Mariam’s Library ห้องสมุดดินเผาในแทนซาเนีย ที่ผสานการสร้างแบบดั้งเดิมเข้ากับแนวทางสมัยใหม่

ถ้าการสร้างห้องสมุดเหมือนการติดอาวุธที่ชื่อว่า ‘ความรู้’ ให้กับคนในชุมชน ‘Mariam’s Library’ ก็คืออาวุธประจำชุมชน Mwanyanya หมู่เกาะแซนซิบาร์ เขตเมืองเก่ามรดกโลกที่ปกครองตนเองในประเทศแทนซาเนีย Mariam’s Library เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Parallel’s Gives ที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของสตูดิโอออกแบบ Parallel Studio ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเหล่านักเรียนในแซนซิบาร์ ห้องสมุดขนาดเล็กเพียง 100 ตารางเมตรแห่งนี้ถูกออกแบบโดยผสมผสานการสร้างแบบดั้งเดิมเข้ากับแนวทางสมัยใหม่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเคารพต่อมรดกทางสถาปัตยกรรมของเกาะแซนซิบาร์ กระบวนการก่อสร้างมีการใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิมจากฝีมือคนในท้องถิ่น และคำนึงถึงความยั่งยืนผ่านการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้อิฐดินเผาในการสร้างตัวห้องสมุด นอกจากนี้ยังมีการเจาะผนังเป็นวงกลมขนาดเล็ก เพื่อเปิดทางให้ลมถ่ายเทได้สะดวก และช่วยลดอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อน รวมถึงติดตั้งหลังคาไฟเบอร์ลูกฟูก เพื่อเปิดให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามาในตัวห้องสมุดได้ในช่วงกลางวัน และเพื่อให้ Mariam’s Library อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร เอื้อต่อการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน Parallel Studio จึงออกแบบให้พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็น 2 โซน คือ ส่วนที่นั่งต่างระดับสำหรับนั่งอ่านหนังสือภายในห้องสมุด และพื้นที่เปิดโล่งสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันของเด็กในชุมชน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้ห้องสมุดเล็กๆ แห่งนี้เป็นเหมือนพื้นที่สาธารณะ ให้เด็กในชุมชนที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้คนที่มีความสนใจตรงกันนั่นเอง Sources : ArchDaily | t.ly/lUTlWDesignboom | t.ly/nO4v3

Yeodamjae Library เปลี่ยนวัดร้างกลางภูเขาในกรุงโซล ให้กลายเป็นห้องสมุดเด็กและประวัติศาสตร์เฟมินิสต์

ในวันที่คนเกาหลีใต้ไม่ชอบเด็กจนพบเห็นป้าย ‘ห้ามเด็กเข้า’ หรือ ‘เขตปลอดเด็ก’ ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่สร้างความเกลียดชังต่อ ‘เฟมินิสต์’ (Feminist) และ ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ (LGBTQIA+) แต่บริเวณใจกลางภูเขา Naksan เขต Changsin-dong แขวง Jongno-gu ในเมืองโซล ยังมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่โอบกอดพวกเขาเหล่านั้นไว้ ภายใต้สถาปัตยกรรมทางศาสนา นั่นก็คือ ‘Yeodamjae Library’ Yeodamjae Library เป็นห้องสมุดสาธารณะที่แต่เดิมเคยเป็นวัดในพุทธศาสนาชื่อ Wongaksa ที่สร้างขึ้นในปี 1983 ก่อนจะถูกทิ้งร้างในปี 2003 เนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันดินสำหรับอะพาร์ตเมนต์ใกล้เคียง ทำให้ผู้คนเข้าไปในสถานที่ได้จากเส้นทางภูเขาทางเหนือที่ทอดจากภูเขา Naksan เท่านั้น จนกลายเป็นสถานที่มั่วสุมของเด็กและเยาวชน เดิมที Yeodamjae Library ถูกวางแผนให้เป็นห้องสมุดเทศบาลสำหรับเด็ก โดยสำนักงานเขต Jongno-gu แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระหว่างการเจรจา ทำให้ภายหลัง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ที่กำลังผลักดันให้มีการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมสำหรับพลเมืองหญิงในขณะนั้นได้เข้ามาสานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบ Emer-sys แผนการคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโบราณแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามและใช้งานได้อีกครั้ง ด้วยการรื้อกำแพงกันดินเดิมที่กั้นระหว่างวัดกับสวนสาธารณะออก และสร้างอาคารกระจกเชื่อมตัววัด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต โดยมีห้องสมุดเด็กและสตรีนิยมเป็นหัวใจหลัก ทำให้ภายใน […]

