ฟังเสียงเด็กวัดจากอัลบั้ม ‘ธาตุทองซาวด์’ บันทึกช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้วของ ‘YOUNGOHM’

การฟังเพลงแบบเป็นอัลบั้มใช้เวลาเยอะ และใช้สมาธิเยอะไม่ต่างกัน แต่ก็เพราะการฟังเพลงแบบเป็นอัลบั้มนี่แหละ ที่มอบความพิเศษของเรื่องราวผ่านบทเพลงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยิ่งได้ฟังอัลบั้มที่มีคอนเซปต์เรียงร้อยต่อกันไป แถมเป็นเรื่องราวที่บันทึกประสบการณ์ชีวิตในโลกที่เหมือนละครด้วยแล้ว เราย่อมได้รับพลังงานจากเรื่องเล่าเหล่านั้นเสมอ อัลบั้ม ‘ธาตุทองซาวด์’ คือความรู้สึกพิเศษแบบนั้น เพราะเป็นดั่งบันทึกเรื่องราวชีวิตของผู้คนในมุมหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร คอนเซปต์อัลบั้มที่ฟังต่อกันแล้วได้อรรถรสแบบหนังม้วนยาว พาทุกคนเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่ทำให้เห็นว่า กว่า ‘YOUNGOHM’ (โอม-รัธพงศ์ ภูรีสิทธิ์) ที่ถูกรู้จักในฐานะแรปเปอร์แห่งยุคเช่นทุกวันนี้ ในวันวัยแห่งการเริ่มต้นจนถึงวันที่ประสบความสำเร็จเขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง  ยังโอมเลือกเป็นนักแรปมาตั้งแต่ช่วงวัยเรียน และเดินทางไปแข่งขันในหลากหลายสนามแรป บวกกับทำเพลงมาเรื่อยๆ จนหลายเพลงทำให้เขามีชื่อเสียง และเกิดอัลบั้มแรกของชีวิตเมื่อปี 2020 ชื่อว่า ‘Bangkok Legacy’ ในอัลบั้มแรกเราจะได้ยินความสบถ ความเกรี้ยวกราด และความคับแค้นต่างๆ ที่ผสมปนเปเล่าออกมาผ่านเพลง  ทว่าอัลบั้มที่สองนี้เสมือนการตกผลึกของความนึกคิด ที่มันย้ำให้เห็นว่า ความสำเร็จหรือความสมหวังตั้งใจของคนคนหนึ่งนั้นย่อมมีความเจ็บปวดที่ต้องเผชิญ ยังโอมได้เล่าประสบการณ์ต่างๆ ของชีวิตผ่าน 19 บทเพลงที่ตั้งใจสร้างขึ้นมา เป็นการเปิดเปลือยตัวตนบางอย่างในอดีตเพื่อทบทวนให้เห็นว่าเขาในปัจจุบันนั้นเป็นใคร รายละเอียดชีวิตที่นำมาบอกเล่าด้วยความสุนทรีย์ผ่านบทเพลงก็ช่วยทำให้ได้รู้จักเขามากยิ่งขึ้นด้วย โดยแกนหลักอัลบั้มสองเป็นเรื่องราวของเด็กวัดธาตุทอง ช่วงเวลาชีวิตวัยรุ่น วัยเรียน ซึ่งฉายภาพการอาศัยอยู่ในโซนเอกมัยใจกลางเมือง ย่านที่มีตึกสูงเสียดฟ้าและมีผู้คนมากมายที่ต่างพยายามเคลื่อนต่อไปเพื่อให้ตัวเองได้มีชีวิตที่ดีขึ้น คอลัมน์ แกะเพลง ชวนมาสำรวจอัลบั้มธาตุทองซาวด์ของยังโอม ที่บรรจุอัดแน่นด้วยบทเพลงทั้ง 19 เพลง ซึ่งล้วนเป็นบันทึกช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วของเด็กวัดธาตุทองแห่งย่านเอกมัยที่กลายเป็นแรปสตาร์ได้ตามที่ตั้งใจ วันนี้เราจึงขอเลือกหยิบบางเพลงมาพูดคุยกัน […]

‘ไม่มีฝันของใครที่เป็นไปไม่ได้’ ล่องไปกับ ‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ EP Album ของ HUGO

‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ คือผลงานอีพีอัลบั้มล่าสุดของ ‘HUGO’ หรือ ‘เล็ก-จุลจักร จักรพงษ์’ ที่ออกสู่สาธารณะเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2564  อัลบั้มนี้มีไอเดียจากข่าวที่มหาเศรษฐีและผู้คนบนโลกมากมายเริ่มมองอวกาศเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยว เรือสำราญราตรีอมตะ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นภาพจำลองที่สะท้อนความเป็นไปของสังคม และนำเสนอในแบบ Sci-Fi จินตนาการไปสู่อนาคตที่อาจเกิดขึ้นจริงได้ในสักวัน ภายในอัลบั้มประกอบด้วย 6 บทเพลงไทย โดยได้นักแต่งเพลงแห่งยุคอย่าง ‘ฟองเบียร์-ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม’ กับ ‘ติ๊ก-กฤษติกร พรสาธิต’ วง Playground มาช่วยสร้างสรรค์ร้อยเรียงทำนองต่อเนื่องอย่างกลมกลืน ผสมผสานการเล่าเรื่องด้วยเนื้อหาจิกกัด เสียดสี สะท้อนสังคมอย่างมีชั้นเชิงทางภาษา และแพรวพราวไปด้วยดนตรีครบเครื่องที่ใช้วิธีการอัดดนตรีสดแทบทุกตำแหน่ง ทั้งกลอง เครื่องสาย เครื่องเป่า เพอร์คัสชัน และเสียงประสานที่จัดเต็ม รวมถึงได้นักดนตรีมากฝีมือหลายคนมาวาดลวดลาย จนออกมาเป็นหลากหลายแนวเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในสไตล์แบบฮิวโก้  นอกจากนี้ การเดินทางของเพลงทั้งหมดในอัลบั้มมีจิตรกรนามว่า ‘อ๋อง-วุฒิกร เอกรัตนสมภพ’ จากทีม ‘Visionary’ มารับหน้าที่วาดภาพเรียงต่อกันเป็นแอนิเมชันเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงให้เข้ากับจินตนาการมากขึ้น  พูดได้ว่าอัลบั้มนี้เป็นอีกผลลัพธ์ของการทดลองและทุ่มเททำงานหนักของฮิวโก้และทีม ผ่านการออกแบบเพลงมาให้ฟังตั้งแต่เพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้ายแล้ววนไปเริ่มต้นใหม่ได้ เราไม่แปลกใจเลยถ้าอัลบั้มนี้จะกลายเป็นอีกหนึ่งผลงานเพลงไทยที่ไพเราะเสนาะหูจนใครหลายคนยกให้เป็นอัลบั้มในดวงใจ ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของอีพีอัลบั้มนี้ คอลัมน์ ‘แกะเพลง’ ขอพาทุกคนขึ้นไปยังเรือสำราญราตรีอมตะ เพื่อสำรวจว่าภายใน […]

“ประดับวงการใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์” 20 ปีของ ‘ภูมิจิต’ วงดนตรีที่ไม่มีวันดังอีกแล้ว

“วงดนตรีของเรายี่สิบปีพอดี ถ้ามองมุมนี้ก็ถือว่าเรามาได้ไกลกว่า The Beatles ประมาณหนึ่ง” เสียงของชายผู้รับหน้าที่เป็นนักร้องดังขึ้น “พรุ่งนี้พาดหัวข่าว วง ‘ภูมิจิต’ เย้ย The Beatles ไอ้ห่าดังเลยกู” มือกลองตบจังหวะนี้เรียกเสียงฮาลั่นห้องอัด  ต่อหน้าเราขณะนี้คือวงดนตรีภูมิจิต ในวันที่พวกเขากำลังอัดเพลงอัลบั้มใหม่ วงภูมิจิตมีสมาชิก 4 คนไล่จากนักร้องนำที่ทั้งแต่งเพลงและเล่นกีตาร์ พุฒิ-พุฒิยศ ผลชีวิน ถัดไปคือ กานต์-เกษม จรรยาวรวงศ์ มือกีตาร์เพื่อนสนิทร่วมห้องของพุฒิสมัยเรียนวิศวะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนอีกสองคนคือสมาชิกใหม่ที่กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญ ได้แก่ บอม-ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล เล่นเบส และ แม็ก-อาสนัย อาตม์สกุล มือกลอง  20 ปีที่ผ่านมา วงดนตรีภูมิจิตมีผลงานเพลงทั้งหมด 4 อัลบั้ม ได้แก่ ‘Found and Lost’ (2551), ‘Bangkok Fever’ (2553), ‘Home Floor’ (2555) และปี 2561 คือ ‘MIDLIFE’ อัลบั้มล่าสุดที่ทั้งวงยกให้เป็น […]

