ครบรอบ 30 ปี ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ สถานที่รวมประวัติศาสตร์ของคนทำงาน ที่รัฐไม่เคยเหลียวแล

‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในเขตราชเทวี ตั้งอยู่บนถนนนิคมมักกะสัน ด้านหน้าของอาคารชั้นเดียวแห่งนี้จะมองเห็น ‘อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน’ เป็นรูปปั้นคนงานหญิงชายกำลังผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้า ใต้กงล้อมีรถถังถูกบดขยี้ อันบ่งบอกความหมายถึงการคัดค้านเผด็จการ สร้างขึ้นเพื่อยืนยันความมีศักดิ์ศรีของ ‘ชนผู้ใช้แรงงานไทย’ และถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของผู้ใช้แรงงานอีกด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดจากกระบวนการรวมตัวกันของเหล่าคนทำงาน นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ด้านแรงงาน ฯลฯ และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เยอรมัน ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาเรื่องสิทธิแรงงานและประเด็นทางสังคมต่างๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนลงมติร่วมกันเพื่อสร้างสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไม่ให้หายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย เปิดทำการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2536 ผ่านร้อนฝนมาจนเวลาที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำลังจะมีอายุครบรอบ 30 ปี คอลัมน์ Urban Guide ขอพาทุกคนไปเดินเล่นท่องเที่ยวรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพให้มากขึ้น เด็กช่าง คนดนตรี นักเคลื่อนไหว ผู้อุทิศตนเป็นปากเสียงของแรงงาน เราได้พบกับผู้จัดการพิพิธภัณฑ์และเขาจะมาเป็นไกด์นำทัวร์วันนี้ ‘วิชัย นราไพบูลย์’ ผู้อุทิศตนให้กับการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิแรงงานมาตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบันในวัย 67 ปี พี่วิชัยเล่าว่า เขาเรียนจบช่างยนต์ที่เทคนิคกรุงเทพ จากนั้นเข้าทำงานโรงงานแถวรังสิต ผ่านหนึ่งปีไปนิดหน่อยก็ถูกเลิกจ้าง และออกไปเล่นดนตรีหาเลี้ยงชีพ ผลิตผลงานเพลงออกขาย เขาเติบโตมากับเรื่องสิทธิแรงงาน เมื่อมีงานประท้วงหรือการจัดกิจกรรมชุมนุมเกี่ยวกับเรื่องแรงงานเมื่อไหร่ จะได้พบกับวิชัยและผองเพื่อนนักดนตรีไปเล่นให้กำลังใจอยู่เสมอ (หาฟังเพลงของพี่วิชัยได้ที่ วงภราดร หรือวงอินโดจีน เป็นต้น) ส่วนงานด้านวิชาการเขาก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจ […]

Overseas ความหวัง ความกลัว และชะตากรรมของแรงงานฟิลิปปินส์โพ้นทะเล

“ทำไมฉันมาเจอเจ้านายแบบนี้นะโชคไม่เคยเข้าข้างฉันเลยนี่แหละชีวิตแรงงานฟิลิปปินส์โพ้นทะเล” ในแต่ละปีชาวฟิลิปปินส์นับล้านต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล โยกย้ายไปอยู่ต่างแดนในฐานะ ‘แรงงานชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเล’ หรือ ‘Overseas Filipino Workers’ เป้าหมายของคนเหล่านี้แทบไม่ต่างกัน นั่นคือ หาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว และไขว่คว้าโอกาสใหม่ๆ ที่บ้านเกิดของพวกเขาให้ไม่ได้ ‘Overseas’ (2019) คือสารคดีสัญชาติเบลเยียม-ฝรั่งเศส กำกับโดย ‘Sung-A Yoon’ การันตีคุณภาพโดยรางวัล Amnesty International Catalunya Award จาก DocsBarcelona ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจาก DOXA และภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจาก Atlanta Film Festival ซึ่งทาง Documentary Club ได้นำกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ในโปรแกรมพิเศษ ‘3 หนังอาเซียนร่วมใจ’ แก่นสำคัญของสารคดีเรื่องนี้คือ เรื่องราวของผู้หญิงฟิลิปปินส์จำนวนมากที่ต้องเดินทางไปทำงานเป็นคนรับใช้หรือพี่เลี้ยงเด็กในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางออกของชีวิตขัดสนในประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ แต่ก่อนจะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ พวกเธอต้องทุ่มเทให้กับการเรียนใน ‘โรงเรียนแม่บ้าน’ ศูนย์ฝึกอาชีพด้านนี้โดยเฉพาะที่มีอยู่แพร่หลายในฟิลิปปินส์ ที่นี่ไม่ได้สอนแค่เรื่องหน้าที่การงานให้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสอนให้พวกเธอต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนเผชิญอุปสรรคมากมาย ทั้งความเหงา การถูกนายจ้างกดขี่ หรือแม้แต่การต้องตัดสินใจทิ้งลูกของตัวเองไว้ที่บ้านเป็นปีๆ เพื่อไปทำงานเลี้ยงลูกให้คนอื่น กฎข้อที่ 1 : จงอย่าร้องไห้ต่อหน้าเจ้านาย […]

