ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

กทม. ชวนเช็กสภาพรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องกับโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน วันนี้ – 29 ก.พ. 67

ปลายปีแบบนี้ มองไปทางไหนก็พบเจอแต่ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้น จนผู้คนรอบตัวเริ่มทยอยป่วยเพราะปัญหาสภาพอากาศย่ำแย่ แถมเจ้าฝุ่นที่ว่านี้ยังมีต้นเหตุหลักมาจากควันรถยนต์ที่จราจรบนท้องถนน กทม. ที่พยายามแก้ปัญหานี้ ได้ร่วมมือกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตัวแทนค่ายรถยนต์ผู้ค้าน้ำมันในประเทศไทย จัดทำโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ เพื่อจัดโปรโมชันลดค่าบริการตรวจสอบสภาพรถ ทั้งการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ไส้กรองน้ำมัน และตรวจเช็กรถยนต์กว่า 35 รายการฟรี ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น​ของคนกรุงเทพฯ​ และทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 โปรโมชันนี้ออกมาสำหรับรถยนต์ที่อายุการใช้งานตั้งแต่ 2 – 15 ปี เรียกได้ว่ายิ่งอายุรถยนต์มาก บริษัทที่เข้าร่วมก็จะให้ส่วนลดมากขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนลดสูงสุดอยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้ประชาชนที่มีรถยนต์เก่าเข้ามารับบริการบำรุงรักษา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของรถยนต์นั่นเอง รถของบ้านไหนที่เข้าเกณฑ์ เจ้าของรถสามารถเข้าร่วมตรวจเช็กสภาพรถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน รวมถึงเข้ารับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน และหากใครมีแพลนเดินทางในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูง ติดตามการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้า รวมถึงรายละเอียดส่วนลดและระยะเวลาเข้าร่วมโครงการของแต่ละบริษัทได้ที่เพจ กรุงเทพมหานคร

FYI

I Love Urban Life แคมเปญส่งต่อพลังบวกจาก Ananda ที่อยากทำให้ชีวิตคนเมืองมีความสุขและดีขึ้นทุกวัน

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกเลือกที่จะออกแบบเมืองและกำหนดนโยบายที่เน้นการส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เมืองอยู่เสมอ โดยอาจไม่จำเป็นต้องลงมือทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ และช่วยให้การใช้ชีวิตของคนอื่นๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบๆ ดีขึ้นตามไปด้วย ปรากฏการณ์นี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ‘อนันดา’ (Ananda) หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แบรนด์อสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ของประเทศไทย ที่เชื่อว่า ถ้าทุกคนอยู่ให้ถูกที่ ใช้ชีวิตได้แบบไม่มีข้อจำกัด และใส่ทุกพลังเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เราก็จะช่วยกันทำให้เมืองนี้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวแคมเปญ ‘I Love Urban Life’ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองให้เกิดความสะดวกสบาย และเอื้อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีเวลาออกไปใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง​ แคมเปญนี้ไม่เพียงส่งต่อพลังบวกให้คนเมืองทุกวันและทุกเวลาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมุมมองของผู้อยู่อาศัยให้มีความสุขและสนุกไปกับการใช้ชีวิตในเมืองที่แสนวุ่นวายแห่งนี้ I Love Urban Life ชีวิตเมือง ชีวิตเรา แน่นอนว่าการที่เราจะดูแลอะไรสักอย่างให้ดี เราต้องผูกพันและเห็นความสำคัญของมันก่อน อนันดาเชื่อว่าการเปลี่ยนวิธีคิดและลองใช้ชีวิตให้มีสีสันมากขึ้น จะทำให้คนเมืองทุกคนมีความสุขได้ทุกๆ วันและทุกๆ ช่วงเวลา จึงเป็นที่มาของแคมเปญ I Love Urban Life ที่ต้องการเปลี่ยนมายด์เซตและส่งเสริมไลฟ์สไตล์ของคนเมืองผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่ 1) I […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

