จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]

‘รัฐสภา’ ย้อนดูความเป็นมาของสถานที่เริ่มต้นในการพัฒนาประเทศและต่อสู้ทางอุดมการณ์

หลังจากสถานีการเลือกตั้งอันแสนดุเดือดจบลง สถานีต่อไปที่ประชาชนจับตามองคือ กระบวนการที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง ‘รัฐสภา’ สถานที่แห่งนี้ย่อมเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเป็นสถานที่ที่มีไว้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายเข้าไปประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมถึงถ้าหากฝ่ายรัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนอย่างที่เห็นกันตามสื่อต่างๆ ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘รัฐสภา’ คือฉากหลังสำคัญในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของเหล่านักการเมืองทุกยุคทุกสมัย ในช่วงเวลาที่สายลมแห่งการเปลี่ยนผ่านพัดพาสู่การเมืองไทย คอลัมน์ Urban Tales จะมาเล่าถึงประวัติศาสตร์รัฐสภาของประเทศไทยว่ามีความเป็นมายังไง แต่ละแห่งมีคอนเซปต์และความสำคัญอย่างไรบ้าง รัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สถานที่แห่งแรกที่ใช้เป็นรัฐสภาคือ ‘พระที่นั่งอนันตสมาคม’ ซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่สภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประชุมในนั้น นั่นก็เพราะในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 7 อนุญาตให้ใช้พระที่นั่งฯ เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุม ต่อมาในปี 2489 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และพฤฒสภา (สภาสูงหรือสภาอาวุโส) จึงกำหนดให้ใช้พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นที่ประชุมของพฤฒสภาอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นหนึ่งปี หรือปี 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ส่งผลให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมเพียงแห่งเดียว […]

เช็กแนวโน้มประชาธิปไตยได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ Our Voice Matters นับเสียง ส.ส. และ ส.ว. ฝั่งประชาชน

หลังจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นจนถึงวันนี้ เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลก็ยังมาแรงอย่างต่อเนื่อง เพราะหากนับคะแนนเสียงในสภา ต่อให้พรรคการเมืองฝั่งประชาธิปไตยจะชนะเลือกตั้ง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ขึ้นเป็นรัฐบาล เนื่องจากมีเหล่า ส.ว. อีก 250 เสียงที่ยังอยู่ในสมการ ourvoicematters.co คือเว็บไซต์ช่วยนับคะแนนเสียง ส.ว. และ ส.ส. ที่ตัดสินใจอยู่ข้างประชาชนตอนนี้ ซึ่งจากข้อมูลอัปเดตล่าสุด วันที่ 21 พ.ค. 2566 มีจำนวน ส.ว. และ ส.ส. ที่พร้อมโหวตตัวแทนจากพรรคฝั่งประชาธิปไตยแล้ว 334 เสียง นอกจากจะรายงานถึง ส.ว. และ ส.ส. ที่อยู่ฝั่งเดียวกับประชาธิปไตย และจำนวนเสียงที่ขาดไป เพื่อไปให้ถึงประชาธิปไตยที่แท้จริงภายใต้กฎกติกาตอนนี้แล้ว อีกหนึ่งกิมมิกของเว็บนี้คือ เซกชัน ‘อยากบอกอะไร ส.ส. กับ ส.ว. ที่อยู่ข้างเราไหม?’ ที่มีข้อความให้กำลังใจมากมายอยู่บนหน้าเว็บไซต์ ทั้ง “ขอบคุณที่ทำให้เสียงของเราไม่สูญเปล่า” “ขอบคุณที่ฟังเสียงประชาชน” “ขอบคุณที่ทำหน้าที่ ส.ว. อย่างถูกต้อง” เป็นต้น ซึ่งถ้าเราต้องการบอกอะไรกับพวกเขาผู้ยืนหยัดอยู่ข้างประชาชน ก็จิ้มข้อความเหล่านั้นเพื่อให้กำลังใจได้เลย และในส่วนท้ายสุดของเว็บไซต์เป็นหน้ากระดานข่าวที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับพรรคอื่นๆ รวมถึง ส.ว. […]

‘Design & Politics’ งานดีไซน์เพื่อการเลือกตั้งจากไต้หวัน ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