Running Up That Hill เพลงยุค 80 ที่ข้ามมิติมาช่วย Max Mayfield วิ่งหนีปีศาจใน Stranger Things

Spoiler Alert : บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์  นาทีนี้คงไม่มีแฟน Stranger Things คนไหนยังไม่ดูซีซัน 4 พาร์ต 1 เพราะทุกคนต่างเฝ้ารอการกลับมาของแก๊งแฟนฉันแห่งฮอว์กินส์บน Netflix ซึ่งทิ้งช่วงห่างจากภาคก่อนนานถึง 3 ปี!  สิ่งที่ทำให้หลายคนชื่นชอบซีรีส์เรื่องนี้คงหนีไม่พ้นมู้ดแอนด์โทน ที่ทุกอย่างในเรื่องไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหน้าผม ฉาก พร็อป ไปจนถึงซาวนด์แทร็ก ล้วนคุมธีมยุค 80 ซึ่งซีซันก่อนๆ ได้ปลุกกระแสแฟชั่น แก็ดเจ็ต ไปจนถึงแนวเพลงอิเล็กทรอนิกเท่ๆ ให้กลับมาฮิต น่าตื่นเต้นไม่น้อยที่เพลงประกอบหลักของซีซัน 4 อย่าง ‘Running Up That Hill (A Deal With God)’ จากปี 1985 โดยศิลปินหญิงชาวอังกฤษ Kate Bush ทำให้คนฟังทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ต่างคลั่งไคล้จนยอดสตรีมพุ่งพรวด ส่งให้เพลงนี้ขึ้นอันดับ 8 บน Billboard Top 100 จากที่เคยพีกสุดแค่อันดับ 30 ในช่วงที่เพลงถูกปล่อยออกมา นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในชีวิตของศิลปินวัย 63 หลังจากเวลาล่วงเลยมาหลายทศวรรษ ในฐานะแฟนซีรีส์และแฟนเพลงของ […]

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” มวลความเศร้าที่ไม่มีคำตอบใน ‘ควรจะทำยังไง’ ของภัค fluffypak

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” หลังจากฟังท่อนสุดท้ายของเพลง ‘ควรจะทำยังไง (Dead End)’ ซิงเกิลล่าสุดของ fluffypak จบ เรารู้สึกถึงอะไรบางอย่าง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย อาจจะเป็นความเศร้า หรือความอึดอัดใจบางอย่างซ่อนอยู่ลึกๆ ในใจของคนฟังอย่างเราที่เพลงนี้นำพาให้เอ่อล้นขึ้นมาก็เป็นได้ ด้วยเนื้อเพลงตรงไปตรงมา และเสียง Synthesizer กระแทกใจเหมือนเจ้าของเพลงอยากจะระเบิดอารมณ์ออกมาในตอนท้าย ทำให้ต้องกดฟังเพลงนี้ซ้ำอีกครั้งเพื่อหาคำตอบ การพบกันครั้งแรกของเรากับเจ้าของเพลงอย่าง ณภัค นิธิพัสกร หรือ ‘ภัค fluffypak’ นั้นแตกต่างจากความรู้สึกแรกที่เราได้ฟังเพลงเนื้อหาเร้าอารมณ์นี้อย่างสิ้นเชิง ภัคมาถึงสถานที่สัมภาษณ์อย่างรีบร้อน แต่ก็ทักทายทุกคนในห้องด้วยความสดใส fluffypak ศิลปินจาก MILK! Artist Service Platform โปรเจกต์สนับสนุนศิลปินอิสระของค่าย What The Duck “ดนตรีเป็นเหมือน Safe Space ของเราที่ทำให้เรารู้สึกไปตามเสียงดนตรี ได้ระบาย ได้อยู่กับตัวเอง” ตั้งแต่มัธยมต้นภัคชอบฟังเพลงร็อก และมีวงดนตรีที่ชอบคือ Bodyslam พอเพลงป็อปเกาหลีเข้ามาก็ฟังตามเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นขาร็อกเพราะภัคก็ยังฟังวงดนตรี Brit-rock อย่าง Arctic Monkeys ด้วย แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ชมภาพยนตร์ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.