ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ

‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]

สามนักออกแบบรุ่นใหม่จากเวที ASDA 2023 ที่เปลี่ยนภาพห้องน้ำในบ้านให้ตอบโจทย์กับคนทุกช่วงวัย

เมื่อพูดถึงห้องน้ำภายในบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นในหัวไว ๆ มักเป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก หน้าตาธรรมดา ๆ ดูเป็นห้องที่เหมาะแก่การใช้งานสำหรับทำธุระส่วนตัวและชำระล้างทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น แต่ไม่ใช่สำหรับ ‘American Standard Design Award (ASDA) 2023’ เวทีการแข่งขันประกวดออกแบบพื้นที่ใช้สอยในห้องน้ำ เพราะมีความสร้างสรรค์มากกว่าห้องน้ำทั่วไปที่เราคุ้นเคย ASDA จัดขึ้นโดย ‘ลิกซิล’ ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัย โดยเวทีนี้เป็นเวทีที่มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ และเปิดพื้นที่ให้นักออกแบบรุ่นใหม่จากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แสดงความสามารถในการออกแบบผลงานที่ตอบโจทย์และใช้งานได้จริง ผ่านส่วนเล็ก ๆ ของพื้นที่อยู่อาศัยที่คนหลายช่วงวัยใช้งานร่วมกัน ‘A Home to Love, A Space for Everyone’ คือโจทย์การประกวดในปีนี้ที่เปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบได้จินตนาการ สร้างสรรค์ และดีไซน์ภาพห้องน้ำของแต่ละคน โดยต้องการสะท้อนให้เห็นความเกี่ยวข้องของการใช้ชีวิตร่วมกันของคนหลายช่วงวัย กับการออกแบบที่จะช่วยสร้างสมดุลทั้งด้านสุขอนามัย การยศาสตร์ ความปลอดภัย และความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก พ่อแม่ ไปจนถึงปู่ย่าตายาย ที่อาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน การออกแบบห้องน้ำที่ดีจะช่วยรองรับคนทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม และเป็นพื้นที่ที่สะท้อนการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในบ้านได้อย่างไร Urban Creature พาไปคุยกับสามนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลจากเวที ASDA 2023 จากการออกแบบห้องน้ำที่ตอบโจทย์ตามความต้องการอย่างแท้จริง ห้องน้ำที่เป็นมากกว่าห้องน้ำ การแข่งขัน […]

สำรวจสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไทย-ไต้หวัน ในนิทรรศการ ‘Infinity Ground’ วันที่ 18 ก.ค. – 6 ส.ค. ที่หอศิลปฯ (BACC) 

นอกจากขึ้นชื่อเรื่องอาหารและศิลปวัฒนธรรมแล้ว ไต้หวันยังโดดเด่นในด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมอาคารสิ่งก่อสร้างไม่แพ้กัน หากใครเคยไปเยือนสักครั้งคงต้องสนุกกับการเดินชมบ้านเมืองของประเทศนี้แน่ๆ ‘Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition’ คืองานนิทรรศการที่รวบรวมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันไว้ในที่เดียว ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับคณะสายออกแบบจาก 4 มหาวิทยาลัยในไทย ถือเป็นครั้งแรกของปีที่มีการจัดแสดงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมจาก 8 บริษัทสถาปนิก ทั้งจากประเทศไทยและไต้หวัน ผ่านมุมมองของ ‘การเลื่อนไหล’ และ ‘การรวมตัว’ ของโลก เพื่อเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาสังคมที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ภายในงาน Infinity Ground แบ่งการนำเสนอสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ ‘การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน’ (Ground Exchanges) และ ‘ความรู้สึกจากผืนดิน’ (Feeling Grounds) ที่แสดงวิถีชีวิตใหม่ของมนุษย์และธรรมชาติผ่านสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานร่วมกัน เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมหาคำตอบถึงอนาคตของหน้าที่สถาปัตยกรรมต่อผืนดินที่ตั้งอยู่ รวมถึงมองหาการบรรจบกันของสถาปัตยกรรมที่สนองต่อบริบทของถิ่นที่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีเสวนาและการบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตย์อีกด้วย ใครที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ forms.gle/C8T22yDZ8dXVaEEu5 […]

บอกลาโพสต์อิทติดเต็มกำแพง Overture แป้นพิมพ์ที่มีฟังก์ชันจดบันทึกได้ ทำงานสะดวก ลดการใช้กระดาษฟุ่มเฟือย

