ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

มุสลิมกินได้ไหม ถูกหลักฮาลาลหรือเปล่า เนื้อสัตว์จากแล็บไร้ความชัดเจนทางศาสนา จนอาจชะงักทั้งอุตสาหกรรม

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงหรือ Cultured Meat กำลังเผชิญหน้ากับคำถามข้อสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม เมื่อเนื้อที่ใช้วิธีการเพาะขึ้นมาจากชิ้นส่วนของสัตว์ ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และไม่ได้ถูกเชือดตามหลักฮาลาล ผู้บริโภคกลุ่มสำคัญอย่างชาวมุสลิมหลายพันล้านคนทั่วโลก หรือศาสนาอื่นที่มีกฎด้านอาหาร จะสามารถบริโภคอาหารแห่งอนาคตนี้ได้โดยไม่ผิดหลักศาสนาหรือไม่ Eat Just สตาร์ทอัปผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง จากซานฟรานซิสโก กำลังวางเดิมพันระหว่างเทคโนโลยีกับขนบธรรมเนียมที่มีมาอย่างช้านาน เพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการป้อนโปรตีนให้กับโลก ในปี 2020 Eat Just เริ่มวางจำหน่ายนักเก็ตไก่ที่เพาะในห้องปฏิบัติการในสิงคโปร์ ก่อนจะระดมทุนเงินได้มากถึง 267 ล้านดอลลาร์ในปีต่อมา แผนของบริษัทคือมุ่งหน้าไปสู่ตลาดมุสลิม และมีแผนจะสร้างโรงงานในประเทศกาตาร์ ทว่าเมื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาแล้ว เนื้อสัตว์ชนิดใหม่นี้ยังไม่ได้รับอนุมัติ และยังไม่มีตราฮาลาลประทับอยู่บนสินค้าแต่อย่างใด Cultured Meat เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และอาจมีมูลค่าถึง 25,000 ล้านภายในเวลา 10 ปี มหาเศรษฐีของโลกทั้ง Bill Gates, Richard Branson แม้กระทั่งผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กอย่าง Eduardo Saverin และอีกมากมายกำลังลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคตและหวังให้กำไรงอกงามจากห้องแล็บ อย่างไรก็ตาม Nahdlatul Ulama องค์กรอิสลามที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า เซลล์ที่นำมาจากสัตว์ที่มีชีวิต และเพาะในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพจะอยู่ในหมวดหมู่ของซากสัตว์ ซึ่งถือว่าไม่สะอาด และมีกฎห้ามไม่ให้บริโภค แต่ประตูก็ยังไม่ได้ปิดตายโดยสิ้นเชิงเมื่อ […]

ลดมลภาวะ แต่ไม่ละความเก๋ Reviv แพลตฟอร์มซ่อมเสื้อผ้าออนไลน์ที่จะช่วยทำให้ชุดเดิมสนุกกว่าเดิม

หลายปีมานี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ หรือแม้แต่รายการใน Netflix ก็พูดถึง Fast Fashion อยู่บ่อยครั้ง โดยมักจะหยิบยกแง่มุมที่เลวร้าย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเน้นความเร็วและสู้กับเทรนด์ตลอดเวลา  แรงกระเพื่อมนี้ก็ส่งต่อไปยังแบรนด์ยักษ์ใหญ่ พวกเขาเริ่มออกไลน์เสื้อผ้าที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล คอตตอน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมประกาศความตั้งมั่นในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ซึ่งถือเป็นการขยับตัวที่น่าชื่นชม  ถึงจะอย่างนั้นก็ตามที Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ก็ยังมองว่าไม่ซื้อเลยต่างหากถึงจะดีที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน แต่ในทุกครั้งที่เสื้อผ้าถูกผลิต ก็มีการใช้ทรัพยากรและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดไปนะครับ เพราะไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเย็บต้องซ่อมเสื้อผ้าเท่านั้น ห้ามซื้อใหม่เด็ดขาด ไม่ใช่แบบนั้นเลย แต่เรื่องที่ว่าจะซื้อแบบไหนนั้นขออนุญาตเบรกไว้สักครู่ แล้วมาทำความรู้จักกับ Reviv ก่อนดีกว่า  Reviv The Fashion ภายใต้ร่มเงาไม้ ร้านรวง และที่พักของโครงการ The Yard Hostel มีออฟฟิศขนาดเล็กที่โครงสร้างหลักเป็นตู้คอนเทนเนอร์เก่า และมีเนื้อที่ไม่ถึงห้องสตูดิโอในคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง มุมห้องด้านหนึ่งมีลังกระดาษเอาไว้ใส่ตัวอย่างเสื้อผ้าที่ทดลองปักและซ่อมแซมวางไว้ ถัดมาเพียงก้าวเดินจะเป็นเก้าอี้พลาสติกที่ตั้งคู่กับโต๊ะสีขาว มีหน้าต่างบานเล็กคอยส่องแสงที่ค่อนข้างอิ่มตัวในฤดูกาลที่ฝนตกกันเป็นว่าเล่น  ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา และ ฝ้าย-ฐนิตา เขตกิตติคุณ 2 ตัวแทนจาก Co-founder ทั้งหมด 5 คน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.