การเลือกตั้งที่ไทยจบลงไปแล้วกับชัยชนะของฝั่งประชาธิปไตย แต่หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจแต่เราอาจมองข้ามไปคือ การสร้างสรรค์ดีไซน์หรือฮาวทูต่างๆ ที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจการเลือกตั้งได้อย่างชัดเจนขึ้น เพราะก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจในกติกาหรือรายละเอียดการเลือกตั้ง จนกลายเป็นผลเสียตามมา Urban Creature ขอพามาดูตัวอย่างงานออกแบบการเมืองของประเทศไต้หวัน ที่พยายามใช้งานดีไซน์ทำให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น จาก ‘Golden Pin Design Award’ งานรางวัลการออกแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในตลาดการออกแบบแห่งไต้หวัน จีน มาเก๊า และฮ่องกง ที่ต้องการเปิดโอกาสและสนับสนุนงานออกแบบหลากหลายประเภทจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ไต้หวันมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกๆ 4 ปี โดยจัดสลับกันระหว่างสองการเลือกตั้งนี้ในทุกๆ 2 ปี แน่นอนว่าต้องมีการโปรโมตเพื่อหาเสียงเหมือนกับการเลือกตั้งในบ้านเรา และแนวคิดที่ชาวไต้หวันเลือกนำมาใช้คือการออกแบบการหาเสียงที่จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หนึ่งในงานออกแบบการหาเสียงที่น่าสนใจคือ การเปิดช่องทางให้ประชาชนทั่วไปได้ทำความเข้าใจนโยบายของผู้สมัครเลือกตั้งในด้านต่างๆ เช่น นโยบายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคงของชาติ และระบบเศรษฐกิจ ผ่านการออกแบบฟังก์ชัน ‘ห้องแชตประธานาธิบดี’ โดย ‘Block Studio’ เพื่อเป็นช่องทางให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ เริ่มต้นจากการเลือกผู้สมัครที่สนใจ และระบบจะนำเราเข้าสู่ห้องแชตที่อธิบายนโยบายต่างๆ ในรูปแบบของบทสนทนาที่ใช้กันทั่วไป จากนั้นระบบจะประมวลผลจากการสื่อสารและนโยบายที่ผู้ใช้งานได้เลือกระหว่างสนทนาว่า พรรคไหนคือพรรคที่มีนโยบายตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ซึ่งวิธีดังกล่าวนอกจากจะทำให้ประชาชนเข้าใจและเลือกนโยบายที่ตอบโจทย์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เลือกผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ตรงกับตัวเอง โดยไม่ตัดสินจากตัวพรรคที่สังกัดอย่างที่เคยเป็นมา อีกหนึ่งการออกแบบคือ ‘คู่มือการเลือกตั้ง’ ซึ่งเป็นผลงานจาก ‘graphic room’ […]

Accessible Elections ออกแบบหน่วยเลือกตั้ง ให้เอื้อต่อคนทุกกลุ่มและรับรองสิทธิของประชาชน

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ต้องบอกว่าถ้าเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นจะออกมาในทิศทางไหน ใครจะเป็นนายกฯ และเราจะมีทีมรัฐบาลที่เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนแก้ไขความเป็นอยู่ของสังคมประเทศไทยให้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ การออกไปเลือกพรรคที่ชอบและลงคะแนนให้กับคนทำงานที่ใช่ เสียงของทุกคนจะตอบคำถามนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้เห็นข้อผิดพลาดจากการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันมาไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนเริ่มกังวลต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่จะมาถึง คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำปัญหาต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมถึงความเป็นไปได้อื่นๆ มาออกแบบการเลือกตั้งให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าวัยชรา ไปจนถึงคนพิการ ให้ออกไปใช้สิทธิ์ได้อย่างสะดวกสบาย สมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลว่าเสียงของตนจะหล่นหายหรือไม่ หน่วยเลือกตั้งที่ใครๆ ก็ไปถึง การเลือกตั้งครั้งนี้แบ่งออกเป็น 400 เขตทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้งมากที่สุดที่ 33 เขต แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงสะท้อนมาว่า การเดินทางไปถึงสถานที่รองรับการเลือกตั้งในหลายเขตเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากรายชื่อหรือรหัสของหน่วยเลือกตั้งไม่มีพิกัดแน่ชัด หรือผู้สูงวัยที่บางบ้านไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยติดรถกันมา บางคนต้องนั่งหลังรถกระบะปะทะกับแดดร้อนๆ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ขณะเดียวกัน เมื่อหลายครอบครัวและคนจำนวนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมายังจุดเลือกตั้ง ก็อาจส่งผลให้การจราจรติดขัดตามไปด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจะเปิดบริการขนส่งสาธารณะฟรีหรือจัดจ้างรถที่ใช้ประจำหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางในวันเลือกตั้ง […]

เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมือง เลือกตั้ง ปี 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 66 แล้ว เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงช่วงเวลาตัดสินชะตาชีวิตคนไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอจุดยืนและนโยบายของเหล่าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านค่าครองชีพ มาเยอะแล้ว Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่มีชื่อติดโพลใหญ่ๆ และน่าจับตามองกันบ้าง เพราะเราคงมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้แน่ๆ หากผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองหม่นๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 7 ประเดิมด้วยพรรคแรกกับการไล่จากเลขเบอร์น้อยไปยังเลขมาก กับ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งนำโดย ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ที่ปัจจุบันนั่งแท่นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘พูดแล้วทำ’ คือสโลแกนที่พรรคภูมิใจไทยนำมาชูสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และเมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า ตัวพรรคไม่ได้เซตนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงานเข้ามาแทน นั่นคือ นโยบายพลังงานสะอาด ลดรายจ่ายประชาชน เพราะมองว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าคือภาระใหญ่หลวงที่ประชาชนต้องแบกรับ และกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลภาวะ อากาศพิษ ทำร้ายสุขภาพประชาชน และเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายผ่าน 2 โครงการ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเรือนตัวเอง คิดเป็นกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 […]

ชมการออกแบบโปสเตอร์สร้างสรรค์ ชวนไปเลือกตั้งในนิทรรศการ #ทราบแล้วโหวต ที่ Kinjai Contemporary 23 – 30 เม.ย. 66

หลังจากสนุกสุดเหวี่ยงในวันหยุดยาวช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา สุดสัปดาห์นี้เรามีโปรแกรมสนุกๆ เที่ยวเบาๆ ในกรุงเทพฯ ชวนไปเปิดหูฟังความรู้ เปิดตาดูความสร้างสรรค์ กับงาน ‘BANGKOK THROUGH POSTER’ ซึ่งเป็นโปรเจกต์ประจำปีที่จัดขึ้นครั้งที่ 4 แล้ว ในปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์พิเศษที่ต้อนรับการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง ในชื่อนิทรรศการ ‘#ทราบแล้วโหวต’ ที่มี ‘โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน’ หรือ ‘iLaw’ มาร่วมสร้างสรรค์งานครั้งนี้ด้วย โดยนิทรรศการครั้งนี้ได้รวบรวมนักสร้างสรรค์หลากหลายแขนงมารวมพลังร่วมเป็นกระบอกเสียง เพื่อพูดและสื่อสารข้อมูลต่อสังคมผ่านผลงานสร้างสรรค์ ในรูปแบบของ ‘โปสเตอร์ดีไซน์’ กับคอนเซปต์ ‘รณรงค์ให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งปี 2566’ เพื่อความมุ่งหวังที่อยากเห็นประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น ทางงานได้คัดเลือกผลงานจากนักสร้างสรรค์ทั้งหมด 66 ชิ้นงานมาจัดแสดงให้ได้เดินชมกันอย่างจุใจ และเมื่อนิทรรศการแสดงจบแล้ว ชิ้นงานทั้งหมดจะมีการนำไปโพสต์และทำแคมเปญส่งต่อให้ประชาชนได้นำไปใช้ประชาสัมพันธ์ผ่าน Hashtag #ทราบแล้วโหวต ตามช่องทางออนไลน์ต่างๆ ต่อไป งานนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 23 – 30 เมษายน 2566 สถานที่จัดงานอยู่ที่ ‘Kinjai Contemporary’ แกลเลอรีศิลปะและการออกแบบร่วมสมัยในย่านบางพลัด ที่ร่วมผลักดันและเปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้สิทธิในการสื่อสารและแสดงออกต่อสาธารณะ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง BANGKOK THROUGH POSTER

คู่มือเลือกตั้ง 2566 รวบตึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าคูหา