แม้ว่าทุกวันนี้จะมีการพัฒนาอุปกรณ์หรือโปรแกรมสำหรับจดบันทึกข้อมูลที่เอื้อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทุกครั้งที่มีเรื่องด่วนระหว่างประชุมหรือคุยโทรศัพท์ ชาวออฟฟิศส่วนใหญ่คงเคยชินกับการคว้าเศษกระดาษหรือโพสต์อิทใกล้ตัวเพื่อบันทึกข้อความสำคัญให้ทันท่วงที ทว่าการใช้กระดาษถือเป็นต้นทุนที่สูงสำหรับหลายออฟฟิศ เพราะต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านี้เป็นประจำทุกเดือน หลังจากใช้งานเสร็จ กระดาษเหล่านี้ยังถูกขยำทิ้งหรือกลายเป็นขยะกองโตที่ทำให้โต๊ะทำงานดูรกและสกปรก ที่สำคัญ การใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลืองยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทางหนึ่ง เนื่องจากกระดาษส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากทรัพยากรไม้ เพราะเหตุนี้ นักออกแบบอย่าง Jeong Woo Kim จึงปิ๊งไอเดียที่จะผสมผสานการจดบันทึกข้อมูลและระบบดิจิทัลเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็น ‘Overture’ แป้นพิมพ์ที่มีฟังก์ชันจดบันทึกข้อมูลในตัว ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานจดข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้กระดาษแม้แต่ใบเดียว Overture คือคีย์บอร์ดที่มีดีไซน์เรียบง่าย มีแป้นพิมพ์ตัวอักษรและแป้นพิมพ์ตัวเลขเหมือนคีย์บอร์ดทั่วๆ ไป แต่เมื่อไหร่ที่ต้องการจดบันทึกข้อมูล ผู้ใช้งานสามารถเปิดแป้นพิมพ์ตัวเลขขึ้นมา ก็จะพบกับ Notepad สำหรับจดบันทึกทันที โดยข้อความที่จดลงบน Notepad ยังจะถูกบันทึกและแปลงเป็นไฟล์ภาพในคอมพิวเตอร์ให้อัตโนมัติด้วย Overture มีให้เลือกทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีกากี สีกรมท่า และสีงาช้าง นอกจากจะเป็นแป้นพิมพ์ที่สวยและน่าใช้งานแล้ว ฟังก์ชันของเจ้า Overture ยังถูกพัฒนาอย่างรอบคอบเพื่อแก้ Pain Point ของชาวออฟฟิศ และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย Source : DesignWanted | t.ly/shDk

‘Design & Politics’ งานดีไซน์เพื่อการเลือกตั้งจากไต้หวัน ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

การเลือกตั้งที่ไทยจบลงไปแล้วกับชัยชนะของฝั่งประชาธิปไตย แต่หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจแต่เราอาจมองข้ามไปคือ การสร้างสรรค์ดีไซน์หรือฮาวทูต่างๆ ที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจการเลือกตั้งได้อย่างชัดเจนขึ้น เพราะก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจในกติกาหรือรายละเอียดการเลือกตั้ง จนกลายเป็นผลเสียตามมา Urban Creature ขอพามาดูตัวอย่างงานออกแบบการเมืองของประเทศไต้หวัน ที่พยายามใช้งานดีไซน์ทำให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น จาก ‘Golden Pin Design Award’ งานรางวัลการออกแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในตลาดการออกแบบแห่งไต้หวัน จีน มาเก๊า และฮ่องกง ที่ต้องการเปิดโอกาสและสนับสนุนงานออกแบบหลากหลายประเภทจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ไต้หวันมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกๆ 4 ปี โดยจัดสลับกันระหว่างสองการเลือกตั้งนี้ในทุกๆ 2 ปี แน่นอนว่าต้องมีการโปรโมตเพื่อหาเสียงเหมือนกับการเลือกตั้งในบ้านเรา และแนวคิดที่ชาวไต้หวันเลือกนำมาใช้คือการออกแบบการหาเสียงที่จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หนึ่งในงานออกแบบการหาเสียงที่น่าสนใจคือ การเปิดช่องทางให้ประชาชนทั่วไปได้ทำความเข้าใจนโยบายของผู้สมัครเลือกตั้งในด้านต่างๆ เช่น นโยบายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคงของชาติ และระบบเศรษฐกิจ ผ่านการออกแบบฟังก์ชัน ‘ห้องแชตประธานาธิบดี’ โดย ‘Block Studio’ เพื่อเป็นช่องทางให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ เริ่มต้นจากการเลือกผู้สมัครที่สนใจ และระบบจะนำเราเข้าสู่ห้องแชตที่อธิบายนโยบายต่างๆ ในรูปแบบของบทสนทนาที่ใช้กันทั่วไป จากนั้นระบบจะประมวลผลจากการสื่อสารและนโยบายที่ผู้ใช้งานได้เลือกระหว่างสนทนาว่า พรรคไหนคือพรรคที่มีนโยบายตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ซึ่งวิธีดังกล่าวนอกจากจะทำให้ประชาชนเข้าใจและเลือกนโยบายที่ตอบโจทย์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เลือกผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ตรงกับตัวเอง โดยไม่ตัดสินจากตัวพรรคที่สังกัดอย่างที่เคยเป็นมา อีกหนึ่งการออกแบบคือ ‘คู่มือการเลือกตั้ง’ ซึ่งเป็นผลงานจาก ‘graphic room’ […]