‘Library in the Chrysanthemum Field’ อาคารอเนกประสงค์ท่ามกลางทุ่งดอกเบญจมาศ รองรับทั้งการเป็นห้องสมุด เวิร์กช็อป และที่เก็บอุปกรณ์

ห้องสมุดหรือ Co-working Space ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้คน ซึ่งบางครั้งเราเองก็คงอยากพักสายตาด้วยการมองวิวทิวทัศน์จากธรรมชาติกันบ้าง ถ้ามีสถานที่ลักษณะนี้ที่ห้อมล้อมไปด้วยสีเขียวขจีให้ใช้งานคงดีไม่น้อย ‘Library in the Chrysanthemum Field’ ตั้งอยู่ในสวนดอกเบญจมาศที่เชิงเขาหยุนไถ ประเทศจีน โดยสถาปนิกของ Atelier Xi ได้รับโจทย์ในการออกแบบอาคารอเนกประสงค์นี้สำหรับใช้งานในชุมชน เพื่อเป็นสถานที่รองรับการอ่านหนังสือ การชิมชาเก๊กฮวย การแสดงดนตรีขนาดเล็ก เวิร์กช็อปเพื่อการศึกษา พร้อมกับเป็นที่จัดเก็บเครื่องมือทางการเกษตร เพื่อไม่ให้อาคารนี้รบกวนวิวทุ่งดอกไม้ สถาปนิกจึงแบ่งอาคารออกเป็น 5 ส่วน และจัดวางให้ออกมาในลักษณะคล้ายกับหมู่บ้านขนาดเล็ก โดยแต่ละตึกนั้นจะเชื่อมต่อถึงกันและหันหน้าออกไปคนละทาง นอกจากจะไม่ทำลายภาพทุ่งดอกไม้แล้ว ยังช่วยเปิดรับภาพทิวทัศน์ได้จากทุกทิศทาง ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็สัมผัสกับธรรมชาติได้ทุกมุมมอง ส่วนผนังด้านในอาคารนั้นก็ประกอบขึ้นจากไม้ในท้องถิ่น ให้โทนสีที่อบอุ่นสบายตา แต่หากดูจากมุมมองภายนอกจะเหมือนประติมากรรมกลางทุ่งดอกไม้ ด้วยสีขาวของตัวอาคารสไตล์มินิมอลตัดกับสีเหลืองและสีเขียวของธรรมชาติ ทำให้ดูโดดเด่น สวยงาม แต่ไม่ขัดสายตา Sources :ArchDaily | tinyurl.com/yckhf2uuAtelier Xi | tinyurl.com/2s436r92

