Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map ลายแทงตามหาร้านอร่อยในย่านหัวลำโพง พร้อมเก็บตัวปั๊มคำอวยพรจากคนในย่าน

‘หัวลำโพง’ เป็นอีกหนึ่งย่านน้องใหม่น่าจับตามองประจำงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 จาก ‘เครือข่ายชาวหัวลำโพง’ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ คาเฟ่ โฮสเทล ร้านค้า บ้านศิลปิน นักออกแบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ โดยมีหมุดหมายที่ต้องการสร้างการจดจำใหม่ให้กับย่านและสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสายรถไฟและพนักงานเกือบทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในธีมง่ายๆ อย่าง ‘การเปิดบ้าน’ เพื่อสื่อถึงการเปิดบ้านต้อนรับคนใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดประตูบ้านของชุมชนให้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในกิจกรรมที่เราหยิบยกมาชวนทุกคนไปสำรวจกันคือ ‘Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map’ แผนที่ตามหาความอร่อย ซึ่งเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ แสนสำคัญที่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านย่านหัวลำโพงได้เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มคนใหม่ๆ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังเรื่องเล่า และกระตุ้นให้ย่านกลับมามีสีสันอีกครั้ง เพราะนอกจากจุดจัดเทศกาลกว่า 10 จุดทั่วทั้งย่านแล้ว ภายในหัวลำโพงยังประกอบไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารรสเลิศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีน อาหารอีสาน อาหารฮาลาล ไปจนถึงเครื่องดื่มและของหวาน เปิดให้บริการทั่วทั้งซอยพระยาสิงหเสนีและชุมชนตรอกสลักหิน ยาวไปจรดถนนเจริญเมือง นอกจากตัวแผนที่ที่มาพร้อมกับหมุดร้านอาหาร 15 แห่งในพื้นที่และจุดจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ต่างๆ แล้ว เรายังจะได้รับสติกเกอร์องค์ประกอบย่านหัวลำโพงและกระดาษรูปโคมจีนสำหรับบันทึกคำอวยพรจากร้านค้า ที่ไม่ว่าไปเยือนร้านไหนก็จะมีตราปั๊มคำอวยพรที่แตกต่างกันไป รอให้เราเดินไปปั๊มเก็บเป็นที่ระลึก […]

เปิดรูต One Day Trip ตามรอย Troye Sivan แวะเที่ยว 4 ย่านจากเอ็มวีเพลง Got Me Started

นอกจากเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในช่วงวันพักผ่อนแล้ว ประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสถานที่ถ่ายทำโปรดักชันจากต่างประเทศด้วย ล่าสุดนี้ศิลปินเควียร์ชาวออสเตรเลีย ‘Troye Sivan’ ก็พาเราไปสำรวจมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านเพลง ‘Got Me Started’ ที่เจ้าตัวแอบบอกใบ้ไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ใครที่ได้ดู MV เพลงนี้แล้วคงเห็นว่าสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ถ่ายทำอาจไม่ได้แปลกใหม่เท่าไรนัก บางโลเคชันอย่างสะพานช่องนนทรีหรือถนนเยาวราชก็เป็นสถานที่ที่เห็นผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง แต่ภาพที่เพลงนี้นำเสนอออกมาต่างหากที่ทำให้เราค้นพบความสวยงามที่อาจนึกไม่ถึงในเมืองนี้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเป็นตัวของตัวเองและความหลากหลายที่กรุงเทพฯ โอบรับผู้คนทุกเพศทุกวัย วันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ คอลัมน์ Urban Guide ถือโอกาสพาทุกคน Get Started ออกเดินทางตามรอย Troye Sivan กับ 4 ย่านในกรุงเทพฯ กัน ชม MV ก่อนออกไปเดินเล่นกันที่ : youtube.com/watch?v=mLqPC9Z6C9E เยาวราช Location : maps.app.goo.gl/LSEG5pGD1mNBbQGB7  เริ่มต้นทริปกับย่านที่คุ้นตาที่สุดใน MV ด้วยเอกลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างป้ายไฟของห้างร้านต่างๆ ที่ทำให้ถนนสายนี้สว่างไสวและคึกคักอยู่ตลอด คงไม่มีใครไม่รู้ว่าหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำนั้นคือย่านนักท่องเที่ยวสุดฮิตที่ถนน ‘เยาวราช’ แม้ว่าจะเป็นเส้นทางขึ้นชื่อเรื่องสตรีทฟู้ดหลากหลายประเภทในตอนกลางคืน แต่ความเป็นเยาวราชไม่ได้มีแค่นี้ เพราะยังมีสถานที่และกิจกรรมที่น่าสนใจแฝงตัวอยู่ในย่านมากมาย ทั้งวัดไทย วัดจีน ตึกเก่า […]

ชวนพ่อแม่ไปเต้นสวิงพร้อมเพื่อนใหม่กับ ‘งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ’ 19 ส.ค. เข้าฟลอร์ฟรี ที่หัวลำโพง

หลายครั้งที่เราไม่อยากปล่อยให้ผู้สูงอายุในครอบครัวอยู่บ้านกันเหงาๆ แต่กิจกรรมที่ลูกหลานจะพาพวกท่านออกไปทำได้นั้นก็อาจไม่เหมาะกับวัยเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ ใครที่กำลังมองหากิจกรรมสนุกๆ เพื่อพาพวกท่านไปร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ Urban Creature ขอชวนไป ‘งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ’ ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ ‘เมืองไทยประกันภัย’ ร่วมกับ ‘มูลนิธิมาดามแป้ง’ และ ‘การรถไฟแห่งประเทศไทย’ เนื่องจากอยากให้ทุกคนได้พาพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านออกมาร่วมสนุกและพบปะสังสรรค์กับเพื่อนใหม่ในวัยเดียวกันผ่านการ ‘เต้นสวิง’ ไปกับ Jelly Roll Dance Club หรือหากญาติผู้ใหญ่คนไหนไม่สะดวกเป็นนักเต้น ก็ไปร่วมฟังเพลงแจ๊สเพราะๆ จากวง The Stumbling Swingout และชมโชว์สวิงแดนซ์จาก The Boppin’ Berries ก็ได้ นอกจากจะเปิดฟลอร์ให้โชว์สเต็ปกันแล้ว งานนี้ยังมีการประกวดแต่งตัวในธีม ‘Gatsby’ ที่ไม่ว่าจะมาแบบกลุ่มหรือแบบเดี่ยวก็ร่วมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ากว่า 10,000 บาทได้อีกด้วย งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ เปิดฟลอร์ต้อนรับนักเต้นทุกท่านให้เข้าร่วมกันแบบฟรีๆ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ เวลา 13.00 […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.