Yeodamjae Library เปลี่ยนวัดร้างกลางภูเขาในกรุงโซล ให้กลายเป็นห้องสมุดเด็กและประวัติศาสตร์เฟมินิสต์

ในวันที่คนเกาหลีใต้ไม่ชอบเด็กจนพบเห็นป้าย ‘ห้ามเด็กเข้า’ หรือ ‘เขตปลอดเด็ก’ ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่สร้างความเกลียดชังต่อ ‘เฟมินิสต์’ (Feminist) และ ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ (LGBTQIA+) แต่บริเวณใจกลางภูเขา Naksan เขต Changsin-dong แขวง Jongno-gu ในเมืองโซล ยังมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่โอบกอดพวกเขาเหล่านั้นไว้ ภายใต้สถาปัตยกรรมทางศาสนา นั่นก็คือ ‘Yeodamjae Library’ Yeodamjae Library เป็นห้องสมุดสาธารณะที่แต่เดิมเคยเป็นวัดในพุทธศาสนาชื่อ Wongaksa ที่สร้างขึ้นในปี 1983 ก่อนจะถูกทิ้งร้างในปี 2003 เนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันดินสำหรับอะพาร์ตเมนต์ใกล้เคียง ทำให้ผู้คนเข้าไปในสถานที่ได้จากเส้นทางภูเขาทางเหนือที่ทอดจากภูเขา Naksan เท่านั้น จนกลายเป็นสถานที่มั่วสุมของเด็กและเยาวชน เดิมที Yeodamjae Library ถูกวางแผนให้เป็นห้องสมุดเทศบาลสำหรับเด็ก โดยสำนักงานเขต Jongno-gu แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระหว่างการเจรจา ทำให้ภายหลัง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ที่กำลังผลักดันให้มีการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมสำหรับพลเมืองหญิงในขณะนั้นได้เข้ามาสานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบ Emer-sys แผนการคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโบราณแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามและใช้งานได้อีกครั้ง ด้วยการรื้อกำแพงกันดินเดิมที่กั้นระหว่างวัดกับสวนสาธารณะออก และสร้างอาคารกระจกเชื่อมตัววัด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต โดยมีห้องสมุดเด็กและสตรีนิยมเป็นหัวใจหลัก ทำให้ภายใน […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็นร้อนในสังคมผ่านพื้นที่ถกเถียงใน ‘That Mad Podcast’ Video Podcast จาก That Mad Woman

เราเชื่อว่าคุณน่าจะเคยเห็นหรือแชร์คอนเทนต์ของเพจ That Mad Woman บนสตอรีในอินสตาแกรมมาบ้างไม่มากก็น้อย That Mad Woman คือเพจเกี่ยวกับเฟมินิสต์ หรือความเท่าเทียมทางเพศ โดยรับหน้าที่ขยายและผลักดันพื้นที่กับเสียงของเพศทุกเพศที่โดนกดขี่ คอนเทนต์ของเพจมักถ่ายทอดออกมาเป็นอัลบั้มภาพสีจัดจ้านกับข้อความบรรยายที่อ่านง่าย ประเด็นที่เพจเลือกมาทำคอนเทนต์สื่อสาร มีทั้งเรื่องค่านิยมไทยที่กดทับเพศหญิง ผู้ลี้ภัยโรฮิงญากับการค้ามนุษย์ ความเป็นพิษของสถาบันครอบครัว รสนิยมทางเพศ ไปจนถึงการบอกเล่าถ้อยคำให้กำลังใจทุกคน พูดง่ายๆ ว่าคอนเทนต์ของ That Mad Woman มีความหลากหลาย ชวนติดตาม เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่เพจนี้ทำคอนเทนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศและประเด็นสังคมอื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด That Mad Woman ได้ทำคอนเทนต์ในรูปแบบ Video Podcast ออกมา ใช้ชื่อว่า ‘That Mad Podcast’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสังคมต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ภายใต้คอนเซปต์ ‘Unmute Yourself เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็น’ ‘That Mad Podcast’ ได้ปล่อย EP.1 ออกมาแล้ว […]

ชวนปิดทองฝังลูก ‘เฟมนิมิตร (Femnimitr)’ เว็บไซต์รวมความรู้เรื่องเพศที่จะบอกเล่าว่าเรื่องเพศมีแง่มุมกว่าที่เห็น

