คนไทยกินอะไรก็ได้  แต่ทำไมดื่มนมแล้วท้องเสีย

เรามักเห็นข่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้งว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษหลังจากชิมเมนูเด็ดของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ยำ ของดอง ที่ล้วนมีของดิบ ของสด และของหมักดองเป็นส่วนประกอบหลัก หรือแม้แต่ผักบางชนิดที่มีพิษอ่อนเมื่อกินแบบดิบๆ อย่างถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือมะเขือเทศ ยังถูกนำมาประกอบอาหารอยู่บ่อยๆ โดยไม่ส่งผลอะไรกับกระเพาะอาหารของคนไทยเลยแม้แต่น้อย ดูเหมือนว่าคนไทยจะกินได้แทบทุกอย่าง แต่สิ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยแพ้คือ ‘นมจากสัตว์ทุกชนิด’ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องเสีย ซึ่งมีสาเหตุจาก ‘ภาวะแพ้แล็กโทส’ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมอาการแพ้น้ำตาลชนิดนี้ถึงเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และถ้ายังอยากดื่มนมแต่ไม่อยากปวดท้องจะมีทางไหนที่ช่วยได้บ้าง คนไทยกินอะไรก็ได้ แต่ตกม้าตายเมื่อดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นของดิบ ของสด ของดอง คนไทยสามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้มาประยุกต์จนกลายเป็นอาหารยอดฮิตที่กินเมื่อไรก็ได้ ตราบใดที่ขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดและถูกสุขลักษณะ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะท้องเสีย แต่ถ้าเป็น ‘นมสด’ ที่หน้าตาดูไม่เป็นพิษเป็นภัย กลับเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนดื่มแล้วต้องรีบมองหาห้องน้ำรอทุกครั้ง เพราะมักมีอาการตามมาอย่างปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาจจะถึงขั้นท้องเสียเลยก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจาก ‘การแพ้แล็กโทส’ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมจากสัตว์ทุกชนิด ทำให้หลายคนเลี่ยงการดื่มนมแทนที่จะเสี่ยงขับถ่ายผิดปกติ เหตุผลนี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการดื่มนมต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติอื่น โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมอนามัยเผยว่า ในปัจจุบันนี้คนไทยดื่มนมเพียง 21.5 ลิตร/คน/ปี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราการบริโภคนม ดังนี้ – เกาหลีใต้ 29.5 […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า

“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน  ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป  “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]

‘ไร่ไม่จน’ แบรนด์ท้องถิ่นราชบุรีที่เปลี่ยนภาพจำน้ำอ้อยให้เด็ด จนดังไปไกลระดับโลก

สินค้าดีๆ ในแต่ละท้องถิ่นไทยนั้นมีอยู่มากมาย “พีทีที สเตชั่น” จึงขอสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสถานีเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการหยิบยกสินค้าจากท้องถิ่นขึ้นสู่ระดับประเทศผ่าน “โครงการไทยเด็ด” อีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” ของพีทีที สเตชั่น ด้วยการสนับสนุน แบ่งปันพื้นที่โอกาส และสร้างรายได้ให้แบรนด์เด็ดของแต่ละจังหวัดได้นำเสนออัตลักษณ์ วัฒนธรรม และของดีประจำถิ่น ณ ทุก พีทีที สเตชั่น ทั่วไทย ใครที่เคยเดินห้างฯ แถวบ้าน น่าจะคุ้นกับตู้ปั่นน้ำอ้อยเกล็ดหิมะหรือน้ำอ้อยวุ้นที่มีขายอยู่แทบทุกบิ๊กซี โลตัส เห็นความสำเร็จแบบนี้ ใครจะรู้ว่าตู้ปั่นๆ นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความสำเร็จอีกขั้นที่น่าจะสร้างเป็นหนังได้อีกเรื่อง เพราะมันซ่อนการลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การตีโจทย์ธุรกิจไร่อ้อย หรือการเรียนรู้เทคโนโลยีพาสเจอร์ไรซ์ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อนของชายวัยใกล้เกษียณ  หรือใครที่เคยเข้าพีทีที สเตชั่น และเห็นสินค้าของชุมชนบนชั้นวางสินค้าโครงการไทยเด็ดหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป น่าจะพอสะดุดตากับเจ้ากระป๋องสีเหลืองอมเขียวรูปทรงคล้ายกับปล้องอ้อยอยู่บ้าง รู้ไหมว่าเบื้องหลังของขวดนี้คือการพลิกชีวิตน้ำอ้อยเกล็ดหิมะที่กำลังจะถึงทางตัน ให้กลับมามีอนาคตที่สดใสอีกครั้ง สองความคุ้นนี้คือผลผลิตของ ‘ไร่ไม่จน’ ที่เริ่มต้นจากความพยายามของ คุณประกอบ เหรียญทอง ซึ่งส่งต่อมาให้ คุณปุ๋ม-ปภัสราภรณ์ เหรียญทอง ทายาทที่ตั้งใจจะพาไร่ไม่จนไปเป็นแบรนด์ระดับโลก ถ้าใครจะดูเบาว่าจะไหวเร้อ เราขอการันตีด้วยฉายาแบรนด์น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์เจ้าแรกของไทยพ่วงเจ้าของรางวัลดีไซน์แพ็กเกจจิ้งระดับโลกเลยเอ้า ยืดอายุน้ำอ้อย ยืดอายุธุรกิจ ชาวไร่อ้อยไม่ได้มีเงินรายเดือนเหมือนอาชีพอื่น จะมีก็แต่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.