กรุงเทพฯ ติดจังหวัดรั้งท้ายที่ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้น้อยที่สุด

จากรายงานข้อมูลสถิติสุขภาพจิตของ ‘องค์การอนามัยโลก (WHO)’ พบว่า ทุกๆ 8 คนของประชากรบนโลกนี้จะมี 1 คนที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ขณะเดียวกันกลับมีผู้ป่วยสุขภาพจิตกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เข้ารับบริการด้านสุขภาพจิต เมื่อหันกลับมามองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรายังพบว่า ประเทศไทยมีความชุกของผู้ป่วยสุขภาพจิตในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ โรคทางระบบประสาท การใช้สารเสพติด และการทำร้ายร่างกายติด 1 ใน 3 อันดับแรกเสมอ จนทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยมีผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ City by Numbers ขอหยิบข้อมูลสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) มาให้ดูกัน กรุงเทพฯ รั้งท้าย ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อย จากการรวบรวมข้อมูลของ ‘ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ’ Health Data Center (HDC) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพที่รวบรวมข้อมูลสาธารณสุขของสถานบริการภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง พบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 […]

ประเมินอาการซึมเศร้าเบื้องต้นผ่านแอปพลิเคชัน ‘DMIND’ มีหมอ AI ช่วยวิเคราะห์ภาพและเสียง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การฆ่าตัวตายถือเป็นปัญหาที่น่ากังวลของประเทศไทย ซึ่งจำนวนคนที่พยายามปลิดชีพตัวเองยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากวิกฤตต่างๆ อย่างเศรษฐกิจและโรคระบาด ที่ทำให้หลายคนเครียดจนรับมือไม่ไหว  อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนฆ่าตัวตายเกิดจาก ‘โรคซึมเศร้า’ โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตเผยว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยซึมเศร้าสูงถึง 1.5 ล้านคน เป็นจำนวนที่สูงเกินกำลังของจิตแพทย์ ทำให้มีผู้ป่วยเพียง 28 คนใน 100 คนเท่านั้นที่ได้เข้ารับการรักษา  เพราะเหตุนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมสุขภาพจิต จึงมองช่องทางเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้นผ่าน ‘DMIND’ แอปพลิเคชันประเมินอาการซึมเศร้าเบื้องต้น ที่แม่นยำ เข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวก และยังช่วยลดภาระแพทย์และนักจิตวิทยาในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอีกด้วย โดยแอปพลิเคชัน DMIND เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท Agnos Health พัฒนานวัตกรรมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทย ทั้งนี้ ฟังก์ชันของ DMIND ไม่ได้ทำหน้าที่แทนจิตแพทย์โดยตรง แต่มาช่วยคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้าสู่การรักษาในลำดับต่อไป การทำงานของแอปฯ DMIND จะแบ่งเป็นสองส่วน เริ่มที่การตอบแบบสอบถามคัดกรองและประเมินตัวเอง ส่วนใครอยากตรวจสอบอาการเชิงลึก ก็มีฟังก์ชันให้เปิดกล้องบันทึกเสียงและภาพเพื่อประเมินและพูดคุยกับ ‘หมอพอดี’ […]

High-Functioning Depression อาการซึมเศร้าที่ดูเหมือนไม่เป็นไร แต่ข้างในพังยับเยิน

ยังทำงานได้ดีเหมือนปกติ สังสรรค์กับเพื่อนได้เหมือนเดิม เที่ยวเล่นอย่างสนุกได้แบบไม่มีอะไรในใจ แต่ทำไมกลับถึงบ้านทีไรความรู้สึกข้างในถึงได้พังยับเยินก็ไม่รู้  อาการเหล่านี้มักรู้จักในชื่อของ ‘High-Functioning Depression’ หรืออาจอธิบายได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าที่ยังสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้ดี เนื่องจากอาการซึมเศร้าที่คนรู้จักกันนั้นส่วนใหญ่เป็นภาพของคนที่หมดอาลัยตายอยาก ไม่อยากทำอะไรจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ แต่สำหรับ High-Functioning Depression จะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัวเพราะคนคนนั้นยังสามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเป็นการทำงาน การเข้าสังคม พูดคุยยิ้มแย้ม เล่นสนุกสนานได้เหมือนเดิม และมักคิดว่าไม่ใช่อาการที่รุนแรงแต่อย่างใด ทำความเข้าใจกับ High-Functioning Depression ชื่อของ High-Functioning Depression เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘Cheslie Kryst’ พิธีกรและ Miss USA 2019 ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยแม่ของเธอได้เปิดเผยสาเหตุการสูญเสียของ Cheslie ว่าเป็นเพราะอาการ High-Functioning Depression ที่เธอเก็บซ่อนภาวะซึมเศร้าเอาไว้และต้องต่อสู้กับปัญหาสุขภาพจิตโดยลำพังมาอย่างยาวนาน  ความจริงแล้ว High-Functioning Depression นั้นไม่ได้เป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์หรือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition (DSM-5) โดยตรง แต่เป็นคำอธิบายภาวะของคนที่ยังสามารถทำงานได้ดีและใช้ชีวิตได้แบบปกติแม้ต้องอยู่กับความเครียดหรือความโศกเศร้าก็ตาม […]