ในโลกปัจจุบัน เรื่อง ‘เพศ’ นับว่าเป็นหนึ่งในประเด็นที่คนหยิบมาพูดถึงมากที่สุด อย่างประเทศไทยเองนอกจากมูฟเมนต์ในมิติการเมืองที่เห็นได้จากแคมเปญ การรณรงค์ และม็อบแล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็มักถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเพศกันอย่างแพร่หลาย  ทว่าขณะเดียวกันการถกเถียงเหล่านี้หลายครั้งก็เป็นการนำเรื่องเก่ามารีรันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ข้อมูลใดที่เคยอธิบายไปแล้วต้องมีคนออกมาอธิบายอีก เพราะขาดแหล่งเก็บและรวบรวมข้อมูลเรื่องเพศอย่างเป็นระบบในที่เดียว เพราะเหตุนี้จึงมีกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเรื่องเพศทำเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า ‘เฟมนิมิตร คอลเลคทีฟ’ (theread.co/femnimitr) ขึ้น จุดประสงค์คือต้องการปิดช่องว่างของข้อมูลและความรู้เรื่องเพศ ด้วยการรวบรวมข้อมูลสถิติทางเพศที่กระจัดกระจาย จัดการข้อมูล และทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นระบบ มากไปกว่าชื่อเว็บไซต์ที่เล่นกับคำว่า ‘เฟมินิสต์-เฟมนิมิตร’ ที่ชวนให้อมยิ้มเพราะคนชอบเรียกสลับกันอยู่บ่อยๆ ความครีเอทีฟยังปรากฏให้เราเห็นในกราฟิกและลูกเล่นต่างๆ ตั้งแต่หน้าเว็บไซต์ที่ประกอบด้วยส่วน Gender Knowledge Hub, Invisible Violence และ Soon ที่คอนเทนต์จะตามมาในอนาคต หลังจากไปทัวร์จักรวาลว่าด้วยเรื่องเพศของเฟมนิมิตรมา เราพบว่า Gender Knowledge Hub เป็นส่วนที่ดีและตอบโจทย์คนต้องการศึกษาด้านนี้มากๆ เพราะมีข้อมูลและความรู้เรื่องเพศทั้งแบบพื้นฐานอย่างหัวข้อเพศหลากหลาย คำศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถึงหัวข้อเพศกับมิติทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะสิทธิในที่อยู่อาศัย สุขภาพและสิทธิร่างกาย อำนาจทางการเมือง ทุนนิยม เชื้อชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีกลุ่มข้อมูลอย่างรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับเพศ เหล่าสื่อไทยที่สื่อสารเรื่องเฟมินิสต์ เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งความรู้ต่อยอดสำหรับผู้ที่สนใจด้วย ส่วนเซกชัน Invisible Violence ก็ดีไม่แพ้กัน […]

Lux Magazine นิตยสารเฟมินิสต์ที่เชื่อว่าชีวิตที่ดีเป็นของทุกคน

ถ้าพูดคำว่า ‘สตรีนิยม (Feminism)’ แล้วคุณนึกถึงอะไร? การเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ การผลักดันให้เกิดสมรสเท่าเทียมที่กำลังเห็นในไทยตอนนี้ หรือการเพิ่มอัตราส่วนของผู้หญิงในองค์กร และตำแหน่งบริหารสูงๆ?  ประเด็นเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนสังคมในแนวทางสตรีนิยมทั้งสิ้น ในโลกนี้มีนิตยสารเกี่ยวกับผู้หญิงจำนวนมากและขายดีมากเสียด้วย แต่ส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อหาด้านความสวยงามและสุขภาพ น้อยนักที่จะชวนตั้งคำถามกับสิทธิที่ผู้หญิงควรได้รับ  Lux Magazine คือนิตยสารผู้หญิงภาษาอังกฤษราย 3 เดือนที่ไม่ได้อัปเดตว่าลิปสติกสีไหนกำลังมา เทรนด์แฟชั่นแบบไหนกำลังอิน ชวนคนอ่านตั้งคำถามว่า ‘สตรีนิยม’ จะก้าวหน้าและเปิดกว้างมากขึ้นได้หรือเปล่า? และพาไปหาคำตอบผ่านบทความ บทสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษจากเรื่องราวของผู้หญิงที่น่าสนใจทั่วทุกมุมโลก  ทั้งการขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องสิทธิในที่อยู่อาศัย การทำแท้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การชุมนุมประท้วง การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานผ่านมุมมองเรื่องเพศ เหล่านี้เป็นสิ่งที่นิตยสารหน้าใหม่ไฟแรงนี้พยายามจะนำเสนอให้เห็นว่าล้วนเกี่ยวข้องกับสตรีนิยมทั้งสิ้น มีบทสนทนาตั้งแต่เรื่องหนักๆ อย่างการถกเถียงทฤษฎีสตรีนิยม ปรัชญาทางการเมือง ไปจนถึงบทสัมภาษณ์ชีวิตประจำวันของผู้หญิงทั่วไป แอ็กทิวิสต์ และคนชายขอบในสังคม เป็นนิตยสารนอกกระแสที่เปิดมุมมองและชวนตั้งคำถามกับชีวิตของผู้หญิงที่มาจากพื้นเพที่แตกต่างและหลากหลาย ชื่อนิตยสารว่า ‘Lux’ มาจากชื่อของโรซ่า ลักเซมเบิร์ก (Rosa Luxemburg) นักปรัชญาและนักปฏิวัติหญิงชาวเยอรมัน ผู้ต่อสู้ให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศคู่กับความเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันคำว่า ‘Lux’ ก็อาจตีความได้ว่ามาจาก ‘Luxury’ ที่แปลว่าความหรูหรา ดังที่นิตยสารตั้งเป้าหมายไว้ว่า ‘นอกเหนือจากการมีชีวิตไปวันๆ เราปรารถนาให้ชีวิตมีความฟุ่มเฟือย หรูหราที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างถ้วนหน้า’ หากใครสนใจ ตามอ่านทางออนไลน์และสมัครเป็นสมาชิกนิตยสารได้เลยที่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.