พาไปดู ‘เวียนนา’ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปี 2023

‘เวียนนา’ คือเมืองที่หลายคนยกให้เป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใครที่เคยดูหนังเรื่อง Before Sunrise คงพอจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก โดยเฉพาะซีนที่คู่พระนางเดินเที่ยว พูดคุยกัน และกระโดดขึ้นลงรถแทรม โดยมีความคลาสสิกของกรุงเวียนนาเป็นฉากหลัง ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย และตัวเมืองที่รายล้อมไปด้วยแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันแค่ในหนังเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความจริง ทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เวียนนาเป็นหนึ่งในต้นแบบของเมืองที่มีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี 2023 กรุงเวียนนาถูกยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจาก Economist Intelligence Unit (EIU) ยกให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก’ ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากการจัดอันดับทั้งหมด 173 เมืองทั่วโลก เวียนนาได้คะแนนสูงที่สุดถึง 98.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนความน่าอยู่ยอดเยี่ยมทั้งด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ข้อแรกที่ทำให้เวียนนากลายเป็นเมืองตัวท็อปด้านความน่าอยู่คือ ‘เสถียรภาพและความมั่นคง’ (Stability) ที่ได้ 100 คะแนนเต็ม ซึ่งความมั่นคงที่ว่านี้ประเมินจากหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าแรง ค่าเช่าบ้าน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางการเมือง […]

The Barbie Dreamhouse จะเป็นอย่างไรถ้าเราหลุดเข้าไปอยู่ในบาร์บี้แลนด์

ทุกคนน่าจะรู้จัก ‘Barbie’ ในฐานะของตุ๊กตาที่โด่งดังทั่วโลก แต่หากใครที่เป็นแฟนบาร์บี้หรือนักสะสมของเล่นย่อมรู้ดีว่า ตุ๊กตาของเล่นที่อยู่ในความทรงจำของเด็กๆ นั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่มาก บาร์บี้นั้นได้แรงบันดาลใจมาจาก Bild Lilli หรือตัวการ์ตูนในนิตยสารที่กลายมาเป็นตุ๊กตาหญิงสาวสัญชาติเยอรมนีผู้มีลุคเจ้าเล่ห์ เซ็กซี่ มีเสน่ห์น่าหลงใหล โดย ‘Ruth Handler’ ได้ซื้อมาให้ ‘Barbara’ ลูกสาวของเธอที่ชื่นชอบการเล่นตุ๊กตาเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้ใน ค.ศ. 1959 แฮนด์เลอร์เปิดบริษัท Mattel และผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ออกมาวางขาย เพื่อเพิ่มของเล่นสำหรับเด็กผู้หญิงให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน บาร์บี้ก็กลายมาเป็นภาพแทนของหญิงสาวที่มีรูปลักษณ์สวยงามตามอุดมคติในยุคก่อน จนมีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า บาร์บี้ทำให้หลายคนเป็นโรคคลั่งผอมหรือหมกมุ่นกับ Beauty Standard เกินไป แบรนด์ตุ๊กตาชื่อดังจึงพยายามลบภาพจำเหล่านั้นออกและปรับตัวตามยุคสมัย เพื่อทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วบาร์บี้คือโลกที่ทุกคนเป็นได้ทุกสิ่ง ตามคอนเซปต์ที่ว่า ‘Barbie You Can Be Anything’ จนถึงปัจจุบันบาร์บี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 63 ปี จากตุ๊กตาหญิงสาวผมบลอนด์ ตาสีฟ้า เอวคอด เลิศหรู รูปลักษณ์สมบูรณ์แบบ ถูกพัฒนาให้มีความหลากหลายทั้งเรื่องของเชื้อชาติ รูปร่าง หน้าตา สีผิว อาชีพ ฯลฯ […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

