PokPok บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่ทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหาของการกินของอร่อย

เคยไหม อยากกินอาหารจากละแวกอื่น แต่เจอค่าส่งแพ้งแพงซะจนยอมใจ หรือบางทีฮึดสู้ว่าจ่ายไหวก็เจอประโยคทำร้ายจิตใจว่าบ้านไกลอยู่นอกพื้นที่จัดส่ง เราเข้าใจว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากชวนมารู้จักกับ ‘PokPok’ บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่จะทำให้ความฝันของเหล่านักกินเป็นจริง Food Delivery ที่บ้านไกลแค่ไหนก็ไม่มีค่าส่งมาเป็นปัญหา PokPok คือบริการส่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ขยายขอบเขตของการรับหิ้ว ไม่ว่าบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นทางที่ PokPok จัดสรรไว้ก็สามารถอร่อยกับอาหารจากร้านดังได้หมด ถึงแม้ตัวจะอยู่รังสิต แต่ถ้าอยากกินร้านเด็ดจากเยาวราชก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ PokPok ทำหน้าที่เป็นฟู้ดคอร์ตเคลื่อนที่ เสิร์ฟอาหารไปหาทุกคนโดยไม่มีค่าส่ง ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ริเริ่ม PokPok เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากเขาเห็นเพนพอยต์ของ Food Delivery “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนที่ไม่สั่งเดลิเวอรีเลย เพราะเสียดายค่าส่ง มันแพง เพิ่งมาใช้ช่วงโควิด-19 นี่เอง เพราะเลี่ยงไม่ได้ เรามองว่าค่าส่งนี่แหละคือปัญหา ระยะทางใกล้ๆ ก็บวกไปเยอะแล้ว ระยะทางไกลไม่ต้องพูดถึง “เราพยายามคิดว่าจะมีทางไหนบ้างที่จะส่งอาหารได้โดยที่ไม่มีค่าส่ง จนมาได้ไอเดียจากว่า ผมเป็นคนที่อยู่บางนาแต่บางทีก็อยากกินอาหารจากเยาวราช เราแค่คิดว่าแล้วคนในคอนโดฯ จะอยากกินเหมือนเราไหม สมมติมีหนึ่งพันคน อย่างน้อยอาจจะมียี่สิบคนที่อยากกิน ถ้าเราประกาศในคอนโดฯ ว่าตอนนี้เราอยู่เยาวราชนะ อยากกินอะไรสั่งมา จะมีคนสั่งไหม” นายเริ่มต้นทดสอบไอเดียนั้นผ่านกรุ๊ปไลน์คอนโดฯ ของตัวเอง […]

เปิดผลสำรวจ คนไทยส่วนใหญ่อยากลดการกินเนื้อสัตว์ใน 2 ปีนี้ หันมาสนใจโปรตีนทางเลือกมากขึ้น

จากการที่ทั่วโลกรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คนไทยเริ่มมองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ ซึ่งหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ ทิศทางการบริโภคอาหารของคนไทยที่เป็นไปในทางต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในสองปี ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพสัตว์ อ้างอิงจากงานวิจัยจาก Madre Brava ที่ทำการสำรวจแนวโน้มและทิศทางการบริโภคอาหารของผู้บริโภคไทยมากกว่า 1,500 คน แม้คนไทยจำนวนมากจะอยากกินเนื้อสัตว์น้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะบริโภคโปรตีนน้อยลง เพียงแต่หันไปบริโภคโปรตีนจากพืช (Plant-based Protein) แทน ซึ่งมีทั้งโปรตีนจากพืชที่ไม่แปรรูปหรือแปรรูปเบื้องต้น เช่น เห็ด ถั่ว เต้าหู้ และโปรตีนทางเลือก (Alternative Proteins) เช่น ผลิตภัณฑ์ลักษณะเนื้อที่ทำจากพืช (Plant-based Meat) เป็นต้น แม้ว่าผู้บริโภคจะตระหนักถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่โปรตีนทางเลือกยังถูกมองว่าราคาแพง ผ่านกระบวนการแปรรูปสูง และเข้าถึงยาก ทำให้ Madre Brava ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สร้างองค์ความรู้และผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีความยั่งยืน เสนอแนะว่า ภาครัฐและเอกชนจะต้องแก้ไขปรับปรุงข้อจำกัดต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การบริโภคที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนขึ้น พร้อมทั้งสร้างโอกาสการเติบโตของภาคการผลิตอาหารของไทย เนื่องจากปัจจุบันโปรตีนจากพืชกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และการเจรจาล่าสุดที่ COP28 ได้มีการบรรจุวาระเรื่องอาหารเข้ามาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งในอนาคตการผลิตอาหารน่าจะมีบทบาทมากขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอีกไม่นานภาคเกษตรจะกลายเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรป ตลาดส่งออกของไทยจำนวนมากจะเริ่มมีมาตรการทางการค้าในเรื่องนี้ ประเด็นสำคัญคือ เมื่อถึงเวลานั้นเราจะทำอย่างไรเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้ประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนผ่านนี้ด้วย Source […]