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

Faces of Amata Nakorn ‘อมตะนคร’ นครนิรันดร์

‘อมตะนคร’ คือนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือน ‘เมืองแห่งใหม่’ ในจังหวัดชลบุรี ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทุ่งนาว่างเปล่า แต่ปัจจุบันมีโรงงานและสำนักงานของบริษัทต่างๆ กว่า 700 แห่งตั้งเรียงรายอยู่

FYI

อยู่เมืองนี้ต้องทำงาน ทำงาน ทำงาน เรื่องเล่าจากประชากรแฝงในมหานครแห่งความหวัง

ฟ้ามืด ฝนตกหยิมๆ ส่งสัญญาณเป็นรอยต่อสู่ฤดูหนาว วันเวลาเดินทางอย่างรวดเร็วและบางขณะก็ช้าเหลือทน แต่ก็ผ่านมาถึงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ในจำนวนประชากรผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยเกือบ 70 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเผยสถิติว่า ประชากรแฝงที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนามีถึงราว 800,000 กว่าคน  ในแปดแสนกว่าคนนั้น มีคนที่เข้ามาทำงานตอนกลางวันแบบหาเช้ากินค่ำในกรุงเทพฯ คิดเป็น 49.0 เปอร์เซ็นต์ คนที่เข้ามาทำงานกลางคืน 32.7 เปอร์เซ็นต์ และคนที่เข้ามาเรียนหนังสืออีก 49.5 เปอร์เซ็นต์ เมืองหลวงแห่งนี้จึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงเยอะที่สุดในประเทศ และครองอันดับแทบตลอดกาล พวกเขาต่างเข้ามาที่นี่เพราะหวังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่กรุงเทพฯ ทำให้ความฝันของแต่ละคนเป็นจริงหรือไม่ หรือกลับให้แต่ฝันลมๆ แล้งๆ ต่อไป ‘Urban Creature’ ชวนไปฟังเศษส่วนเรื่องราวจากปากคำพวกเขากัน ป้าเขียว อายุ 54 ปีอาชีพ : ขายหมูปิ้ง ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด “เมื่อก่อนทำงานโรงงาน แล้วมาทำงานก่อสร้าง ช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ออก ไม่มีงานเลย ทีนี้ก็ฝึกวิชาหมูปิ้งขึ้นมาเอง ทีแรกไม่อยากมาอยู่กรุงเทพฯ หรอก แต่พอขายได้เรื่อยๆ มันก็ไม่อยากไปไหนแล้ว […]

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 เมือง ‘Work ไร้ Balance’ ของโลก

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96  สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]

