จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

International Forest Stadium สนามกีฬาสีเขียวแห่งใหม่ของเมืองมิลานที่ออกแบบมาให้เหมือนชมกีฬาในป่าและใช้งานได้หลากหลาย

เมื่อปี 2019 เนื่องในวาระที่ทีมดังของมิลาน ได้แก่ ‘อินเตอร์มิลาน’ กับ ‘เอซีมิลาน’ สองทีมฟุตบอลดังของประเทศอิตาลีมาแข่งขันกัน ทาง ‘Stefano Boeri Architetti’ บริษัทสถาปนิกชื่อดังในประเทศจึงนำเสนอการสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ในประเทศที่ชื่อว่า ‘International Forest Stadium’ ขึ้นมา มาในปีนี้ บริษัทสถาปนิกชื่อดังได้เปิดเผยดีไซน์โปรเจกต์สนามกีฬาสีเขียวแห่งใหม่ในเมืองมิลานให้ทุกคนได้เห็น โดยโครงการนี้นอกจากจะอำนวยความสะดวกด้านกีฬาแล้ว ยังได้รับการออกแบบให้รวมบริการสาธารณะและกึ่งสาธารณะที่ประกอบด้วยสำนักงาน โรงแรม ศูนย์การประชุม และพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มและผสมผสานการใช้งานของพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมการใช้งานอาคารอย่างต่อเนื่อง ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของสนามกีฬาแห่งนี้คือ ‘ป่าไม้ในเมือง (Urban Forest)’ ซึ่งมีต้นไม้และพืชพันธุ์มากมายล้อมรอบสนามและอัฒจันทร์ ผสมผสานธรรมชาติและภูมิทัศน์เมืองเข้ากับประสบการณ์ชมฟุตบอล อาคารได้รับการออกแบบให้รองรับหลังคาเขียวแนวนอนขนาด 5,700 ตร.ม. ส่วนหน้าอาคารมีขนาด 7,000 ตร.ม. พร้อมต้นไม้ 3,300 ต้น รวมถึง 56,300 พุ่มไม้จากต้นไม้ 70 สายพันธุ์ คาดว่าสนามกีฬาป่าในเมืองแห่งนี้จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 162 ตันทุกปี ช่วยฟอกอากาศ ดูดซับฝุ่นละออง ลดอุณหภูมิในท้องถิ่นได้ แถมยังใช้โซลาร์เซลล์กักเก็บพลังงาน รวมถึงระบบจัดการน้ำและของเสียที่ถูกออกแบบมาอย่างดี ทำให้ที่นี่เป็นสนามกีฬาที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง […]

อิตาลีประกาศบูรณะโคลอสเซียม ด้วยการปรับปรุงพื้นให้เปิด-ปิดได้ เพื่อโชว์โครงสร้างใต้ดินของสนามแข่งในอดีต

อิตาลีประกาศแผนบูรณะโคลอสเซียม (Colosseum) สนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ใจกลางกรุงโรม โบราณสถานที่แสดงถึงความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรโรมัน การบูรณะในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงพื้นของสนามกีฬาให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเมื่อราว 2,000 ปีก่อนอีกครั้ง โดยพื้นสนามจะถูกออกแบบใหม่ให้เปิด-ปิดได้ เพื่อแสดงเส้นทางอุโมงค์ใต้ดินและห้องต่างๆ ที่เคยใช้เป็นสถานที่เก็บเสือ สิงโต ช้าง และสัตว์อื่นๆ รวมไปถึงเหล่านักรบที่รอขึ้นสังเวียน เมื่อบูรณะเสร็จสิ้น จะทำให้นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมความงามของโคลอสเซียมเหมือนยืนอยู่กลางเวทีเฉกเช่นเดียวกับเหล่านักรบในอดีต และยังใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คอนเสิร์ต หรือโรงละครได้อีกด้วย ซึ่งคาดว่าโปรเจกต์ดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในปี 2023 หลังจากที่ประกาศออกมา ก็ได้เกิดข้อถกเถียงเรื่องความเหมาะสมในการบูรณะโบราณสถาน บ้างก็ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเหมือนการดัดแปลงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเพียงเพื่อต้องการเงินจากนักท่องเที่ยว มากกว่าการคงไว้ซึ่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ส่วนอีกฝั่งของความเห็นก็ชวนเราตั้งคำถามว่า ณ เวลานี้อาคารหรือสถานที่เหล่านั้นมีบทบาทอย่างไรในสังคม และมันทำหน้าที่นั้นได้ดีที่สุดแล้วหรือยัง และการบูรณะปรับปรุงในครั้งนี้อาจจะดีเสียกว่าการปล่อยทิ้งร้างให้เสียหายตามกาลเวลา ความเห็นต่างเหล่านี้ถือเป็นประเด็นที่ทำให้เรากลับมามองว่า การบูรณะหรือดัดแปลงโบราณสถานนั้นถือเป็นการทำลายหรือไม่ และทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไร Sources : BBC | https://bbc.in/39Sw4jfDesignboom | http://bit.ly/3qIdWiR

ออกสำรวจเมืองกำแพงเก่า ‘Dubrovnik’ ต้นแบบนครหลวงแห่งซีรีส์ ‘Game of Thrones’

“เราเชื่อว่าการเดินทางเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทุกครั้งที่ก้าวแรกของการเดินทางเริ่มต้นขึ้น ก็เหมือนกับโลกใบใหม่ของเรากำลังเกิดขึ้นเช่นกัน” เราชื่อ ‘วี’ อาศัยและทำงานอยู่ที่มิลาน ประเทศอิตาลีมาประมาณ 3 ปีแล้ว ชอบออกไปนู่นไปนี่ เสพงานศิลป์ ชมเมืองที่มีสถาปัตยกรรมสวยๆ ซึ่งจุดหมายที่เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักครั้งนี้ เกิดจากแรงบันดาลใจหลังได้ดูซีรีส์ ‘Game of Thrones’ แบบมาราธอน เรียกว่าอินมากๆ และพอดีกับหน้าร้อนของที่นี่มีวันหยุดยาว ที่ให้ทุกคนออกไปพักผ่อนหย่อนใจกันถึง 1 อาทิตย์เต็ม ทำให้เรากับเพื่อนๆ อีก 3 คน ไม่รีรอที่จะแพ็กกระเป๋า หอบเอาแรงบันดาลใจออกเดินทางไปยังเมือง ‘ดูบรอฟนิก’ ประเทศโครเอเชีย อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ถ่ายทำนครหลวง King’s Landing ‘ดูบรอฟนิก (Dubrovnik)’ หรือที่รู้จักด้วยสมญานาม ‘ไข่มุกแห่งทะเลเอเดรียติก’ หรือ ‘The Pearl of the Adriatic’ ซึ่งที่นี่เป็นเมืองท่า เจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมานานนับพันปี แถมได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งของยูเนสโกด้วย ซึ่งการเดินทางมาเยือนดูบรอฟนิกถือว่าสะดวกสบายมาก เพราะมีสนามบินนานาชาติตั้งอยู่ที่นี่ แต่สำหรับใครที่อยากชิลๆ ซึมซับบรรยากาศของทะเลเอเดรียติก ก็สามารถเดินทางด้วยเรือยอช์ตหรือเรือเฟอร์รี จากท่าเรือเมือง ‘บารี (Bari)’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.