Accessible Elections ออกแบบหน่วยเลือกตั้ง ให้เอื้อต่อคนทุกกลุ่มและรับรองสิทธิของประชาชน

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ต้องบอกว่าถ้าเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นจะออกมาในทิศทางไหน ใครจะเป็นนายกฯ และเราจะมีทีมรัฐบาลที่เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนแก้ไขความเป็นอยู่ของสังคมประเทศไทยให้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ การออกไปเลือกพรรคที่ชอบและลงคะแนนให้กับคนทำงานที่ใช่ เสียงของทุกคนจะตอบคำถามนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้เห็นข้อผิดพลาดจากการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันมาไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนเริ่มกังวลต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่จะมาถึง คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำปัญหาต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมถึงความเป็นไปได้อื่นๆ มาออกแบบการเลือกตั้งให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าวัยชรา ไปจนถึงคนพิการ ให้ออกไปใช้สิทธิ์ได้อย่างสะดวกสบาย สมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลว่าเสียงของตนจะหล่นหายหรือไม่ หน่วยเลือกตั้งที่ใครๆ ก็ไปถึง การเลือกตั้งครั้งนี้แบ่งออกเป็น 400 เขตทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้งมากที่สุดที่ 33 เขต แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงสะท้อนมาว่า การเดินทางไปถึงสถานที่รองรับการเลือกตั้งในหลายเขตเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากรายชื่อหรือรหัสของหน่วยเลือกตั้งไม่มีพิกัดแน่ชัด หรือผู้สูงวัยที่บางบ้านไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยติดรถกันมา บางคนต้องนั่งหลังรถกระบะปะทะกับแดดร้อนๆ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ขณะเดียวกัน เมื่อหลายครอบครัวและคนจำนวนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมายังจุดเลือกตั้ง ก็อาจส่งผลให้การจราจรติดขัดตามไปด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจะเปิดบริการขนส่งสาธารณะฟรีหรือจัดจ้างรถที่ใช้ประจำหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางในวันเลือกตั้ง […]

Mass Table โต๊ะอเนกประสงค์สีสดใส ที่นั่งได้เป็นกลุ่ม ครอบคลุมผู้พิการ มีปลั๊กในตัว แถมเสียบ USB ได้

วันนี้จะขอพาไปดูไอเดียการออกแบบโต๊ะอเนกประสงค์ที่เรียบง่าย แต่ดึงดูดสายตา และเป็นได้มากกว่าเฟอร์นิเจอร์สำหรับนั่งเล่น โดยโต๊ะตัวนี้ชื่อว่า ‘Mass Table’ เป็นหนึ่งในคอลเลกชันของ Derlot แบรนด์เฟอร์นิเจอร์จากออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการออกแบบโดย ‘Alexander Lotersztain’ นักออกแบบชาวออสซีที่นำเอาลักษณะของโต๊ะปิกนิกในสวนมาดัดแปลงเป็นโต๊ะเรียบๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นสีเหลืองเรืองแสง ผลิตจากการผสมผสานระหว่างเหล็กเคลือบสีฝุ่นและอะลูมิเนียมที่แข็งแรง Mass Table นั้นได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็ก ทนทาน และร่วมสมัย ความสวยงามนั้นค่อนข้างเรียบง่ายแบบที่ไม่มีสิ่งใดระเกะระกะ แต่เน้นไปที่ฟังก์ชันการใช้งานอย่างเต็มขั้นและหลากหลาย จะนอกบ้านหรือในบ้าน สวนสาธารณะ สวนหย่อม ภายในอาคาร ก็นำโต๊ะตัวนี้ไปวางตั้งและใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย การใช้งานที่น่าสนใจคือ สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานได้สูงสุดแปดคน รวมถึงผู้พิการที่ใช้รถเข็นก็ร่วมโต๊ะได้ ซึ่งเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างครอบคลุมสำหรับคนทุกกลุ่ม ส่วนการประกอบโต๊ะยังทำได้ง่ายและรวดเร็วไม่ถึงชั่วโมง ทั้งยังสามารถติดตั้งโต๊ะพร้อมปลั๊กไฟและช่องเสียบ USB ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถชาร์จและเชื่อมต่อได้ทุกที่อย่างสบายใจ และที่สำคัญ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน โต๊ะตัวนี้ก็ยังสามารถรีไซเคิลได้อีกด้วย  Source :Yanko Design | bit.ly/3LsjlI4