สำรวจศิลปะแทนใจผู้ป่วยจิตเวชกับนิทรรศการ Hide & Seek ที่ Palette Artspace วันที่ 14 – 19 ก.ย. 65

ทุกวันนี้สังคมของเรามี ‘ผู้ป่วยจิตเวช’ และ ‘ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า’ จำนวนไม่น้อยเลย แต่ส่วนใหญ่ต่างต้องซ่อนตัวและพยายามใช้ชีวิตตามปกติ เพราะกลัวสังคมไม่ยอมรับ ไม่เข้าใจอาการ และมองว่าตัวเองมีความบกพร่อง เปรียบเสมือนการเล่นซ่อนแอบที่ไม่รู้ว่าสังคมจะพบเจอผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อไหร่ และเมื่อถูกหาเจอแล้ว พวกเขาจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร เพราะโรคทางจิตเวชไม่ใช่สิ่งน่าอาย เราจึงอยากชวนทุกคนไปทำความเข้าใจภาวะเหล่านี้ที่ ‘Hide and Seek #มันไม่ได้เศร้าอย่างที่คิดหรอกนะ’ นิทรรศการศิลปะการกุศลสุดอบอุ่นที่จัดแสดงผลงาน โดยศิลปินชาวไทยและต่างประเทศกว่า 50 คน ซึ่งกลั่นกรองออกมาแทนใจและความรู้สึกของผู้ป่วยจิตเวชทุกคน เป็นครั้งแรกที่บรรดาศิลปินจะร่วมกัน Call Out และเป็นกระบอกเสียงให้เหล่าผู้ป่วยจิตเวชภายใต้คอนเซปต์ ‘ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนอีกต่อไป เพราะยังไงศิลปะก็ตามหาใจของคุณเจอ’ ใครสนใจแวะไปดูนิทรรศการ ‘Hide and Seek #มันไม่ได้เศร้าอย่างที่คิดหรอกนะ’ ได้ฟรีที่ Palette Artspace (t.ly/6iPO) ระหว่างวันที่ 14 – 19 กันยายน 2565 ที่สำคัญ ทางนิทรรศการยังเปิดรับบริจาค เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายไปมอบให้ ‘กองทุนเพื่อผู้ป่วยจิตเวชยากไร้’ เพื่อซัปพอร์ตและส่งเสริมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย โดยวันที่ 17 กันยายน 2565 ศิลปินจะร่วมกันจัดเสวนาที่พูดถึงโรคทางจิตเวชและโรคซึมเศร้าในแง่มุมต่างๆ อีกทั้งยังมีกิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจอย่างการแสดงมายากล […]

จอมเทียน จันสมรัก ผู้เขียน ‘ลูกสาวจากดาววิปลาส’ นิยายที่เล่าความช้ำจากสายตาผู้ถูกกดขี่

