่และขอนแก่น คนอยากดูหนังนอกกระแสในจังหวัดอื่นๆ จึงพยายามขับเคลื่อนทำโปรเจกต์ให้ฉายหนังนอกกระแสในจังหวัดของตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดฉายเองหรือเรียกร้องให้โรงหนังฉายก็ตาม ยกตัวอย่าง HomeFlick (นครราชสีมา) Lorem Ipsum (หาดใหญ่) เราว่าหนังเรื่องนี้ควรมีฉายที่อยุธยา (อยุธยา) เป็นต้น ล่าสุด ที่จังหวัดชายแดนอย่างนครพนม ก็มีกลุ่ม ‘พนมนครรามา’ ออกมาขับเคลื่อนเรื่องนี้ ด้วยการจัดฉายหนังนอกกระแสเอง โดยจะประเดิมฉาย ‘Drive My Car’ โดย ริวสุเกะ ฮามากุชิ หนังนอกกระแสมาแรงเป็นเรื่องแรกในเดือนเมษายนนี้ เพราะอยากเห็นพื้นที่ฉายหนังนอกกระแสในเมืองที่ห่างไกลจากพื้นที่ส่วนกลางอย่างกรุงเทพฯ บ้าง จึงทำให้ ‘พนมนครรามา’ ก่อตั้งขึ้น “อีกอย่างเราอยากรู้ด้วยว่าที่นี่จะทำแบบจังหวัดอื่นๆ ที่ทำพื้นที่ฉายหนังอิสระได้ไหม และถ้าทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง” จากความตั้งใจและความสงสัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนนี้ ทำให้ ‘พนมนครรามา’ ตัดสินใจติดต่อ Doc Club เพื่อทำเรื่องขอหนังนอกกระแสมาฉาย ซึ่งแน่นอนว่า Doc Club เองก็สนับสนุนเต็มที่ “เราไม่แน่ใจว่าสุดท้ายโปรเจกต์จะได้รับผลตอบรับที่ดีไหม แต่ถ้าเกิดมันไปต่อได้ มีคนให้ความสนใจมากพอ เราหวังว่าพื้นที่ตรงนี้จะกลายเป็นจุดแลกเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างคนไทย คนลาว และคนเวียดนาม จากภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันในอนาคต” […]

FYI

“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา

คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]

Doc Club & Pub. พื้นที่รวมตัวของคนรักหนัง ที่อยากให้หนังสร้างบทสนทนาในสังคม

ถ้าอยากดูหนังสักเรื่อง ทางเลือกของคุณคือที่ไหน?  ถ้าหากคำตอบส่วนใหญ่เป็นห้างฯ ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะปัจจุบันโรงหนังแบบ Stand Alone ในเมืองไทยได้กลายเป็นของหายากไปแล้ว เหลือแต่โรงหนังเจ้าใหญ่ไม่กี่เจ้าในห้างสรรพสินค้า เป็นตัวชี้วัดว่าตัวเลือกในการดูหนังของคนไทยน้อยลงทุกวัน หากไม่มี Video Streaming จากต่างชาติเข้ามาโอกาสที่เราจะได้เปิดหูเปิดตาผ่านภาพยนตร์คงน้อยลงไปอีก แม้โรงหนังเล็กๆ ทยอยปิดตัวลงไป เพราะสู้เจ้าใหญ่ไม่ไหว แต่เรื่องน่าดีใจของคนรักในปี 2021 คือเรามี Doc Club & Pub. เป็นทางเลือกในการดูหนังเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งที่ (และเป็นพื้นที่ที่ออกมาจากห้างฯ สักที) เราจะพาไปพูดคุยกับอีกหนึ่งตัวจริงในวงการภาพยนตร์ไทย พี่หมู-สุภาพ หริมเทพาธิป ผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารหนัง BIOSCOPE และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายจัดจำหน่ายหนังทางเลือก Documentary Club ถึงที่มาที่ไปของ Doc Club & Pub. โรงหนัง คาเฟ่ และพื้นที่รวมตัวแห่งใหม่ของคนรักหนัง ที่เขาอยากเห็นหนังเป็นตัวสร้างบทสนทนาในสังคม  เรานัดเจอกันที่ Doc Club & Pub. ในศาลาแดง 1 หลังจากคลายล็อกดาวน์ไม่กี่วัน ที่นี่ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร […]

พก : ร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ของคู่รักที่พกหนังสือและหนังดีไปหาคนดูได้ทุกที่