FYI

ชวนคนเมืองดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ด้วยอาหารดูแลสุขภาพเชิงรุก เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการกิน ‘หมูมีโอเมก้า 3’

ยุคนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจสุขภาพและใช้ชีวิตอย่างสมดุลมากขึ้น เพราะทนไม่ไหวกับสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จากการทำงานหนัก การผจญรถติดวันละหลายชั่วโมง รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนและมลพิษรอบตัว แม้จะมีหลายวิธีที่คนเมืองอย่างเราๆ สามารถเปลี่ยนสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงขึ้นได้ แต่หนึ่งในแนวทางที่ง่ายที่สุดคือการปรับพฤติกรรมการกินของตัวเอง ซึ่ง Urban Creature มีทริกแนะนำที่ทำได้ง่ายๆ เพียงเลือกกินเนื้อหมูมีโอเมก้า 3 ที่เต็มไปด้วยประโยชน์ในมื้ออาหารของเราทุกวัน ก็สามารถบำรุงร่างกายของเราให้เฮลตี้ เพราะในปัจจุบันสังคมไทยมีอัตราการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นในคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสัดส่วนผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases : NCDs) เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคเหล่านี้คือ พฤติกรรมการกินของเรานั่นเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนทั่วโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่ายทั้งภาคการศึกษาและเอกชน จึงร่วมกันจัด การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการศึกษา เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายน 2566 โดยภายในงานมีผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม Urban Creature ได้สรุปความรู้น่าสนใจจากสัมมนาที่เหมาะกับคนเมืองยุคใหม่ภายใต้หัวข้อ ‘การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี’ […]

คนไทยกินอะไรก็ได้  แต่ทำไมดื่มนมแล้วท้องเสีย

เรามักเห็นข่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้งว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษหลังจากชิมเมนูเด็ดของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ยำ ของดอง ที่ล้วนมีของดิบ ของสด และของหมักดองเป็นส่วนประกอบหลัก หรือแม้แต่ผักบางชนิดที่มีพิษอ่อนเมื่อกินแบบดิบๆ อย่างถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือมะเขือเทศ ยังถูกนำมาประกอบอาหารอยู่บ่อยๆ โดยไม่ส่งผลอะไรกับกระเพาะอาหารของคนไทยเลยแม้แต่น้อย ดูเหมือนว่าคนไทยจะกินได้แทบทุกอย่าง แต่สิ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยแพ้คือ ‘นมจากสัตว์ทุกชนิด’ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องเสีย ซึ่งมีสาเหตุจาก ‘ภาวะแพ้แล็กโทส’ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมอาการแพ้น้ำตาลชนิดนี้ถึงเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และถ้ายังอยากดื่มนมแต่ไม่อยากปวดท้องจะมีทางไหนที่ช่วยได้บ้าง คนไทยกินอะไรก็ได้ แต่ตกม้าตายเมื่อดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นของดิบ ของสด ของดอง คนไทยสามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้มาประยุกต์จนกลายเป็นอาหารยอดฮิตที่กินเมื่อไรก็ได้ ตราบใดที่ขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดและถูกสุขลักษณะ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะท้องเสีย แต่ถ้าเป็น ‘นมสด’ ที่หน้าตาดูไม่เป็นพิษเป็นภัย กลับเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนดื่มแล้วต้องรีบมองหาห้องน้ำรอทุกครั้ง เพราะมักมีอาการตามมาอย่างปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาจจะถึงขั้นท้องเสียเลยก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจาก ‘การแพ้แล็กโทส’ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมจากสัตว์ทุกชนิด ทำให้หลายคนเลี่ยงการดื่มนมแทนที่จะเสี่ยงขับถ่ายผิดปกติ เหตุผลนี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการดื่มนมต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติอื่น โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมอนามัยเผยว่า ในปัจจุบันนี้คนไทยดื่มนมเพียง 21.5 ลิตร/คน/ปี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราการบริโภคนม ดังนี้ – เกาหลีใต้ 29.5 […]

Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน

วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]

ที่มาอาหารกระป๋อง | Now You Know

เวลาเราดูหนังหรือซีรีส์ที่พูดถึงวันสิ้นโลก วันที่โลกแตก ไม่เหลืออะไรให้มนุษย์ประทังชีวิต ตัวละครในเรื่องมักจะมีเสบียงสำคัญอย่าง ‘อาหารกระป๋อง’ ที่เปิดกินได้ทุกสถานการณ์ แถมยังอยู่ได้นาน ถึงขั้นโลกแตก (ในหนัง) ก็ยังกินได้ .Now You Know เอพิโสดนี้ พาทุกคนไปรู้จักที่มาอาหารกระป๋อง ใครคือผู้ริเริ่มวิธีการถนอมอาหารโดยการเอาไปใส่ในกระป๋อง แล้วที่ว่าอาหารประเภทนี้เก็บรักษาได้นาน แท้จริงแล้วอยู่ได้นานแค่ไหน

โอม อาหารจงอร่อยขึ้น! ‘SpoonTEK’ ช้อนกินข้าวไฟฟ้า เปลี่ยนอาหารรสชาติคลีนให้กินอร่อย

แม้จะไม่มีน้องเมดมาร่ายเวทย์ ‘โอม จงอร่อยขึ้น’ ให้อาหาร แต่เราก็สามารถกินอาหารที่อร่อยขึ้นได้ราวกับมีใครมาร่ายเวทมนตร์ ด้วยช้อนกินข้าวไฟฟ้า ‘SpoonTEK’ ช้อนกินข้าวไฟฟ้าแบบพกพาที่มีน้ำหนักเบา คือผลงานการออกแบบของสองพ่อลูก ‘Ken Davidov’ และ ‘Cameron Davidov’ ที่ทำงานร่วมกันในอุตสาหกรรมอาหารมาตั้งแต่ปี 1999 จนทำยอดขายได้ถล่มทลายกว่าหนึ่งล้านบาทในระยะเวลาไม่ถึงเดือนหลังเปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ SpoonTEK ทำให้อาหารรสชาติดีขึ้นด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ที่ไปกระตุ้นประสาทสัมผัสของลิ้นให้รับรสชาติได้ดีขึ้น ทำให้อาหารที่เรากินผ่านช้อนมีความนุ่มนวลและรสชาติเอร็ดอร่อย จากการทดสอบในคลินิกทางการแพทย์พบว่า SpoonTEK ช่วยปรับปรุงรสชาติของอาหารโซเดียมต่ำให้มีรสชาติเค็มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า ทำให้ผู้บริโภคดื่มด่ำไปกับรสชาติที่อร่อยถูกใจได้ แม้จะอยู่ในช่วงควบคุมอาหาร ทำให้เหมาะสำหรับผู้บริโภคอาหารโซเดียมต่ำที่ต้องการตัวช่วยทำให้รสชาติและสัมผัสอาหารดีขึ้น โดยจะใช้งานได้เป็นอย่างดีเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารประเภทซุป ไอศกรีม และโยเกิร์ต ใครที่สนใจ สั่งซื้อช้อนไฟฟ้า SpoonTEK ได้ที่เว็บไซต์ spoontek.com/products/spoontek-the-spoon-that-elevates-taste ในราคา 29 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 950 บาท) และในอนาคตคู่พ่อลูกยังมีแพลนเปิดตัวชามและตะเกียบไฟฟ้าด้วย Sources : Designboom | t.ly/0INnIndiegogo | t.ly/49lBSpoonTEK | spoontek.com