Finding Dating Places in Bangkok รวมสถานที่เดตในเมืองใหญ่จากชาว Urban Creature

เนื่องในเดือนแห่งความรัก ที่เหล่าคนมีคู่ฮาๆ คนโสดฮือๆ สิ่งหนึ่งที่ชาวโซเชียลเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ต คงหนีไม่พ้นสถานที่เดตสุดโรแมนติก แต่ไม่ว่าจะหาเท่าไหร่สุดท้ายก็ไปจบที่เดินห้างฯ กินอาหารที่ร้านอาหารสักแห่ง หรือนั่งจับมือดูหนังกันสักเรื่อง เชื่อเถอะว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากหาสถานที่ดีๆ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับหวานใจ แบบที่ถ้าหวนกลับไปนึกถึงเมื่อไหร่ก็ต้องรู้สึกประทับใจทุกครั้ง แต่ถ้าไม่ใช่สถานที่อย่างห้างฯ ใจกลางกรุง แล้วกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนให้ไปกับเขาบ้าง เราเลยขอรวบรวมสถานที่เดตในฝันของชาว Urban Creature ที่จะมาทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วในเมืองของเราก็มีสถานที่ดีๆ เหมาะกับการออกเดตอยู่เหมือนกัน สถานที่เดต : สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)โลเคชัน : จตุจักร (maps.app.goo.gl/Tth6TLpnTZSe9hMy7)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : ​Managing Editor นอกจากร้านหนังสืออิสระที่มักชวนคนไปเดต สวนสาธารณะก็เป็นหนึ่งในสถานที่เดตที่เราชวนคนไปด้วยบ่อยๆ เพราะด้วยความที่เป็นคนชอบเดินอยู่แล้ว และคิดว่าการได้มีบทสนทนากันเยอะๆ จะช่วยให้เรารู้จักกันและกันมากขึ้น แต่ถ้าเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดพื้นที่ไม่กว้างขวาง ก็อาจเดินครบจบไวไปหน่อย เราเลยขอเลือก ‘สวนรถไฟ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่เป็นร้อยๆ ไร่ มีหลากหลายส่วนให้ไปสำรวจ รวมถึงมีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะ ตั้งแต่เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือนั่งพักผ่อนอ่านหนังสือ แถมบางทีก็มีดนตรีในสวนให้ฟังด้วย มากไปกว่านั้น การเดินเล่นพูดคุยในสวนที่มีสีเขียวล้อมรอบก็ทำให้เรารู้สึกสดชื่น หายใจได้เต็มปอด […]

สนทนาถึงวรรณกรรมกับนักเขียนทั่วโลกใน ‘เทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ 2023’ วันที่ 4 – 5 พ.ย. 66 ที่หอสมุดเนียลสัน เฮส์

สำหรับสายวรรณกรรม คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเหล่านักเขียนคนโปรดอย่างใกล้ชิด เพราะนั่นหมายถึงการสร้างเสริมให้ประสบการณ์ในการอ่านและมุมมองทางวรรณกรรมของเรากว้างขวางขึ้นผ่านสายตาของผู้สร้างสรรค์งานเขียน ในช่วงท้ายปีนี้ยังมีอีกงานหนังสือที่น่าสนใจและอยากชวนทุกคนไปร่วมกัน นั่นคือ การกลับมาเป็นปีที่ 2 ของเทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ Neilson Hays Bangkok Literature Festival 2023 ที่จัดขึ้นในห้องสมุดที่ถือว่ามีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆ ของไทย โดยภายในงานเราจะได้พบกับนักเขียนชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 50 คนที่จะมาร่วมเสวนาพูดคุยถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น Adam Higginbotham, Will Schwalbe และ Nguyễn Phan Quế Mai เป็นต้น ยังไม่นับรวมนักเขียนไทยที่ชาวนักอ่านน่าจะคุ้นชื่อเป็นอย่างดี อาทิ อุรุดา โควินท์, ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) และ เชน บุนนาค ช่างภาพและผู้เขียนประวัติศาสตร์ตระกูลบุนนาค ที่จะมาแชร์มุมมองงานเขียนไทยในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน เช่น เวิร์กช็อปการวาดภาพประกอบหนังสือและการเขียนวรรณกรรม ศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยลายมือ รวมถึงการจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรมตลาดนัดงานคราฟต์ ที่จะมาสร้างสีสันให้งานหนังสือครั้งนี้มีชีวิตชีวาและสนุกสนานขึ้น งาน Neilson Hays Bangkok Literature Festival […]

กระทรวงวัฒนธรรมของเบอร์ลินยื่นข้อเสนอเปลี่ยนห้างสรรพสินค้าให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกของเมือง

เคยคิดกันไหมว่า หากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เป็นศูนย์กลางของการพักผ่อนหย่อนใจ ร้านค้า รวมไปถึงที่ตั้งของสำนักงานนั้นต้องเลิกกิจการไป อาคารขนาดใหญ่เหล่านี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นอะไรได้บ้าง สัญญาเช่า ‘Galeries Lafayette’ ห้างสรรพสินค้าสัญชาติฝรั่งเศสใจกลางกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีแห่งนี้จะหมดลงในช่วงปลายปี 2567 และมีรายงานว่าเจ้าของห้างฯ จะถอนตัวออกหลังจากเปิดให้บริการมานานกว่า 28 ปี เนื่องจากเงื่อนไขการค้าที่มีความท้าทายมากขึ้น ‘Joe Chialo’ วุฒิสมาชิกฝ่ายวัฒนธรรมของเบอร์ลินจึงได้ทำการยื่นข้อเสนอในการเปลี่ยนห้างฯ แห่งนี้ให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกในเมืองเบอร์ลิน โดยราคาในการซื้อห้างฯ และค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นห้องสมุดของโครงการนี้อาจจะต้องใช้เงินสูงถึง 589 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.28 หมื่นล้านบาท หากโครงการนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ก็จะเปิดให้บริการได้ในปี 2569 โครงการนี้ยังคงเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ด้วยข้อสงสัยจากทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเบอร์ลินในเรื่องของสภาพอาคาร ความเหมาะสมในการเปลี่ยนเป็นห้องสมุด และค่าใช้จ่ายที่อาจจะสูงเกินงบประมาณที่มี แต่อย่างไรก็ตาม บรรณารักษ์ในเยอรมนีก็ได้ทำการเรียกร้องให้ดำเนินโครงการต่อไป เพราะถือได้ว่าเป็นโอกาสแห่งศตวรรษที่จะมีห้องสมุดกลางในเมือง โดย ‘Regina Kittler’ หัวหน้าสมาคมห้องสมุดเยอรมนีสาขาเบอร์ลินมองว่า ห้างฯ Galeries Lafayette แห่งนี้มีศักยภาพในการเป็น ‘ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ในเบอร์ลิน’ ด้วยโครงสร้างเดิมที่เป็นกระจกและโลหะขนาดใหญ่ดึงดูดแสงธรรมชาติ มีผังทรงกลมแบบเปิดโล่ง และมีลิฟต์กับบันไดเลื่อนจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นพื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการใช้งานในเชิงพาณิชย์ Source :The Guardian | tinyurl.com/4wnjb88z

Nippan Group Tokyo Headquarter ออกแบบห้องสมุดส่วนกลางให้เป็นพื้นที่ทำงาน ที่รวมหนังสือจากคนทำงานพร้อมโน้ตบอกเหตุผล

การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานดีตามไปด้วย แต่สำหรับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว การเติมข้อมูลให้กับตัวเองอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้ ‘Nippan Group Tokyo’ บริษัทขายส่งหนังสือที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นจึงได้ลงทุนออกแบบห้องสมุดส่วนกลางของ ‘Nippan Group Tokyo Headquarter’ ให้ตอบโจทย์คนทำงานมากที่สุด จากฝีมือของ ‘KOKUYO’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่น KOKUYO เปลี่ยนพื้นห้องที่มีระนาบเดียวให้กลายเป็นเนินขั้นบันไดเล็กๆ โดยแต่ละขั้นบันไดจะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานและชั้นหนังสือแบบลดหลั่นกันไป ทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพื้นที่และหนังสือที่ว่าอยู่บนชั้นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วห้องมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่ใช้ในการออกแบบก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์ภายในพื้นที่ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุออร์แกนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ อิฐ ไม้ กรวด ไปจนถึงนิตยสารและกระดาษที่ใช้แล้ว แถมในการดีไซน์พื้นที่ยังคำนึงถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่การทำทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ไปจนถึงการกำหนดความสูงของชั้นหนังสือให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เพื่อให้หนังสือทุกเล่มสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือชาย-หญิงที่มีความสูงแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ความพิเศษของหนังสือกว่า 2,000 เล่มภายใน Nippan Group Tokyo Headquarter แห่งนี้ยังคัดเลือกโดยพนักงานภายในออฟฟิศแห่งนี้ด้วยกันเอง โดยหนังสือแต่ละเล่มจะมาพร้อมโน้ตคำแนะนำหรือเหตุผลสั้นๆ ในการเลือกหนังสือเล่มนั้นๆ จากเจ้าของตัวจริง ถือเป็นกิมมิกเล็กที่ทำให้การอ่านน่าสนใจและเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสในการค้นหาเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการ ‘สร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร’ ที่พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกันเองและหนังสือภายในห้องมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เวลา และกฎแบบเดิมๆ […]