ขาดแคลนแรงงานต่างชาติ เกาหลีใต้ดึงผู้สูงอายุทำงาน ทดแทนแรงงานที่หายไป

ช่วงนี้ ตม.เกาหลีใต้ดูจะเข้มงวดกว่าเดิม เมื่อคนไทยจำนวนไม่น้อยตั้งใจจะไปเที่ยวให้สมกับที่ไม่ได้ออกนอกประเทศมาหลายปี แต่กลับถูกส่งตัวกลับเนื่องจากมาตรการป้องกันชาวต่างชาติลักลอบเข้าไปทำงานในประเทศของเจ้าที่รัฐ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เกาหลีใต้กำลังขาดแคลนแรงงานต่างชาติ (ถูกกฎหมาย) เป็นพิเศษ ด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่ผ่านมา ทำให้เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับสภาวะขาดแคลนแรงงานต่างชาติที่เป็นกลไกสำคัญในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 58 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะกลุ่มคนหนุ่มสาวไม่ค่อยสนใจทำงานใช้แรงงานเท่าไรนัก หลายบริษัทจึงไม่มีทางเลือกและต้องหันมาจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแทน แม้ว่าหลายหน้าที่นั้นอาจเหมาะสมกับคนทำงานวัยหนุ่มสาวมากกว่าก็ตาม ขณะเดียวกัน เกาหลีใต้เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุดในโลก เพราะกว่า 33.1 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีอายุระหว่าง 70 – 74 ปีนั้นยังคงทำงานอยู่ ซึ่งถือว่าติดอันดับต้นๆ ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดการจ้างงานประชากรในแต่ละกลุ่มอายุใน 38 ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก แถมยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ถึง 15.2 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย ข้อมูลจากธนาคารกลางเผยให้เห็นว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปกว่า 230,000 คนนั้นมองหางานในโรงงานและงานก่อสร้างมาตั้งแต่ช่วงปี 2020 แล้ว ในขณะที่กลุ่มคนหนุ่มสาวต่างพยายามเลี่ยงงานในส่วนนี้ และถึงแม้ว่าปี 2020 จะมีแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานที่เกาหลีใต้ได้บ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเพราะเมื่อเทียบกันแล้ว มีจำนวนแรงงานต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดที่มีในปี 2019 […]

คนในกองถ่ายทำงานกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ แถลงการณ์ กำหนด ชม.การทำงาน ให้โอที ไม่เสี่ยงภัย

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวที่สองผู้กำกับละครที่ทำงานมานานกว่า 30 ปี อย่าง ‘อ๊อด-บัณฑิต ทองดี’ และ ‘ปรัชญา ปิ่นแก้ว’ บอกเล่าเรื่องชีวิตในกองถ่ายว่าคนทำงานอาจจะต้องทำงานสูงถึง 16 ชั่วโมง และให้ความเห็นว่าเวลาที่ล่วงเลยขนาดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่คนทำงานในสายงานนี้ก็ทำกันมาจนเป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงประเด็นการจ่ายค่าล่วงเวลาให้คนทำงานที่ต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนรับงาน และการใช้แรงงานนักแสดงเด็กที่ถูกตั้งคำถามมาตลอด โดยเรื่องทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นหัวข้อที่คนในสังคมพูดถึงไปในหลากหลายมิติ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยได้ออกจดหมายแถลงการณ์ โดยมีสรุปเนื้อหาว่า ผู้กำกับทั้งสองไม่ได้สนับสนุนแนวคิดการทำงานเกินมาตรฐานสากล และพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาร่วมกับสมาคมผู้กำกับฯ มาตลอด ทั้งยังได้เข้าร่วมปรึกษากับหน่วยงานราชการ, คณะกรรมาธิการของรัฐสภา, พรรคการเมือง, บริษัทผู้ผลิต และองค์กรต่างๆ แต่ยังไม่สามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้สำเร็จ และอุปสรรคสำคัญของเรื่องนี้คือ ‘การขาดอำนาจต่อรองของแรงงานในอุตสาหกรรมบันเทิง’  ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์แรกที่มีคนในอุตสาหกรรมบันเทิงออกมาเรียกร้องถึงความไม่เป็นธรรมในการทำงาน เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นักแสดงซีรีส์ ‘นิ้ง-ชัญญา แม็คคลอรี่ย์’ และ ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ’ ได้ส่งคำร้องต่อ กมธ. ที่รัฐสภา เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตในกองถ่าย เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กในการผลิตสื่อ, ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน, ความปลอดภัยในการทำงาน และการไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นธรรม แต่ก็ยังดูเหมือนว่าจะไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรนัก […]

แพทย์กว่า 60% ทำงานเกิน 80 ชม./สัปดาห์ สมาพันธ์แพทย์ฯ เรียกร้อง กมธ.แรงงาน ลด ชม.การทำงาน เพื่อแพทย์และผู้ป่วย