Better Public Transport Station สร้างสถานีขนส่งสาธารณะใหม่ ฉบับนึกถึงหัวใจคนเดินทาง

ภาพสถานีขนส่งโทรมๆ คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่ต้องการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่ตนจากมา บ้างนั่งรอรถโดยสารอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็นอนพักรอให้เวลาเดินทางมาถึง บรรยากาศเหล่านี้กลายเป็นภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวของทุกๆ ปี แต่ภายใต้ความคุ้นชิน กลับไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงภายในสถานีขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดวุ่นวาย สภาพแวดล้อมที่มืดและสกปรก โครงสร้างที่ทรุดโทรม ไหนจะป้ายบอกทางที่สับสน รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้บริการเอาเสียเลย วันนี้ Urban Creature จึงขออาสาดีไซน์สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่ ที่มาพร้อม 4 พื้นที่ใช้งานซึ่งเกิดจากแนวคิดที่นึกถึงหัวใจคนเดินทางเป็นหลัก มีตั้งแต่จุดซื้อตั๋วที่สะดวกรวดเร็ว ไปจนถึงการขึ้นลงรถโดยสารที่สะดวกและไม่วุ่นวาย ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าการออกแบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่คงจะน่าใช้งานและตอบโจทย์ผู้โดยสารกว่าเดิมเยอะเลย 01 | One-stop Booking Serviceจองตั๋วรถง่ายด้วยปลายนิ้ว เคยเจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋วรถโดยสารสาธารณะจากที่ไหนไหม พอไปซื้อที่สถานีล่วงหน้า เขาก็บอกให้รอซื้อวันเดินทางจริง พอถึงวันเดินทางจริง พนักงานกลับบอกว่าทำไมไม่ซื้อออนไลน์ แต่พอจะเข้าจองออนไลน์ก็งงเข้าไปใหญ่ เพราะเสิร์ชเข้าไปเจอเป็น 10 เว็บไซต์ แล้วอย่างนี้ต้องจองตรงไหนกันแน่ จะปล่อยให้คนเดินทางปวดหัวแบบนี้ต่อไปคงไม่ไหว เราเลยขอเปลี่ยนระบบการจองใหม่ให้เป็น ‘One-stop Booking Service’ เว็บไซต์กลางสำหรับจองตั๋วที่ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์หรือรถตู้ค่ายไหน ก็จองได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เดียว ไม่ต้องค้นหากันให้วุ่นวาย แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อตั๋วผ่านออนไลน์ ในสถานีก็จะมีตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และบริการจำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่บริเวณเคาน์เตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการจองออนไลน์ หรือมีเหตุให้ต้องเดินทางแบบกะทันหัน 02 […]

‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูแม่เหล็ก ที่ทุบแตกกี่ครั้ง ก็ประกอบใหม่ได้