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้

เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]

ลิ้มรสอาหารฝรั่งเศสในธีมคริสต์มาสกับเทศกาล Good France 2022 ที่ 25 ร้านอาหารทั่วไทย วันนี้ – 4 ธ.ค. 65

ช่วงสุดสัปดาห์นี้ ใครที่กำลังมองหามื้ออาหารดีๆ เพื่อเฉลิมฉลองเดือนแห่งเทศกาลแสนอบอุ่นส่งท้ายปี เราอยากชวนทุกคนไปร่วมงาน Good France : Christmas Edition ที่ยกอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ มาเสิร์ฟให้ผู้ที่หลงใหลในอาหารและคนที่รักประเทศฝรั่งเศสได้ชิมถึงที่ โดยปี 2022 นี้ถือเป็นครั้งที่ 7 แล้วที่ทางสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยได้จัดเทศกาลอาหารฝรั่งเศสครั้งใหญ่ และยังชวนเชฟไทยและต่างชาติจาก 25 ร้านอาหาร 5 จังหวัดทั่วไทย มาร่วมกันปรุงเมนูฝรั่งเศสรสชาติต้นตำรับให้ชาวไทยได้สัมผัสประสบการณ์ความอร่อยและฉลองเทศกาลแห่งความสุขไปพร้อมๆ กัน ความพิเศษของเทศกาล Good France ในปีนี้คือธีมคริสต์มาสในแบบฉบับฝรั่งเศส ที่พาร์ตเนอร์ร้านอาหารพร้อมเสิร์ฟอาหารรสเลิศคุณภาพดีให้ผู้ร่วมงานได้เอนจอยกันในช่วงสิ้นปี มีตั้งแต่อาหารมื้อหลักอย่างสเต๊ก ขาเป็ดตุ๋นน้ำมัน เมนูเบาๆ อย่างชีสบอร์ด จนถึงของหวานสุดคลาสสิกอย่างช็อกโกแลตฟอนดันต์และแครมบรูว์เล ร่วมเทศกาลอาหารฝรั่งเศส Good France : Christmas Edition ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 ธันวาคม 2565 โดยเข้าไปดูเมนูและแผนที่ 25 ร้านอาหารที่ t.ly/LC9l และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ La Fête

We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่อยากให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทยเติบโตได้ โดยไม่ต้องง้ออีเวนต์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและโรคระบาดมากที่สุดคือธุรกิจ F&B (Food and Beverage) ความพยายามเอาตัวรอดในยุคโควิดทำให้เราได้เห็นการมาถึงของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ Disrupt ธุรกิจอาหารแบบเดิมๆ เจ้าของร้านที่สร้างรายได้จากของกินต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ และหนึ่งในการปรับตัวที่น่าจับตามองไม่น้อย คือธุรกิจรถเข็นอาหารหรือ Food Truck  ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดร้านอาหาร และความสามารถในการย้ายร้านไปทดลองขายได้หลายพื้นที่ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนหันมาเอาดีทางนี้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากจำนวนธุรกิจอาหารบนฟู้ดทรักที่เปิดใหม่ไปทั่วมุมเมือง แต่เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันหน้าใหม่เข้ามาในตลาด หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดไม่แพ้กันคือตลาดฟู้ดทรักมีความเป็นคอขวด เติบโตช้า เพราะชีวิตของผู้ประกอบการฟู้ดทรักมักฝากไว้กับอีเวนต์ ถ้าไม่มีออร์แกไนเซอร์ชวนไปออกอีเวนต์ที่ไหน พวกเขาก็ไม่มีรายได้ มากกว่านั้น ตลาดฟู้ดทรักในไทยยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่มีคนแจกแจงงานและสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ‘วินิจ ลิ่มเจริญ’ มองเห็น Pain Point นี้ จึงก่อตั้ง We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่ช่วยบริหาร จัดคิว และบอกต่อพื้นที่การขายให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์มของเขาไม่ได้ช่วยประชาสัมพันธ์พื้นที่ขายของเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างพื้นที่ใหม่ๆ จากพื้นที่ที่ใครหลายคนไม่เหลียวแล เพราะคิดว่าไม่เหมาะกับการขายของ เช่น ปั๊มน้ำมันหรือสวนสาธารณะในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับแวดวงผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ให้ ‘อยู่ได้’ โดยชีวิตไม่ต้องขึ้นอยู่กับอีเวนต์เลย เรานัดพบวินิจในวันฝนพรำ ท่ามกลางฟู้ดทรักนับสิบที่จอดเรียงรายกันอยู่ในลานกว้างริมน้ำของห้างฯ ICONSIAM […]