ห้องสมุดเปิดใหม่ ‘ประชาชี’ ที่เกิดจากกองดองของคนศิลปะ ใช้งานฟรี ในซอยเจริญกรุง 26

เปิดพิกัดอีกหนึ่งห้องสมุดแห่งใหม่ ‘ห้องสมุดประชาชี’ ในย่านเจริญกรุง ที่เปิดให้ผู้คนเข้าไปใช้งานพื้นที่ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นง่ายๆ จากการรวมตัวกันของคนทำงานศิลปะอย่าง ‘ลี-อัญชลี อนันตวัฒน์’ จาก ‘สปีดี้แกรนด์มา’ และ ‘น้ำหวาน-วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง’ กับ ‘ออดี้-กฤตธี ตัณฑสิทธิ์’ จาก ‘น้ำขึ้น คอลเลกทีฟ’ “ก่อนหน้านี้เราอยู่กันที่ซอยเจริญกรุง 24 ซึ่งในตึกนั้นจะมีห้องหนึ่งที่ใช้เป็นห้องคอมมอนรูม เรามักเอาหนังสือไปวางๆ กันจนเกิดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจขึ้นมา พอเราย้ายมาที่ใหม่บริเวณซอยเจริญกรุง 26 ห้องสมุดประชาชีก็เกิดขึ้น” ออดี้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของห้องสมุดแห่งนี้ และด้วยการเริ่มต้นในรูปแบบนี้ ทำให้หนังสือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นหนังสือจากคอลเลกชันส่วนตัวของทั้งสามคน บวกกับหนังสือที่เพื่อนๆ นำมาวางด้วย ห้องสมุดเล็กๆ แห่งนี้จึงมีทั้งหนังสือภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มเฟมินิสต์ เควียร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเมือง ไปจนถึงเป็นแหล่งรวมหนังสือทำมือ (Zine) และสูจิบัตรจากงานนิทรรศการต่างๆ แม้ห้องสมุดประชาชีเปิดให้เข้าใช้พื้นที่ได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ออดี้บอกกับเราว่า นี่ยังไม่ใช่การเปิดแบบเต็มรูปแบบ เพราะในส่วนของชั้น 1 ที่เป็นตัวห้องสมุดในขณะนี้มีการจัด ‘นิทรรศการคำสาปที่ราบสูง Arcane Plateau’ ร่วมด้วย […]

New Taipei City Library Taishan Branch รีโนเวตห้องสมุดเก่าอายุ 20 ปีในไต้หวัน ให้กลับมาเป็นมิตรกับนักอ่านทุกเพศทุกวัย

