EAT

กินอย่างไร ให้เป็นมิตรต่อท้องทะเล

ในขณะที่เรากังวลว่าอาหารทะเลที่ซื้อมาจากตลาดจะสะอาดปลอดภัยดีหรือไม่ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 รอบนี้ เราได้รู้จักกับ ‘Fisherfolk’ หรือ ‘ร้านคนจับปลา’ ร้านค้าของกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันก่อตั้งกิจการขายปลาและอาหารทะเลของตนเอง ซึ่งเรียกความมั่นใจให้เราได้ว่าสะอาด ปลอดภัยแน่นอน เมื่อมีโอกาสพวกเขาจึงพากันมาเปิดตลาดที่งานเทศกาลอาหารดี(ย์) ประจำปี ‘มหาส้มมุทร’ ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อซอย 3 เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของร้านคนจับปลาไม่เพียงแค่ขายอาหารทะเลสด สะอาด ปลอดสารเคมีในกระบวนการแช่แข็งหรือแปรรูปเท่านั้น แต่สินค้าในร้านสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปว่าใช้เครื่องมืออะไรในการจับ มีวิธีเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้มาอย่างไร อีกทั้งเบื้องหลังของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ทำประมงอย่างเดียว แต่ยังสวมบทบาทเป็นนักอนุรักษ์และฟื้นฟูท้องทะเลไทยควบคู่ไปด้วย “ทุกหนึ่งปีนอกจากจะปันหุ้นให้สมาชิกในกลุ่มแล้ว เราจะแบ่งกำไรส่วนหนึ่งกลับไปฟื้นฟูดูแลทะเลในรูปแบบของบ้านปลา ซึ่งหมู่บ้านเราจะทำกันปีละ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะทิ้งลงทะเลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้” คำบอกเล่าของคุณลุงจากร้านคนจับปลา จ.ประจวบคีรีขันธ์  และเนื่องจากร้านคนจับปลาเป็นศูนย์กลางในการรับและกระจายสินค้าที่ส่งตรงมาจากกลุ่มประมง จึงมีสมาชิกในเครือข่ายหลายจังหวัด หนึ่งในนั้นคือหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี “หมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ของเรา นอกจากไม่ใช้เครื่องมือที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้ว ในทุกๆ ปีคนในหมู่บ้านจะรวมตัวกันจัดเตรียมอุปกรณ์บ้านปลา เพื่อทำที่อยู่อาศัยให้สัตว์น้ำ ก่อนขนใส่เรือไปวางตามจุดต่างๆ ในทะเลใกล้ๆ กับแนวปะการังเทียม” คุณป้าจากหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์เล่าให้เราฟัง การได้รู้จักและพูดคุยกับสมาชิกร้านคนจับปลาวันนั้น นำพาให้เรามานั่งอยู่กลางวงสนทนาร่วมพูดคุยเรื่องระบบอาหารยั่งยืน รู้ที่มา เข้าใจเส้นทางอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค กับ ‘พี่แท็ป-วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.