ถ้าถามถึงความเศร้าหนึ่งที่เราต้องเผชิญในวัยเด็ก คงเป็นการหยอดกระปุกออมสินหมูมานานแรมปี แต่เมื่อต้องทุบหมูเซรามิกเพื่อเอาเหรียญที่หยอดไว้ออกมากลับทำใจไม่ได้ซะอย่างนั้น เพื่อให้ฝันของเด็กไม่ต้องสลายไป ‘Dario Narvaez’ จึงได้ออกแบบกระปุกออมสินหมูขึ้นมาใหม่ โดยมีความพิเศษคือสามารถทุบเพื่อนำเศษเหรียญออกมา และประกอบกระปุกออมสินเข้าด้วยกันใหม่ได้ โดยตั้งชื่อให้การออกแบบนี้ว่า ‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูสีขาวล้วนที่เผยให้เห็นพื้นผิวที่แตกร้าวแทนที่จะปกปิดไว้อย่างแนบเนียน เป็นกิมมิกเล็กๆ ของ The Penny Piggy Bank ที่ Dario Narvaez ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาด้วยทองและยางไม้ ที่รู้จักกันในชื่อ ‘คินสึงิ (Kintsugi)’ เมื่อออกแรงทุบไปที่ The Penny Piggy Bank รอยแตกร้าวดังกล่าวจะแบ่งตัวกระปุกออมสินหมูออกเป็นชิ้นส่วน PVC ทั้งหมด 12 ชิ้น ที่ทนทานต่อแรงกระแทกสูง ทนต่อรอยขีดข่วนที่เกิดจากการทุบกระปุกออมสินซ้ำๆ และสามารถประกอบขึ้นใหม่ได้ตลอดการใช้งานด้วยแม่เหล็กที่ถูกซ่อนไว้ภายใน นอกจากนี้ The Penny Piggy Bank ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการสำหรับเด็กผ่านการประกอบกระปุกออมสินขึ้นมาใหม่ เพราะโครงสร้างที่ไม่เหมือนใครของกระปุกออมสินจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถประกอบขึ้นในรูปแบบใหม่ได้หลายพันวิธี ผ่านการจัดเรียงหรือหมุนชิ้นส่วนบางชิ้นในลักษณะต่างๆ คล้ายตัวการ์ตูน Mr. Potato Head ในเรื่อง Toy […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

ทำไมไทยฮิตแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์ เพราะตามกระแสหรือโหยหาเมืองที่ดี?

“เที่ยวญี่ปุ่นในไทย ไม่ต้องไปไกลก็เหมือนอยู่แดนซากุระ”  ประโยคสุดคุ้นตาที่มักจะเห็นในคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย พักหลังหลายสถานที่ท่องเที่ยวก็นิยมสร้างเลียนแบบสถานที่สำคัญในญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ‘เที่ยวญี่ปุ่นทิพย์’ เช่น การจำลองหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยเมจิ ปราสาทฮิโนกิที่มาจากเมืองเกียวโต วัดอาซากุสะ ทางลงบันไดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน  และล่าสุดบางจังหวัดมีไอเดียจะทำย่านถนนคนเดินญี่ปุ่นให้เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริงๆ (แต่ในสภาพแวดล้อมไทย) จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมบ้านเราถึงฮิตสร้างแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์กันมากนัก? สร้างญี่ปุ่นทิพย์ เอาใจคนญี่ปุ่นและถูกใจคนไทย จุดเริ่มต้นความญี่ปุ่นทิพย์ต้องย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยชาวญี่ปุ่นชอบเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ เนื่องจากบ้านเรามีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาช้านานก็ช่วยส่งเสริมการตลาดให้คนญี่ปุ่นสนใจมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยมากกว่าแต่ก่อน สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาอยากมาท่องเที่ยวบ่อยๆ คือ การสร้างสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่น รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวย เช่น ป้ายต่างๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นอธิบายกำกับไว้ หรือพนักงานควรสื่อสารภาษาพื้นฐานได้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสมัยนั้นต้องปรับตัวสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีบรรยากาศญี่ปุ๊นญี่ปุ่น เพื่อจูงใจลูกค้าแดนซากุระให้มาอุดหนุนบ่อยๆ ขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อ 5 ปีก่อน (และปัจจุบัน) ก็ชื่นชอบไปญี่ปุ่นมากที่สุดกว่า 1 ล้านคน/ปี หรือประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด ด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามจากการออกแบบเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบการขนส่งสาธารณะสะดวกสบาย การดีไซน์อาคารทันสมัย อากาศดี ถ่ายรูปตรงไหนก็สวย และคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย จึงทำให้ชาวไทยหลายคนติดใจประเทศญี่ปุ่นอย่างทวีคูณ ตัดภาพมาช่วงที่ไม่ได้บินต่างประเทศ กลับสู่ชีวิตจริงในเมืองไทยที่ต้องเจอกับปัญหารถติดขัด มลพิษบนท้องถนน น้ำคลองเน่าเสีย […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.