‘Rainy Day People’ มนุษย์เมืองใต้ฝนฟ้าที่ไม่เป็นใจ

“ดูท่าเหมือนฝนจะตก หยิบร่มติดตัวไปด้วยเป็นยันต์กันฝน” นี่คือประโยคที่หลายคนพูดล้อเล่นกันบ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาสภาพอากาศในป่าคอนกรีตที่ร้อนระอุอย่างกรุงเทพมหานครได้ แม้จะมีกรมอุตุนิยมวิทยาคอยพยากรณ์ให้ก็ตาม บางวันบอกว่าจะตกหนัก แต่ดันไม่หนักบริเวณที่เราอยู่ บางวันบอกว่าฟ้าจะสว่างสดใส แต่เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างกลับมีฝนตกโปรยปรายเสียอย่างนั้น การหลบฝนใต้ร่มเงาสะพาน สวมถุงกันผมชื้น หรือฝืนเดินฝ่าม่านน้ำไป เลยอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเมืองอย่างเราๆ ล้วนต้องปรับตัวและใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่คาดเดายากมานานแล้ว จนบางครั้งก็อาจลืมไปว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วหรือเปล่า ระหว่างติดฝนจนกลับบ้านไม่ได้ครั้งหนึ่ง เราจึงลองมองพฤติกรรมของ ‘มนุษย์เมืองใต้ฝน’ ที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งน่าสังเกต น่าสนใจ และน่าคิดตาม ทำให้เราอยากบันทึกเอาไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราต่างต้องเอาตัวรอดกันให้ได้ในมหานครแห่งนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Residential Solutions 6 โครงการที่อยู่อาศัยที่แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ถิ่นที่อยู่

ความเจริญและเทคโนโลยีได้เข้ามาเติมเต็มให้ผู้คนใช้ชีวิตได้สะดวกสบายและเกิดความต้องการที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของผู้คนมีการแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับ ‘ที่อยู่อาศัย’ ซึ่งเป็นความสำคัญหนึ่งในชีวิตของผู้คนที่ใช้พักผ่อนหลับนอน สถานที่เหล่านี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบเช่นกัน บ้านไม่ได้มีหน้าตาเป็นแค่หลังคาจั่วเหมือนภาพวาดตอนประถม แต่ยังมีคอนโดฯ อะพาร์ตเมนต์ หรืออาคารมากมายที่ล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบให้สวยงามแปลกตาและมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายกว่าที่ผ่านมาหลายเท่า คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้ พาทุกคนไปดู 6 ที่อยู่อาศัยจากหลายประเทศทั่วโลกที่นอกจากจะโดดเด่นเรื่องของไอเดียความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังตอบโจทย์แนวทางการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น และยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นด้วย Oxygen Eco Tower ประเทศอิตาลี เริ่มต้นเราขอพาไปที่โครงการวิลล่าลอยฟ้าในประเทศอิตาลีที่ชื่อว่า ‘Oxygen Eco Tower’ ที่ออกแบบโดยบริษัทชื่อดังในมิลานอย่าง ‘Progetto CMR’ เป็นอาคารที่อยู่อาศัย 75 ชั้น บรรจุไว้ด้วยวิลล่า 161 หลัง ในแต่ละหลังจะมีสวนส่วนตัวและสระว่ายน้ำ มีการผสมผสานทั้งเรื่องของดีไซน์ที่สง่างามและการใช้เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยยกระดับความสะดวกสบาย แนวคิดการออกแบบอาคารแห่งนี้ได้รับการพัฒนาจากแบบจำลองทางเรขาคณิตของดอกไม้ โครงการนี้จะประกอบด้วยรูปร่างวิลล่าที่แตกต่างกัน 4 แบบ ถูกวางเรียงซ้อนขึ้นไปสูงเสียดฟ้า นอกจากจะมีที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยแล้ว Oxygen Eco Tower ก็มีพื้นที่อื่นๆ อีกเพียบ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ห้องสมุด โรงเรียนอนุบาล วีไอพีเลานจ์ […]

