ชวนดู 3 หนังสารคดีบอกเล่าแม่โขง พูดคุยกับผู้กำกับและบุคคลในสารคดี วันที่ 11 – 12 พ.ย. 66 ที่ Doc Club & Pub.

ในวันที่วิถีชีวิตของคนในลุ่มแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และสังคมโลก Urban Creature อยากชวนมาร่วมรับชม 3 ภาพยนตร์สารคดีกับนิทรรศการ ‘แม่โขงเรา เสียงของเรา เสียงและตัวตนที่อาจเลือนหาย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบข้ามพรมแดน’ ที่จะทำให้เรามองแม่โขงในมุมมองที่แตกต่างออกไป งานนี้จัดฉายภาพยนตร์ทั้งหมด 2 รอบ ในวันที่ 11 – 12 พฤศจิกายน 2566 ที่ Doc Club & Pub. โดยในรอบวันที่ 11 พฤศจิกายน (เต็มทุกที่นั่งแล้ว) จะจัดขึ้นในเวลา 15.00 – 18.00 น. พร้อมวงเสวนาพิเศษจาก 4 ผู้กำกับจาก 3 สารคดี ได้แก่ รวมไปถึงวงเสวนากับคนในสารคดีแต่ละเรื่องที่จะมาพูดถึง ‘อนาคตคนลุ่มน้ำโขง เมื่อแม่น้ำ อากาศ และวัฒนธรรมแปรสภาพ’ ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อมบุญ ทิพย์สุนา จาก Lost in […]

‘3200K’ ณ ชั่วขณะนั้นที่มุกดาหาร

ฉันมักใช้เวลาว่างที่เหลือจากการทำงานร้านอาหารของที่บ้าน ออกสำรวจพื้นที่ริมแม่น้ำโขงและบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ แม่น้ำที่ไหลผ่านเอื่อยๆ วิถีชีวิตริมน้ำที่ดำเนินไปอย่างเนิบช้า เรียบง่าย ฉันคิดว่าอุณหภูมิ สี และแสงที่ฉาบลงบนภาพตรงหน้าช่างอบอุ่นพิเศษกว่าที่ไหนๆ

หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ บึงกาฬ จากคำเล่าลูกอีสาน ขาบ สุทธิพงษ์ ผู้พัฒนาชุมชนให้มีชีวิต

บึงกาฬ จังหวัดที่มากไปด้วยธรรมชาติ ซึ่งท่ามกลางแมกไม้นานาพรรณเขียวชอุ่ม ภายใต้ร่มเงาของมันคือพื้นที่ซุกตัวของ หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ อำเภอโซ่พิสัย ที่เปรียบเสมือนเกาะถูกห้อมล้อมด้วยสายน้ำ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยอัตลักษณ์คนชาติพันธ์ุไทโส้ วิถีชีวิตเรียบ ง่าย งาม และความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสมกับประโยคที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”  ไม่เพียงเท่านั้น หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ จังหวัดบึงกาฬในวันนี้ยังกลายเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ’ ที่ลูกหลานอย่าง ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์แนวหน้าของเมืองไทย หวนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดและรากเหง้าบึงกาฬให้มีลมหายใจอีกครั้ง จนพาชุมชนที่เคยไกลปืนเที่ยงแห่งนี้ไปคว้ารางวัลกูร์มองด์ อะวอร์ด (Gourmand Awards) หรือรางวัลออสการ์อาหารโลกซึ่งจัดขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศส ธรรมะ-ธรรมชาติ-วัฒนธรรม สามแก่นแท้รากเหง้าบึงกาฬ ขาบเล่าว่า เรื่องธรรมะ จังหวัดบึงกาฬมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมายให้ศรัทธา หากเป็นธรรมชาติคงไม่ต้องอธิบายให้มากความ เพราะบึงกาฬจัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีห้วย หนอง คลอง บึง เยอะที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย  ส่วนด้านวัฒนธรรมก็แสนหลากหลายด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ชาติพันธุ์ไทยโส้’ แห่ง ‘หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่’ ที่ภายหลังเพี้ยนมาเป็นไทยโซ่ และถูกตั้งเป็นชื่ออำเภอโซ่พิสัย แปลว่าเมืองของคนโส้ ทั้งสามธรรมนี้จึงกลายเป็นรากเหง้าอันสมบูรณ์พร้อมของบึงกาฬ ซึ่งส่งเสริมให้จังหวัดที่เกิดขึ้นหลังสุดในแผนที่ประเทศไทยรุ่มรวยไปด้วยทุนวัฒนธรรม ขี้เหล็กใหญ่ในกาลก่อน ภาพหมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ในวันที่ขาบยังเป็นเด็ก คือหมู่บ้านที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นดอน อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่เขียวชอุ่มซึ่งคอยแผ่กิ่งก้านสร้างร่มเงาให้เป็นพื้นที่ซุกตัวสำหรับบ้าน 45 […]

‘เสียงจากลำน้ำโขง’ ชีวิตเหือดหายบนสายน้ำที่ไม่อาจหวนคืน

“ผืนดินแตกระแหง ดินแดนแห่งความแห้งแล้ง” คือวาทกรรมที่สร้างภาพจำให้แดนอีสาน ในความจริงอีสานเคยอุดมสมบูรณ์กว่านี้ ชาวบ้านสามารถทำประมงน้ำจืด ทำเกษตรริมสองฝั่งแม่น้ำ แต่ 20 ปีให้หลัง ‘แม่น้ำโขง’ เส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิต กลับเผชิญชะตากรรมจากผลกระทบของการสร้างเขื่อน ระดับน้ำที่ผันผวนและปัญหาอื่นๆ นับไม่ถ้วน ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องและนับวันยิ่งวิกฤต ส่งผลต่อระบบนิเวศ รวมถึงวิถีชีวิตของคนริมโขงที่เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ศูนย์วิจัยในสหรัฐฯ เผยจีนกั้นเขื่อนโขงตอนบน กักน้ำไว้ 4.7 หมื่นล้าน ลบ.ม. ต้นเหตุภัยแล้ง

ลำน้ำที่แห้งขอดเห็นสันดอนทราย อีกทั้งน้ำที่ใสจนเปลี่ยนเป็นสีครามเนื่องจากไม่มีตะกอน ทำให้ระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านโดยเฉพาะชาวประมง และการทำเกษตรที่ต้องอาศัยชลประทาน ไปจนถึงลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงก็แห้งตามไปด้วย

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.