‘New Taipei City Library’ เป็นระบบห้องสมุดสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน มีสาขามากถึง 104 สาขา กระจายตัวอยู่ใน 29 เมือง โดยมี ‘New Taipei City Library Taishan Branch’ เป็นหนึ่งในห้องสมุดเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว บนชั้น 5 ของอาคารรัฐบาลในเขตไท่ซาน เมืองนิวไทเป แม้ New Taipei City Library Taishan Branch จะอยู่ใกล้กับตลาดชุมชนและสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากตัวห้องสมุดมีพื้นที่ภายในคับแคบ การออกแบบที่ล้าสมัย จัดวางผังได้ไม่ดี ทำให้แสงเข้าถึงได้ไม่เพียงพอ จนกระทั่งได้ ‘A.C.H Architects’ สตูดิโอออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดสรรพื้นที่เข้ามาดูแล A.C.H Architects เนรมิตโฉม New Taipei City Library Taishan Branch ขึ้นใหม่ภายในพื้นที่ 1,320 ตารางเมตร โดยเปลี่ยนห้องสมุดชั้นเดียวนี้เป็นแบบเปิดโล่ง […]

‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ พื้นที่สร้างสรรค์และห้องสมุดในตัวเมืองนครศรีธรรมราช

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในปัจจุบันไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตอีกต่อไป แต่เป็นแกลเลอรีแสนน่ารัก ห้องสมุดบรรยากาศอบอุ่น หรือพื้นที่ทำกิจกรรมที่ให้คนมาพบปะ พูดคุย และเรียนรู้นอกเหนือตำราเรียน แน่นอนว่าสถานที่เหล่านี้หาได้ง่ายมากในกรุงเทพฯ แต่ในทางกลับกัน จังหวัดอื่นๆ กลับหาสถานที่พักผ่อนแบบนี้ได้ยากเหลือเกิน ซึ่ง ‘ต๊ะ-ณัฐชยา สุขแก้ว’ ก็คิดแบบนี้เช่นเดียวกัน เธอจึงตัดสินใจใช้ช่วงเวลาพักจากงาน IT กลับมาที่บ้านเกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างพื้นที่แห่งศิลปะ การเรียนรู้ และเป็นมิตรกับจิตใจให้ผู้คนในจังหวัดของเธอ ต๊ะเล่าที่มาของชื่อ ‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ ว่ามาจากคำว่าสรรค์สร้าง แต่เธอนำคำมาปรับใหม่เพื่อให้ได้ความรู้สึก Feminine และสร้างความสมดุลกับสิ่งต่างๆ ในจังหวัดมากขึ้น เพราะเธอรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ในจังหวัดบ้านเกิดมีความ Masculine ทั้งการแสดงออกและศิลปะ เธอจึงอยากทำสถานที่นี้เป็นเหมือน Safe Space ที่ทำให้ศิลปะและความรู้เข้าถึงง่ายกว่าที่เคย ด้วยความที่ใช้เวลาพักงานในการสรรค์สร้างพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมา ต๊ะจึงมีเวลาจัดการทุกอย่างแค่ 1 เดือนกว่าเท่านั้น ซึ่งหลายๆ คนที่ไปเยือนจะได้เห็นว่าส่วนต่างๆ ของตึกมีการจัดการแบบ Minimum คือตั้งใจปรับปรุงเท่าที่จำเป็น เพื่อปล่อยออกไปสำรวจตลาดก่อน ที่เป็นแบบนั้นเพราะต๊ะเล่าว่า นี่คือการสร้าง Minimum Viable Product (ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง) โดยอิงจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์นักเรียนทั้งอาชีวะและสายสามัญ รวมถึงคนทำงานในจังหวัด หรือพูดง่ายๆ […]