“เป็นนักเขียน เฟมินิสต์ และนักกิจกรรม ถ้าภาษาอังกฤษคือ Mental Health Advocate (ผู้ส่งเสริมประเด็นสุขภาพจิต) and Gender-based Violence Activist (นักกิจกรรมที่ทำงานในเคสความรุนแรงอันเกิดจากเหตุแห่งเพศ) นิยามตัวเองว่าเป็นนอนไบนารี เป็นคนไร้ศาสนา ตอนนี้อายุยี่สิบแปดปีค่ะ” ช่วงหนึ่งในบทสนทนา จอมเทียน จันสมรัก นิยามตัวเองว่าอย่างนั้น ถ้อยคำจากปากของเธอไม่มีคำว่า ผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง—แบบที่หลายคนจำได้จากสื่อ บังเอิญไหมเราไม่อาจรู้ แต่ในหนังสือ ลูกสาวจากดาววิปลาส นิยายเรื่องแรกของจอมเทียนที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ P.S. หน้าแรกๆ เขียนไว้ว่า  ‘ฉันไม่ต้องการสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบหญิงสาวอับโชคชอกช้ำ ฉันอยากจะภูมิใจกับตัวเองในปัจจุบันที่ผ่านมาได้ ไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่หรือกลายเป็นเพชรที่ถูกขัดล้างเจียระไนจากปลักตมจนสวยงามสูงค่า’ ปลักตมที่เธอว่า อาจหมายถึงชีวิตที่เติบโตในย่านทวีวัฒนากับแม่ที่เป็นโรคประสาท การไม่ได้เรียนหนังสือจนอายุเก้าขวบ มีเพียงนิยายของนักเขียนหญิงอนุรักษนิยมที่เป็นทั้งเพื่อนและครู การถูกล่วงละเมิดจากคนในบ้านตั้งแต่ยังเยาว์ ส่งผลต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจนหลายครั้งหาเหตุผลที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ไม่เจอ แต่บางครั้ง แม้ในยามที่คิดเหตุผลไม่ออกสักข้อ ชีวิตก็อนุญาตให้อยู่ต่อทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลนั่นแหละ หลังจากมุ่งมั่นจะโบกมือลาโลกหลายครั้ง จอมเทียนก็ล้มเลิกความพยายาม เปลี่ยนความทรมานให้เป็นแรงฮึดไปทำกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นเฟมินิสต์นักกิจกรรม และล่าสุด-นักเขียนนวนิยาย ลูกสาวจากดาววิปลาส คือชื่อหนังสือเล่มแรกของเธอ บอกเล่าเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากชีวิตจริงของจอมเทียน ท่ามกลางฉากหลังเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยที่ถ่ายทอดผ่านสายตาของคนชนชั้นแรงงาน  บทสนทนานี้ เราจึงชวนจอมเทียนย้อนนึกถึงความวิปลาสที่เจอมาทั้งชีวิต […]

Unlock the City EP.02 : เมืองซึมเศร้า เราเศร้าซึม

รู้หรือไม่ว่า ‘โรคซึมเศร้า’ หรือภาวะเจ็บป่วยทางจิตใจไม่ได้มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองเท่านั้น ทว่ายังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ผู้คนยุคนี้ โดยเฉพาะคนเมือง ไม่มีความสุข หาทางออกไม่ได้ ขาดความมั่นใจ จนอาจตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า  รถติด พื้นที่สีเขียวที่ไม่เพียงพอ ขนส่งสาธารณะที่ไม่ครอบคลุม มลภาวะทางกลิ่นและเสียง ปัญหาเมืองเหล่านี้ไม่ได้สร้างความลำบากทางกายให้ผู้คนในเมืองเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางใจที่หลายคนอาจไม่ทันนึกถึง หลังจากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจถึงบทบาทผู้ว่าฯ กทม. ไปเมื่อ EP.01 (ย้อนฟังที่ ) ในยุคที่ยอดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โฮสต์รายการ Unlock the City พนิต ภู่จินดา จึงอยากชวนทุกคนมาปลดล็อกความเข้าใจเรื่องการออกแบบเมืองที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้อยู่อาศัยกับ กันตพร สวนศิลป์พงศ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา ผู้ร่วมก่อตั้ง MasterPeace การออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับผู้คนสำคัญยังไง แล้วเราจะใช้ชีวิตแบบไหนถึงจะอยู่ในเมืองนี้ได้อย่างไม่เจ็บปวดนัก มาฟังไปพร้อมๆ กัน ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : youtube.com/watch?v=KdLTDF7wbO8 Spotify : https://spoti.fi/38FTz2A Apple Podcasts : https://apple.co/3t73GnR SoundCloud : […]

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี บันทึกรักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี (죽고 싶지만 떡볶이는 먹고 싶어) คือชื่อหนังสือที่เมื่อได้อ่านครั้งแรกช่างตอบความรู้สึกที่ว่า ของอร่อยเยียวยาใจ ได้อย่างเห็นภาพ หากแต่ในหนังสือปกสีส้มอมแดงที่ออกแบบภาพประกอบโดยอาร์ทติสไทย S U N T E R นั้นกลับเป็นบันทึกสนทนาระหว่าง แบ็กเซฮี (백세희) ตัวผู้เขียนกับจิตแพทย์ระหว่าง ‘การรักษาโรคซึมเศร้า’ ที่พาคนอ่านลิ้มรสชาติอย่างแช่มช้า และค่อยๆ ละเลียดตัวหนังสือเพื่อซึมซับ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.