Kempegowda International Airport อาคารผู้โดยสารในสวน ประเทศอินเดีย สร้างความยั่งยืนและเพิ่มธรรมชาติในสนามบิน

ปัจจุบันธุรกิจการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกโจมตีเรื่องการสร้างมลภาวะทั้งในอากาศและจากตัวสนามบินเอง นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ธุรกิจฟากนี้พยายามลดมลพิษที่ปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาด ผู้คนกลับมาเดินทางกันมากขึ้น ทางเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ก็หวังเพิ่มความจุผู้โดยสารต่อปีขึ้น 25 ล้านคน และต้องการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ โดยตระหนักถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองเบงกาลูรูจึงขยับขยายพื้นที่ ‘Kempegowda International Airport’ โดยเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารที่ 2 ซึ่งเน้นการออกแบบที่ผสมผสานกับการปลูกต้นไม้ภายในอาคาร โอบล้อมอาคารด้วยสวนภายนอก ใช้วัสดุธรรมชาติ พร้อมกับตกแต่งด้วยไม้ไผ่และกระจก โดยอาคารผู้โดยสารในสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเสียงของเมืองเบงกาลูรูในฐานะ ‘อุทยานนคร’ หรือเมืองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียว นอกจากความเป็นธรรมชาติในสนามบินแล้ว ความยั่งยืนยังเป็นจุดเด่นของที่นี่ ด้วยการรับรอง LEED Platinum และ IGBC Platinum ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวระดับสากล ว่าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีความยั่งยืนทั้งการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยโครงสร้างของอาคารมีการใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถบำบัดและนำน้ำฝนจากทั่วสนามบินมาใช้ใหม่ อาคารผู้โดยสารของ Kempegowda International Airport ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจการบิน ที่ตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการออกแบบลักษณะนี้กันมากขึ้น Sources :ArchDaily | bit.ly/3Suvno3Kempegowda International Airport Bengaluru | bit.ly/495NLsA

เปลี่ยนก้นกรองบุหรี่ให้เป็นตุ๊กตา หมอน และกระดาษ โดย Code Effort บริษัทในอินเดีย

ทุกปีทั่วโลกจะผลิตบุหรี่ถึง 6 ล้านล้านตัว โดยมีก้นกรองบุหรี่กว่า 4.5 ล้านล้านตัวต่อปีที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดไปตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะบนท้องถนน ท่อระบายน้ำ ในสวนสาธารณะ รวมไปถึงแม่น้ำ ลำคลอง และมหาสมุทร บุหรี่หนึ่งตัวประกอบด้วยยาสูบที่มีสารก่อมะเร็งกว่า 60 ชนิด เช่น ท็อกซิน, นิโคติน, เอทิลฟีนอล, สารหนู, ยาฆ่าแมลง, ทาร์, คาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนออกไซด์ เป็นต้น และก้นกรองบุหรี่หนึ่งตัวใช้เวลาย่อยสลายราว 15 ปี ดังนั้น การทิ้งก้นกรองบุหรี่ไม่เป็นที่ จะกลายเป็นขยะที่มีส่วนทำให้สารเคมีต่างๆ ตกค้าง ปนเปื้อน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตอย่างมหาศาล  องค์การอนามัยโลกประเมินว่า เกือบ 267 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ของอินเดียที่เสพยาสูบ โดยส่วนมากทิ้งก้นกรองบุหรี่เกลื่อนถนนในเมือง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ ‘Naman Gupta’ ชาวอินเดียก่อตั้งบริษัท Code Effort ในเมืองนอยดา (Noida) รัฐอุตตรประเทศ เพื่อนำขยะก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ โดยสามารถรีไซเคิลก้นบุหรี่ได้นับล้านชิ้นในแต่ละปี วิธีการคือ […]

5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

Diana Kellogg สถาปนิกนิวยอร์ก ดีไซน์โรงเรียนหญิงล้วนในอินเดียแทนพลังเด็กหญิง

ออกแบบโรงเรียนหญิงล้วนแห่งอินเดีย ที่อยากลดปัญหาจากสังคมชายเป็นใหญ่ และทำให้เด็กหญิงมีความสุข

ชีวิตอิสระที่รอคอย ‘อินเดียปลดเกษียณช้าง 20 ตัว’ ในป้อมอาเมร์ หลังถูกใช้งานหนักมานาน

อินเดียเป็นประเทศที่นำช้างมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองแค่ไทย โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่าง ‘ป้อมอาเมร์’ (Amer Fort) ที่มีช้างทำงานอยู่ในนั้นมากกว่า 100 ตัว ซึ่งพวกมันต้องทำงานหนักทุกวัน แต่กลับได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ ดังนั้น องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) จึงได้ร่วมรณรงค์ช่วยเหลือช้างที่ป้อมอาเมร์มาตลอดหลายปี จนในที่สุด กรมป่าไม้อินเดียก็สั่งปลดเกษียณช้างป่วยหนัก 20 ตัว เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากที่ทีมสัตวแพทย์ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพช้างเมื่อกลางปีที่แล้ว แล้วพบว่าสุขภาพของช้างกลุ่มนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงเรียกร้องให้ภาครัฐของอินเดียเข้าช่วยเหลือ ก่อนจะมีประกาศห้ามนำสัตว์ที่มีอาการป่วยหรือมีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์มาใช้เพื่อความบันเทิง  เหตุการณ์นี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตช้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอินเดีย และยังเป็นแบบอย่างให้อีกหลายประเทศทั่วโลกด้วย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเชื่อว่า เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยว จากการนำช้างมาเป็นพาหนะหรือใช้เพื่อความบันเทิง เป็นการส่งเสริมให้มีการดูแลช้างในรูปแบบอื่น เช่น การทำปางช้าง ซึ่งนักท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตของช้างตามธรรมชาติได้โดยไม่ทรมานพวกมัน Source : องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก | https://bit.ly/3bcmycG 

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.