Read Cafe คาเฟ่ห้องสมุดในประเทศจีนที่ผสมผสานสารพัดเครื่องดื่มเข้ากับชั้นหนังสือ

ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดด ดิจิทัลเข้ามาเขย่าโลก ส่งผลให้พฤติกรรมหรือการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป เพื่อต้องการคง ‘การอ่านหนังสือเล่ม’ ให้อยู่คู่กาลเวลาที่ไหลไปข้างหน้า ‘Read Cafe’ ในประเทศจีน จึงถูกออกแบบมาให้เป็นพื้นที่ครบวงจรสำหรับการอ่าน การศึกษาหาความรู้ และเติมเต็มสุนทรียะแห่งการดื่ม มองจากภายนอก คาเฟ่สองชั้นแห่งนี้มีทางเข้าเป็นบล็อกสไตล์มินิมอลสีขาวบริสุทธิ์ ประดับด้วยโลโก้สีแดงเด่นคล้ายตราประทับที่อยู่ส่วนท้ายของปกหนังสือ ทว่าเมื่อเปิดประตูเข้าไป เราจะพบกับโลกของหนังสือมากมายที่จัดเรียงอยู่บนชั้นให้ได้หยิบอ่าน บรรยากาศในคาเฟ่แห่งนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมกรุ่นของสารพัดเครื่องดื่ม ที่ช่วยให้ผู้มาเยือนรู้สึกมีสมาธิและกระปรี้กระเปร่า ทั้งยังตกแต่งด้วยชั้นวางหนังสือสูงตระหง่านที่ล้อมรอบทั่วร้านในโทนสีเนื้อไม้ แซมด้วยความสุขุมของผนังสีเทา ผสมผสานกับความมั่นคงของเฟอร์นิเจอร์สเตนเลส ที่ช่วยให้การนั่งพักจิบเครื่องดื่มอร่อยๆ หรือละเลียดอ่านหนังสือเป็นได้ด้วยความสงบเรียบง่าย นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้ง Read Cafe ยังตั้งใจให้ที่นี่เป็นพื้นที่สาธารณะที่ส่งเสริมให้ผู้คนเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ของหนังสือ ซึ่งเป็นความรู้สึกและวัฒนธรรมแบบเก่าที่หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถทดแทนได้ Source :ArchDaily | bit.ly/3IyU0dH

‘Katsura Library’ อ่านหนังสือที่ ม.เกียวโต พร้อมชมวิวป่าไผ่ ห้องสมุดใหม่ที่รวม 5 ห้องสมุดเก่าให้กลายเป็นหนึ่ง

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ติดท็อป 3 ทุกปี คงหนีไม่พ้น ‘มหาวิทยาลัยเกียวโต’ (Kyoto University) เพราะนอกจากการเรียนการสอนที่ดี สภาพแวดล้อมในบริเวณมหาวิทยาลัยยังร่มรื่น ชวนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ไม่น้อย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยเกียวโต วิทยาเขต Katsura ที่ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุดใหม่ ให้ตอบโจทย์การใช้งานของนักศึกษาและบุคคลทั่วไปมากขึ้น ด้วยการรวมเอาห้องสมุดทั้ง 5 แห่งเดิมที่แยกตามการจัดหมวดหมู่ของวิชามาไว้ด้วยกัน และสร้างห้องสมุดใหม่ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็น Area-Focus Hub Library ให้วิทยาเขตแห่งนี้ ‘Katsura Library’ เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่กว่า 4,556 ตารางเมตรที่สร้างขึ้นภายใต้การควบคุมการออกแบบที่เข้มงวด เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ใหม่ยังคงสอดคล้องไปกับตัววิทยาเขตเดิม ด้วยความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการควบคุมออกแบบจาก ‘Waro Kishi + K.ASSOCIATES/Architects’ อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโตและสตูดิโอของเขา ภายในของ Katsura Library ประกอบด้วยพื้นที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ พื้นที่การเรียนรู้แบบสาธารณะที่มีตั้งแต่ห้องทดลองแบบเปิด ห้องวิจัยทั่วไป และห้องสร้างสื่อ รวมไปถึงห้องอ่านหนังสือที่เปิดให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเข้าถึงได้อย่างอิสระ โดยแต่ละส่วนจะให้ความรู้สึกที่เงียบสงบ แต่เชื่อมต่อถึงกันด้วยพื้นที่ห้องโถงใหญ่และกระจกใสกั้นห้อง ผนังภายนอกของ Katsura Library ตกแต่งด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน ผสมกับคอนกรีตแบบเปลือย และการออกแบบหลังคาทรงเรียบ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.