มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

Clothes and Memories รำลึกความทรงจำผ่านเสื้อผ้าของแม่ที่จากไป

ย้อนกลับไปในสมัยเด็ก ตอนที่แม่พาไปสวนสาธารณะ เราเดินเล่นเลาะไปตามริมทาง สัมผัสแสงแดดอุ่นๆ และสูดกลิ่นดิน ความทรงจำนี้กลับมาอีกครั้งตอนเห็นรูปภาพในอัลบั้มภาพถ่ายที่พ่อถ่ายภาพแม่ไว้ในช่วงยุค 80 พร้อมๆ กับที่เจอเสื้อผ้าเก่าเก็บของแม่

City for Moms : เมืองในฝันสำหรับแม่ของพวกเรา

ในฐานะลูก การได้เห็นแม่อยู่ดีมีความสุข ก้าวเข้าสู่ชีวิตวัยชราอย่างมีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องน่าเบิกบานใจไม่แพ้การที่แม่คาดหวังได้เห็นลูกเติบโตอย่างแข็งแรง มั่นคงและงดงาม  เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ระดับครัวเรือน ทว่าชีวิตภายใต้โครงสร้างทางสังคมนั้น เมืองถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เข้ามากำหนดชีวิตของแม่และลูกทุกคนในสังคมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ทั้งทางเลือกที่เราเลือกได้เพียงน้อยนิดและที่เราไม่เคยได้เลือกเลยก็ตาม เมืองเชื่อมโยงกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนเราตาย หากลองคิดให้ลึกซึ้งกว่าเดิม เมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายและรัฐสวัสดิการที่ดีพร้อม ย่อมตอบโจทย์ชีวิตของทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแม่ๆ ของเราที่กำลังก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมผู้สูงวัย (Aging Society)  สำหรับวันแม่ในเมืองฝันสลายแห่งนี้ เราจะพูดถึงแม่แบบโรแมนติไซซ์หรือการบอกรักแม่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ดังนั้นเราจึงชวนมนุษย์ลูก 6 คนมานั่งพูดคุยกันว่าในเมื่อกรุงเทพฯ ตอบโจทย์ชีวิตแม่ของเราได้ไม่ดีเท่าที่ควรนัก พวกเขาฝันอยากเห็นแม่ที่รักได้มีลมหายใจในเมืองที่มีหน้าตาและจิตวิญญาณแบบไหน เผื่อว่าในระหว่างบรรทัดของถ้อยคำที่ร้อยเรียงจากความรักและความห่วงใยจะสะท้อนวิถีชีวิตของพวกเราในเมืองใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนที่อยากมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในทุกวันนี้ 01 ป่าน-ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา  อาชีพ : ศิลปิน เมืองที่อยากให้แม่ไปอยู่ : เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี “เราอยากให้แม่ได้อยู่ในประเทศที่มองเห็นคนเท่าๆ กัน มีชีวิตอย่างมีคุณค่าเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งควรถูกทรีต ให้เขาได้อยู่ในเมืองที่เรามั่นใจได้ว่าเมื่อแม่แก่ตัวหรือเจ็บป่วย จะมีโรงพยาบาลที่ Afford ได้ง่ายดาย มีสวัสดิการพื้นฐานที่ดี เมื่อต้องเดินทางไปไหนก็อยากให้เขาได้มีการคมนาคมและขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ แต่ตอนนี้ประเด็นพวกนี้กลับไม่มีในเมืองที่เราอยู่  “เราถูกสอนให้เป็นคนกตัญญูต้องตอบแทนบุญคุณ จนลืมตั้งคำถามกับชีวิตว่าส่วนหนึ่งของการดูแลคน มันคือสิ่งที่รัฐต้องจัดสรรให้ทุกคนอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าลูกๆ ต้องลำบากตรากตรำทำงานเพื่อชดใช้บุญคุณพ่อแม่ตัวเอง ไม่ใช่แค่แม่เราหรอกที่ควรได้อยู่ในเมืองที่ดี […]

Cafemom By RIN ธุรกิจไท้ยไทยที่ลบภาพจำ ‘หมอตำแย’ ด้วยวิธีทำ ‘อยู่ไฟ Delivery’

‘อยู่ไฟ’ คือภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่เรามักเห็นจากหมอตำแยในละครย้อนยุค การอยู่ไฟอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราพูดในบริบทสังคมไทยในสมัยหลายสิบปีก่อน แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วการอยู่ไฟคืออะไร ทำไมคุณแม่หลังคลอดถึงต้องอยู่ไฟ ทั้งๆ ที่แพทย์แผนปัจจุบันก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องอยู่ไฟกันแล้ว แต่หากเราบอกคุณว่า ในปี 2021 การอยู่ไฟได้พัฒนารูปแบบมาจนกระทั่งเดลิเวอรี่ ให้คุณแม่หลังคลอดใช้บริการได้ง่ายและสะดวกโดยไม่ต้องออกจากบ้าน อีกทั้งกระแสตอบรับของธุรกิจดังกล่าวได้รับความนิยมจากคุณแม่สมัยใหม่มาก ชนิดที่ว่าต้องจองคิวล่วงหน้าถึง 2 เดือนก่อนคลอดลูกน้อยด้วยซ้ำ คุณอาจไม่เชื่อ สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะพาทุกคนไปรู้จัก Cafemom By RIN ธุรกิจไท้ยไทยที่เข้ามาเปลี่ยนภาพจำหมอตำแยในละคร ให้กลายมาเป็นธุรกิจอยู่ไฟเดลิเวอรี่ ที่พร้อมเคาะประตูให้บริการคุณแม่ถึงหน้าบ้าน อยู่ไฟ ‘วิชาดูแลแม่หลังคลอด’ คำถามที่เราสงสัยมาโดยตลอดก่อนจะเริ่มพูดคุยกับ รินทรัตน์ พลอยศรี หรือ เต้ย เจ้าของธุรกิจ Cafemom By RIN อยู่ไฟเดลิเวอรี่ คือคำถามที่ว่า จริงๆ แล้วมันคืออะไร ทำไมหลังคลอดคุณแม่สมัยก่อนถึงต้องอยู่ไฟ “การอยู่ไฟเป็นทางเลือกในการดูแลร่างกายของคุณแม่หลังคลอด ที่สอดแทรกไปด้วยกุศโลบายของคนไทยสมัยก่อน เพื่อช่วยบำบัดร่างกายและจิตใจที่เหนื่อยล้าจากการให้กำเนิดลูก การอยู่ไฟจะช่วยดูแลสุขภาพภายในร่างกายให้กลับมาสมดุลอีกครั้ง และคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนไปในเวลาเดียวกัน” หลังจากทราบถึงเหตุผลของการอยู่ไฟแล้ว เราสงสัยต่อว่าแล้วการอยู่ไฟมีข้อดีอะไรบ้าง “ตามตำราของแพทย์แผนไทย การอยู่ไฟเป็นการปรับสมดุลภายในร่างกายของผู้หญิง ซึ่งคุณแม่หลังคลอดเสียสมดุลในร่างกายไปเยอะ ทั้งเสียเลือด สารอาหาร […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.