‘หมอ’ น่าจะเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในสังคมไทย ทั้งยังถูกขยายภาพซ้ำๆ ในแง่ของอาชีพที่มั่นคง รายได้ดี และมีเกียรติ ทว่าขณะเดียวกัน ก็เป็น ‘หมอ’ และ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ อีกนั่นแหละที่อยู่ในกลุ่มอาชีพที่ทำงานหนักมาก หลายครั้งต้องทำงานเกินเวลา ทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่ถูกสังคมไทยคาดหวังให้ทำงานตลอดเวลา เพราะเป็นอาชีพที่ผูกกับความเสียสละ จากการสำรวจในปี 2562 หัวข้อ ‘ภาระงานและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขและผลกระทบต่อผู้ป่วย’ โดย รศ. นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ จากสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) ที่มีแพทย์ร่วมตอบแบบสอบถาม 1,105 คน ได้ข้อเท็จจริง ดังนี้ แพทย์กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ทำงานเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์กว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์หลายคนต้องทำงานดูแลผู้ป่วยติดต่อกันนานกว่า 40 ชั่วโมงโดยไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤต จำนวนชั่วโมงการทำงานแบบนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของแพทย์โดยตรง แต่หลายคนถึงขั้นลาออกเนื่องจากไม่สามารถฝืนทำงานภายใต้แรงกดดันด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแรงได้ แม้จะมีค่าตอบแทนเป็นค่าเวร แต่แพทย์ส่วนมากไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่เวรหรือไม่ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลมีตำแหน่งแพทย์ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ การสำรวจไม่ได้ครอบคลุมแค่แพทย์เท่านั้น แต่ยังควบรวมไปถึงบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากภาระงานที่มาก จำนวนชั่วโมงที่มากเกินควร […]

‘แรงงานข้ามเส้น’ โดยศิลปินหญิงและเควียร์ นิทรรศการที่ยืนหยัดว่าทุกคนคือคนทำงาน วันนี้ – 16 ก.ค. 65 ที่ SAC Gallery

ที่ผ่านมา ภาพจำของแรงงานที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักของบ้านเรามักฉายแต่เพียงภาพของผู้ใช้แรงกายที่เป็นคนชนชั้นรากหญ้า ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ ขบวนการประชาธิปไตยที่เบ่งบานในไทยก็พยายามส่งเสียงเรียกร้องและสร้างความเข้าใจใหม่ว่า แท้จริงแล้ว ‘พวกเราทุกคนคือคนทำงาน’ ต่อให้คุณใช้ฝีมือ ไอเดีย หรือกระทั่งทำสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นงาน แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ แรงกาย แรงใจ และค่าเสียโอกาสด้วยทั้งสิ้น นิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ คือนิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวหลากหลายแง่มุมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมักไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก โดยร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านการข้ามเส้นแบ่งทั้งทางกายภาพและนามธรรม นำเสนอผ่านผลงานหลากหลายรูปแบบจาก 6 ศิลปินหญิงและเควียร์ เมนส์ ภาระค่าใช้จ่ายของคนทำงานที่เป็นผู้มีประจำเดือน การกดทับของคนทำอาชีพ Sex Worker ความพร่าเลือนของเส้นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน ความทรงจำของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้าสยามที่เลือนหายไปตามกาลเวลา การตั้งคำถามถึงการบวชเป็นพระที่สงวนให้แต่เพศชายตามกำเนิดเท่านั้น เหล่านี้คือตัวอย่างของประเด็นที่เหล่าศิลปินเลือกมาถ่ายทอดผ่านชิ้นงานอย่างคอลลาจ เซตภาพถ่าย งานจัดวาง เป็นต้น ใครที่สนใจนิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ เปิดให้เข้าชมที่อาคารหอศิลป์ ชั้น 2 เอส เอ ซี แกลเลอรี กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ – 16 กรกฎาคม 2565 เปิดบริการทุกวันอังคาร-เสาร์ […]

หยุดด้อยค่า เสียงของแรงงาน l Urban Sound Check

‘ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร คุณคือคนทำงาน’ Urban Creature ขอพาคุณร่วมขบวนส่งพลังเนื่องในวันแรงงานสากลที่ผ่านมา แสดงพลังเสียงของคุณ หยุดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ สวัสดิการต่างๆที่แรงงานควรจะได้ ‘เพราะคนที่สำคัญที่สุดในองค์กร ในที่ทำงาน คือพวกเรา’ มีแค่เจ้าของ มีแค่นายทุน บริษัทไปต่อไม่ได้  ร่วมแสดงพลังของคุณไปพร้อมกับเราผ่าน Urban Soudcheck มนุษย์-สิทธิ-ความเท่าเทียมอยู่ตรงไหน? #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #วันแรงงานสากล #แรงงาน #รัฐสวัสดิการ #สวัสดิการ 

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.