วัตถุดิบนิยม เปลี่ยนเนื้อมะพร้าวเหลือใช้ให้เป็นโยเกิร์ตรักษาภูมิแพ้และซึมเศร้า

นิยามคำว่าอาหารที่ดีของคุณเป็นแบบไหน เป็นอาหารที่อร่อย ให้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน หรือทำมาจากวัตถุดิบหายาก สำหรับ ‘วีด้า-ภาวิดา กฤตศรัณย์’ อาหารที่ดีของเธอคืออาหารที่ดีต่อตัวเธอ และต้องดีต่อโลก นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอก่อตั้ง วัตถุดิบนิยม แบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพที่อยากสื่อสารให้ทุกคนได้เข้าใจเรื่องขยะอาหาร และเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างคนเมืองกับเกษตรกร ให้มาแชร์ความรู้และวัตถุดิบกันแบบที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ส่วนผู้บริโภคได้ความรู้และของกินกลับไป สินค้าตัวแรกของวัตถุดิบนิยมอย่าง ‘ไบโคเกิร์ต’ ก็มีคอนเซปต์ที่น่าสนใจมาก เพราะนอกจากจะเป็นโยเกิร์ต Plant-based ที่ทำจากเนื้อมะพร้าวเหลือทิ้งจากฟาร์มที่ราชบุรี ผสมรวมกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ซึ่งช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ซึมเศร้า และยังเป็นโยเกิร์ตที่ลูกค้าต้องลุ้นทุกครั้ง เพราะรสชาติจะเปลี่ยนไปทุกกระปุก! เช้าวันอากาศดี เรานัดพบกับภาวิดาเพื่อคุยกันถึงเรื่องราวเบื้องหลังธุรกิจของวัตถุดิบนิยม และความตั้งใจในการผลักดันแบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพจากกรุงเทพฯ ที่มีน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรในราชบุรีเป็นส่วนประกอบ กรุงเทพฯ ย้อนกลับไปยังจุดแรกเริ่ม วัตถุดิบนิยม ประกอบสร้างขึ้นจากความชอบในวิถีออร์แกนิกและเงื่อนไขด้านสุขภาพของภาวิดา อาจเพราะเติบโตในครอบครัวยากจนถึงขนาดต้องซื้อบะหมี่ชามเดียวมาแบ่งแม่และพี่น้องกิน ภาวิดาจึงรู้จักและสำนึกในคุณค่าของอาหารเสมอมา แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอเห็นความสำคัญของคำว่าออร์แกนิก เกิดขึ้นตอนไปเรียนปริญญาโทที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย  ราวปี 2537 ในยุคที่คำว่าออร์แกนิกยังไม่แพร่หลาย ผู้คนที่นั่นสอนให้ภาวิดาเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งผ่านสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน คนที่เติบโตมากับการใช้ถุงพลาสติก ถูกสอนให้ล้างวัตถุดิบทุกอย่างก่อนนำมาปรุงอาหาร ภาวิดาประหลาดใจกับภาพการใช้ถุงตาข่ายของชาวออสซี่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการหยิบผักผลไม้จากบนเชลฟ์ให้เด็กๆ กินได้โดยไม่ล้าง เพราะพวกเขามั่นใจว่ามันปลอดสารเคมี ภาวิดาซึมซับภาพเหล่านั้นเป็นประจำ รู้ตัวอีกทีคำว่าออร์แกนิกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างแยกไม่ออก หลังจากเรียนจบและกลับไทย เธอเข้าทำงานในฝ่ายการตลาดให้สื่อเว็บไซต์แห่งหนึ่งจนได้ขึ้นเป็นระดับผู้บริหาร […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.