ภาพทิวดอย ทุ่งนา และฟ้าใส ค่อยๆ เคลื่อนผ่านไปบนกระจกของรถยนต์ที่กำลังแล่นไปตามทางลดเลี้ยวเลียบสันดอยของจังหวัดเชียงราย ที่นั่งด้านหลังถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่บรรทุกหนังสือจำนวนหลายเล่ม และเครื่องฉายภาพยนตร์คุณภาพเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือการพาหนังสือและหนังคุณภาพดีไปนำเสนอให้กับผู้คนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย “พวกเราเชื่อว่าหนังที่ดี หนังสือที่ดี ทำงานกับหัวใจของผู้คนให้ไหวไปกับเนื้อหาที่ได้รับ และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้หนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปถึงที่ผู้คนได้มากที่สุด วิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเราคิดก็คือ การพกหนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปหาผู้คน เราสองคนจึงเริ่มต้นทำ ‘พก’ ขึ้นมา” พก คือชื่อร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ที่จะพกหนังสือและหนังคุณภาพพาไปสู่ผู้คนในวงกว้างทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ของ ‘เป๊ก-ธวัชชัย ดวงนภา’ และ ‘ดา-สุดารัตน์ สาโรจน์จิตติ‘ คู่รักนักทำภาพยนตร์สารคดี ที่ตัดสินใจย้ายชีวิตจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเริ่มต้นทำโปรเจกต์ ‘พก’ ขึ้นมา รถยนต์เดินทางมาถึงที่หมาย ณ สตรอเบอรี่สวนหลังบ้าน (Backyard Strawberry) ร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่หน้าไร่สตรอว์เบอร์รีและผักออร์แกนิกที่ปลูกเพื่อนำมาเสิร์ฟเป็นเมนูภายในร้าน เป๊กและดาค่อยๆ ช่วยกันนำของที่พวกเขาพกมาลงจากรถ นำผ้าดำมาขึงรอบบริเวณใต้ถุนร้าน นำเก้าอี้มาวาง เอาจอมากาง และตั้งเครื่องฉาย ดัดแปลงพื้นที่ใต้ถุนให้กลายเป็นโรงหนังใต้ถุนเธียร์เตอร์ที่พร้อมฉายภาพยนตร์คุณภาพดีให้ผู้คนที่นี่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนเอากระเป๋าลงจากรถและนำมาวางเปิดบนโต๊ะ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยหนังสือจำนวนมากที่พวกเขาคัดสรรกันมาอย่างดี เท่านี้ ‘พก’ ก็พร้อมแล้วที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาชมว่าพวกเขาได้พกพาเรื่องราวอะไรมาบ้าง ขอเชิญก้าวเท้าตามเรามา และไปดูกันดีกว่าว่าเป๊กและดาได้พกเรื่องราวอะไรมากับพวกเขาบ้าง พบปัญหาจึงต้อง ‘พก’ เป๊กและดาประกอบอาชีพนักทำภาพยนตร์สารคดี นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นในสังคมมานานนับสิบปี การงานเช่นนี้ได้พาพวกเขาได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบเจอกับผู้คนและเรื่องราวน่าสนใจและน่าอดสูจำนวนมาก “การทำงานสารคดีทำให้เราได้เดินทางไปในหลายที่ เจอผู้คนมากมาย นั่นทำให้เราเห็นทั้งปัญหาในสังคม […]

Hidden Gem in Old Town : หลงเสน่ห์เมืองเก่าเพราะ “ที่นี่…บางรัก”

‘เจริญกรุง’ มีความสำคัญเป็นถนนสายแรกของกรุงเทพฯ และเป็นศูนย์รวมการค้ากับต่างประเทศในอดีต อาคารพาณิชย์ โรงแรมเก่าแก่ รวมถึงที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกที่อยู่คู่ถนนเส้นนี้มาร่วมร้อยปี คอยทำหน้าที่ส่งความรัก ความคิดถึง และบันทึกเรื่องราวในวันวาน ทิ้งร่องรอยความเจริญไว้ตามตรอกซอยเล็กๆ อีกทั้งยังคึกคักไปด้วยของอร่อย วันนี้เราจะพาไปสำรวจ ‘ย่านบางรัก’ ที่จะทำให้คุณตกหลุมรักไปกับทริปเดินเที่ยวเมืองกรุงในหนึ่งวัน ศึกษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบางรักที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หาอินสไปเรชันบนพื้นที่สร้างสรรค์ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยคนรุ่นใหม่ที่กลมกลืนไปกับเมืองเก่าได้อย่างแนบเนียน เที่ยงวันอาทิตย์เรานั่งบีทีเอสมาลงสะพานตากสิน เดินเล่นชิลๆ ย่านบางรักในช่วงอากาศดีต้นฤดูหนาว ตรงตลาดใกล้ๆ ห้างโรบินสันมีของกินละลานตาไปหมด เรียงรายด้วยร้านเก่าเจ้าดัง ไม่ว่าจะเป็นทิพหอยทอดภูเขาไฟ โจ๊กปริ้นซ์ ข้าวขาหมูตรอกซุง โรงหนังเก่าปรินซ์รามา ถนนเจริญเวียง ตรงข้ามโรบินสัน ในระหว่างเดินหาร้านข้าวเราก็พบโรงหนังเก่าชื่อปรินซ์รามาโดยบังเอิญ เป็นโรงหนังที่สร้างขึ้นในยุคโรงหนังสแตนด์อะโลนกำลังเฟื่องฟู ตั๋วสมัยแรกๆ ราคาแค่สามบาทห้าสิบสตางค์ จากคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ โรงหนังแห่งนี้น่าจะเป็นโรงหนังบางรักเดิมมาก่อน ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2451 ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในเอเชีย ส่วนการออกแบบสไตล์ Art Deco ที่โดดเด่นก็ยังคงเหลือเค้าโครงให้เห็นอยู่บ้าง ประจักษ์เป็ดย่าง ถ.เจริญกรุง เยื้องห้างโรบินสัน อยู่ระหว่างธนาคาร CIMB กับร้าน WATSONS เปิดทุกวัน 7:30 – 20:30 น. เวลาท้องกิ่วแบบนี้ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.