Liuzhou Forest City จีนสร้าง ‘เมืองป่าไม้’ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ลดมลพิษทางอากาศและช่วยเพิ่มพลังงานหมุนเวียน

‘Liuzhou Forest City’ หรือ ‘เมืองป่าไม้’ เป็นโครงการนวัตกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ ทั้งยังเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติกันใหม่ เพื่อความเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยเมืองใหม่แห่งนี้จะเกิดขึ้นบริเวณตอนเหนือของจังหวัดที่อยู่ทางใต้ของประเทศจีนอย่างหลิ่วโจว (Liuzhou) ซึ่งได้บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากอิตาลี ‘Stefano Boeri Architetti’ มาร่วมออกแบบภาพเมืองในฝัน โครงการนี้เป็นการขยายขอบเขตของการทดลองที่ประสบผลสำเร็จจากโปรเจกต์แรกเมื่อปี 2014 กับต้นแบบอาคารป่าแนวตั้ง Bosco Verticale ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ที่นำเสนอและพัฒนารูปแบบที่อยู่อาศัยของเมือง เพื่อมุ่งหวังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ จากการวางผังเมืองของเทศบาลหลิ่วโจวพบว่า โครงการเมืองป่าไม้นี้จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,750,000 ตารางเมตรตามแนวแม่น้ำหลิ่วเจียง นอกจากเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนประมาณ 30,000 คนแล้ว เมืองใหม่แห่งนี้ยังเอื้อต่อสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายสำหรับพืชและต้นไม้ที่มีอยู่ในอาคารทุกหลัง โดย Liuzhou Forest City จะมีต้นไม้ประมาณ 40,000 ต้น บวกรวมกับเหล่าพืชพรรณอีกกว่าหนึ่งล้านต้นที่มีความแตกต่างทางสายพันธุ์กว่า 100 ชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ Stefano Boeri Architetti ได้ออกแบบและนำมาพัฒนาเมืองใหม่ในหลิ่วโจว เปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ผลิตความยั่งยืนออกมา เพราะความเป็นเมืองป่านี้สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 10,000 ตัน และฝุ่นละอองอนุภาคละเอียดอีก 57 ตันทุกปี […]

เมืองที่ออกแบบไม่ดี ทำให้คนขี้เกียจ กับสถาปนิกผังเมือง | Unlock the City EP.24

รู้ไหมว่าการที่คนญี่ปุ่น คนออสเตรเลีย หรือคนในแถบสแกนดิเนเวีย มีนิสัยชอบเดิน ชอบขยับตัว มีความคล่องแคล่วว่องไวนั้น ไม่ได้มีสาเหตุจากค่านิยมหรือการปลูกฝังต่อๆ กันมาเท่านั้น แต่เหตุผลสำคัญที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคือ การออกแบบเมืองที่ดี กระตุ้นให้คนเดินได้และเดินดีนั่นเอง แน่นอนว่าเมื่อเราสามารถเดินทางด้วยสองเท้าของเราได้ในเมือง ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ สั่งเดลิเวอรี หรือไม่ออกไปข้างนอก เพราะถนนหนทางที่ออกแบบมาโดยให้ความสำคัญกับผู้คน ได้รองรับสองเท้า ไม้เท้า หรือกระทั่งล้อวีลแชร์ไว้เรียบร้อยแล้ว ยังไม่นับรวมพื้นที่สาธารณะที่กลายเป็นพื้นที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแอ็กทีฟอื่นๆ อีก ใครที่อยากรู้ว่าการออกแบบเมืองทำให้คนคล่องแคล่วหรือขี้เกียจได้อย่างไร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จะมาอธิบายถึงประเด็นนี้อย่างเจาะลึกให้ฟัง ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/anrELk5j5_A Spotify : http://bit.ly/3KUMJX2 Apple Podcasts : http://bit.ly/3o9nibm Podbean : http://bit.ly/3KSdUSn

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.