แม้ว่าเราจะไม่เคยนอนหลับทับสิทธิ์กับทุกการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้งได้ง่ายๆ โดยเฉพาะการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ยิ่งปีนี้การเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2562 เล็กน้อย ประชาชนก็ยิ่งต้องหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและจะได้ไปอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่เข้าใจด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม และคะแนนเสียงของเรานั้นจะไปอยู่ในส่วนไหน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหรือครั้งที่เท่าไรของคุณก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Urban Creature ได้รวบตึงข้อมูลที่จำเป็นมาอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ในโพสต์นี้แล้ว ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้งของตัวเองที่ boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection และตามไปดูผลงานเก่าๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทนที่ election66.wevis.info 01) รัฐสภา ประกอบด้วย 750 คน โครงสร้างรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 60 ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 750 คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน 02) ต้องได้ ส.ส.เท่าไหร่ถึงจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามปกติแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลต้องมีจำนวน ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งของที่นั่ง ส.ส.ทั้งหมดในสภา ดังนั้นพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องมี ส.ส.จำนวน 250 ที่ขึ้นไป ในกรณีที่รวมคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตกับ […]

4 ปีผ่านมา พรรคไหนทำตามสัญญาบ้าง รวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ Wevis Election’66

ผ่านไป 4 ปี การเลือกตั้งครั้งใหญ่ก็เวียนกลับมาอีกครั้ง แม้ว่ากฎกติกาที่ออกมาจะดูงงๆ แปลกๆ ราวกับไม่อยากให้ประชาชนคนไทยเข้าใจการเลือกตั้งง่ายๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขัดขวางให้เราไม่ไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเอง นอกจากการแบ่งเขตและกฎกติกาการเลือกตั้งปี 2566 ที่ต้องทำความเข้าใจแล้ว อีกเรื่องที่คนน่าจะอยากรู้กันคือ ผลงานของ ส.ส.ในเขตของเรา และพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งเมื่อครั้งที่แล้ว ว่าพวกเขาทำอะไรให้ดีขึ้นบ้าง ซึ่งเว็บไซต์ election66.wevis.info/ ของกลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน Wevis ก็รวบรวมมาให้ทั้งหมดแล้วในรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลที่ดูง่าย สนุก และสวยงาม Wevis Election’66 คือเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประชาชนก่อนไปเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นโปรเจกต์ย่อยๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น – 4 ปีผ่านมา ส.ส. ทำอะไรกันในสภาบ้าง? ทบทวนความจำกับผลงานการลงมติและการย้ายพรรคของ ส.ส.ชุดล่าสุด– 4 ปีผ่านมา พรรคการเมืองทำตามสัญญาอะไรได้บ้าง? ทบทวนความจำกับพรรคในสภาชุดล่าสุด เคยขายนโยบายและทำอะไรไปบ้าง– 4 ปีผ่านมา กฎหมายอะไรผ่านเข้าสภาบ้าง? ตรวจงานรัฐสภาชุดล่าสุด เคยเสนอ/ผ่านกฎหมายอะไรให้เรา– ส่องเพจพรรค ที่ผ่านมา โพสต์อะไรกันไว้บ้าง? ส่องโลกออนไลน์ของ 6 พรรคการเมืองในสภา นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นว่าผู้แทนฯ แบบไหนที่ประชาชนอยากเห็น […]

ข้อควรรู้ก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งกรณีกาบัตรล่วงหน้าทั้งในและนอกเขต วันที่ 7 พ.ค. 66 เวลา 08.00 – 17.00 น.

หลังจากมีประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นทันที ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยมีคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนี้ และไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ไม่อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง และต้องไม่ถูกคุมขังโดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในกรณีที่ไม่สามารถไปเลือกตั้งในวันจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่อยู่อาศัยปัจจุบันไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน หรือไม่สะดวกไปเลือกตั้งในวันจริงได้ ก็ยังสามารถลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในช่องทางต่างๆ ตามที่ กกต.กำหนดไว้ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 เมษายน 2566 เพื่อเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในเขตและนอกเขตเลือกตั้งได้ในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 กรณีเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งโดยยื่นด้วยตนเอง มอบหมายผู้มีสิทธิรับยื่นแทน หรือยื่นทางไปรษณีย์ ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง เพียงเตรียมสำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายและหมายเลขประจำตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้ และคำสั่งของทางราชการหรือหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐ พร้อมทั้งแบบคำร้องขอใช้สิทธิไปด้วย ส่วนในกรณีเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต ผู้ที่ประสงค์ยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนล่วงหน้า สามารถยื่นเอกสารได้ 3 กรณี ได้แก่ การยื่นคำขอต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีถิ่นที่อยู่ด้วยตนเองหรือผู้แทน ยื่นทางไปรษณีย์ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีถิ่นที่อยู่ หรือยื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์ stat.bora.dopa.go.th/Election/regoutvote/#/main […]

จะเลือกตั้งใหญ่แล้ว #ทราบแล้วโหวต งาน BANGKOK THROUGH POSTER ชวนออกแบบโปสเตอร์ วันนี้ – 7 เม.ย. 66

หลังจากจัดงานมาแล้ว 3 ปี ครั้งนี้ BANGKOK THROUGH POSTER กลับมาพร้อมกับโปรเจกต์พิเศษต้อนรับการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในนิทรรศการ ‘#ทราบแล้วโหวต’ ภายใต้ความร่วมมือกับ iLaw โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน นิทรรศการ #ทราบแล้วเปลี่ยน จะจัดขึ้นในวันที่ 29 – 30 เมษายน 2566 ที่แกลเลอรี KINJAI CONTEMPORARY แต่ช่วงนี้ทีมงานกำลังเปิดรับผลงานการออกแบบโปสเตอร์จากศิลปิน นักออกแบบ คนทำงานสร้างสรรค์ทุกแขนง และผู้ที่สนใจ ทั้งบุคคลและองค์กร เพื่อมาร่วมแสดงใน BANGKOK THROUGH POSTER 2023 กับคอนเซปต์ ‘รณรงค์ให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งปี 2566’ โดยครั้งนี้จะมีการคัดเลือกและจัดแสดงชิ้นงานทั้งหมด 66 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยผลงานจากนักสร้างสรรค์ที่ได้รับเชิญ ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ นักวาด ศิลปิน องค์กร หรือนักสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ จำนวน 33 ชิ้น และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากรอบ Opencall อีกจำนวน 33 ชิ้น อีกทั้งชิ้นงานทั้งหมดจะมีการนำไปโพสต์และทำแคมเปญส่งต่อให้ประชาชนได้นำไปใช้ประชาสัมพันธ์ผ่าน Hashtag […]

‘ประชาธิปไตยต้องการคุณ’ เว็บไซต์ VOTE 62 ชวนมาเป็นอาสาจับตาดูการเลือกตั้งปี 66

vote62.com คือเว็บไซต์ที่ Opendream, The Momentum, a day BULLETIN และ iLaw ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อร่วมเป็นกระบอกเสียงสร้างความเข้าใจต่อข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเปิดให้ทุกคนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ และยังสร้างระบบ Crowdsourcing สำหรับติดตามผลการเลือกตั้งและตรวจสอบการนับคะแนน ในช่วงเวลาที่การเลือกตั้งปี 2566 ใกล้เข้ามาทุกขณะ ทาง VOTE 62 ได้อัปเดตเว็บไซต์ใหม่ และเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครจับตาดูความโปร่งใสในการเลือกตั้ง ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และนี่คือภารกิจ 5 ขั้นตอนที่อาสาสมัครต้องช่วยกัน  1) ไปที่หน่วยเลือกตั้งใกล้บ้านหรือหน่วยเลือกตั้งไหนก็ได้ 2) จับตาการนับคะแนนหลังปิดหีบ นับ ขาน ขีด รวม 3) ถ่ายภาพป้ายประจำหน่วย กระดาษขีดคะแนน และใบรวมคะแนน 4) รายงานผลการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ vote62.com 5) กรอกคะแนนเป็นตัวเลข แน่นอนว่าใครๆ ก็เป็นอาสาสมัครรายงานคะแนนผลการเลือกตั้งได้ หากสนใจอยากร่วมโปรเจกต์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/3YLBpAS หรือกรอกแบบฟอร์มการสมัครได้ที่ bit.ly/3YRjLM2 และอย่าลืมแอด […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.