สัมผัสฮ่องกงในซีนหนังของหว่อง กาไว กับนิทรรศการภาพถ่าย โดย Wing Shya วันนี้ – 29 ม.ค. 66 ที่ HOP ศรีนครินทร์

‘ฮ่องกง’ ของคุณหน้าตาเป็นแบบไหน  เรามั่นใจว่าคำตอบของหลายๆ คนน่าจะเป็นฮ่องกงที่เป็นเมืองคนเหงา ซึ่งทั้งเศร้าและโรแมนติก เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์ของผู้กำกับ ‘Wong Kar-Wai (หว่อง กาไว)’ ใครที่ยังติดตรึงกับภาพเมืองฮ่องกงที่ฉาบไปด้วยแสงไฟสีแดง และปกคลุมไปด้วยบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกแสนโดดเดี่ยว HOP หรือ Hub Of Photography ได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายของศิลปินชาวฮ่องกง ‘Wing Shya’ ผู้ทำงานบันทึกเบื้องหลังภาพยนตร์ของผู้กำกับ หว่อง กาไว ที่เป็นดั่งสื่อกลางช่วยให้ผู้คนเข้าใจภาพของฮ่องกงในเฟรมหนังที่คุ้นเคย Wing Shya คือช่างภาพที่ถ่ายภาพเบื้องหลังภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Happy Together (1997) และ In the Mood for Love (2000) จนถูกใจผู้ชมจำนวนมาก นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายของภาพยนตร์ Eros (2004) และ 2046 (2004) อีกด้วย นอกจากจะเป็นการย้อนกลับไปรำลึกถึงภาพเมืองฮ่องกงเมื่อหลายสิบปีก่อนในความทรงจำ ที่หลายๆ คนรับรู้ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวฮ่องกงแล้ว ภาพถ่ายของ Wing Shya ยังงดงาม ดูเป็นธรรมชาติ ให้แรงบันดาลใจ […]

‘Name of the Will’ เกมจากความสิ้นหวังในฮ่องกง ที่หวังว่าสักวันประชาธิปไตยจะเบ่งบาน

‘Name of the Will’ โปรเจกต์สร้างเกมที่จำลองสถานการณ์การเมืองที่สิ้นหวังในฮ่องกง เพื่อชวนทบทวน โอบรับความรู้สึก และก้าวเดินต่อไป

ไต้หวันระแวงจีน เมื่อจีนจัดกำลังล้อมรอบเกาะ

ถ้าติดตามการเมืองภูมิภาคเอเชีย ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันไม่ค่อยจะสู้ดีมานานมากแล้ว นอกจากการพยายามควบรวมฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ของ ‘นโยบายจีนเดียว’ ใหญ่ขนาดที่ประกาศว่าถ้าคนไต้หวันต้องการอิสรเสรีก็ต้องแลกกับเลือดเนื้อและสงคราม จริงๆ แล้วไต้หวันปกครองเป็นอิสระจากจีนตั้งแต่ปี 2492 แต่ถึงอย่างนั้นรัฐบาลปักกิ่งก็มองว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตตัวเอง ซึ่งปักกิ่งตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ ‘รวม’ ไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันให้ได้ และจะแข็งข้อใช้กำลังหากจำเป็น ไม่กี่วันมานี้ กระทรวงกลาโหมไต้หวันเผยว่าแสนยานุภาพของกองกำลังติดอาวุธจีนมีศักยภาพมากขึ้น จนพอที่จะขัดขวางการป้องกันตัวเองของชาติได้ มิหนำซ้ำแผ่นดินใหญ่ยังคอยมอนิเตอร์ไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนทางฝั่งไต้หวันเองก็มีการประเมินถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ เพราะทางการปักกิ่งกำลังดำเนินการเพิ่มกิจการทางทหารล้อมเกาะ ชนิดที่ว่าจงใจมาหายใจรดต้นคอ สาเหตุที่ช่วงหลังการเมืองระหว่างสองจีนคุกรุ่น เพราะประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันอย่าง ‘ไช่ อิงเหวิน’ แสดงจุดยืนประณามความพยายามของปักกิ่งที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยของเกาะ ปักกิ่งจึงลุกขึ้นมาเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองและการทหารต่อไทเป กระทรวงกลาโหมไต้หวันเสนอต่อรัฐสภาว่าด้วยเรื่องกองทัพจีน เพราะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เพราะปี 2564 จีนเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ‘การโจมตีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง’ รวมถึงยุทธการบล็อกการสื่อสารข้ามฝั่งตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะที่ทอดยาวจากหมู่เกาะญี่ปุ่นผ่านไต้หวัน และทอดยาวลงไปที่ฟิลิปปินส์ หรือที่เรียกว่าจุดยุทธศาสตร์ First Island Chain ปัจจุบันจีนกำลังใช้ยุทธวิธีแบบออนไลน์ โดยรวบรวมกองทัพอินเทอร์เน็ตเพื่อโจมตีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้การป้องกันทางอากาศของไต้หวันเป็นอัมพาตผ่านการบังคับบัญชาทางทะเล และใช้ระบบตอบโต้การโจมตีที่มีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อเกาะเล็กๆ อย่างไต้หวัน ทางกระทรวงได้เสริมว่าจีนได้พัฒนาขีดความสามารถของตัวเองด้วยการใช้ดาวเทียม Beidou ซึ่งเป็นการตอบโต้ระบบ GPS ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ นั่นหมายความว่าปักกิ่งติดตามความเคลื่อนไหวรอบๆ ไต้หวันโดยได้รับความช่วยเหลือจากเครื่องบินสอดแนม โดรน และเรือรวบรวมข่าวกรองของจีน ในขณะที่กระทรวงกลาโหมจีนไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นของไต้หวัน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.