ตามติด #ม็อบชาวนา เสียงสะท้อนปัญหาภาระหนี้สิน และราคาข้าวตกต่ำของเกษตรกรไทย

คนไทยถูกพร่ำสอนให้สำนึกบุญคุณของชาวนาที่ปลูกข้าวให้ทุกคนกินเสมอมา เพราะข้าวแต่ละเม็ดได้มาอย่างยากลำบาก จึงมีการยกย่องให้เกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ถ้าไม่มีชาวไร่ชาวนาประเทศเราจะอยู่ไม่ได้ แต่ในความเป็นจริง กระดูกสันหลังของไทยกลับถูกละเลยให้ทุกข์ยากและลำบากเพียงลำพัง ทำนามากี่ปีๆ ก็ลืมตาอ้าปากไม่ได้สักที ใครที่ติดตามมูฟเมนต์ม็อบการเมืองในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ จะเห็นได้ว่าเกษตรกรหลายร้อยคนจากกว่า 36 จังหวัด ได้เดินทางมาปักหลักชุมนุม ‘ม็อบชาวนา’ ที่หน้ากระทรวงการคลัง บริเวณถนนพระราม 6 ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาหนี้ ผ่านกระบวนการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ทั้งที่ค้างคามาเป็นเวลานานกว่า 2 ปีแล้ว นอกจากปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำลงมาตลอด บวกกับสถานการณ์โควิด-19 และการผันผวนของการเมืองไทยที่มีการรัฐประหารและเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้นโยบายและการจัดการปัญหาฝั่งเกษตรกรรมไม่จริงจังและไม่ต่อเนื่อง เพราะเอาเข้าจริงก็มีเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 นับเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีแล้ว แต่สถานการณ์ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะปักหลักชุมนุมต่อไป หากยังไม่มีมติจาก ครม. เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้ามาช่วยจัดการหนี้สินของเกษตรกรจากธนาคารของรัฐ ด้วยการตัดดอกเบี้ย ลดเงินต้นลง รวมถึงการลดข้อจำกัดที่จะเอื้อให้เกษตรกรชำระหนี้สินได้ในระยะยาว  เพราะถ้ารัฐยังไม่มีการจัดการและแผนการรองรับที่ดี อาจทำให้ธนาคารยึดที่ดินของเกษตรกรไทย จนไม่มีที่ดินให้ทำกิน และที่เลวร้ายสุดคือการถูกยึดที่อยู่อาศัย ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสังคมไทยในระยะยาว ล่าสุดม็อบชาวนาได้เจรจากับทางรัฐบาลแล้ว และคาดว่ามติ ครม.จะออกมาในวันที่ 15 […]

‘ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน’ วิธีแก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรฉบับ ธ.ก.ส.

“น่าสนใจนะเนี่ย” ระหว่างคุยกับ คุณประทีป ภูลา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสี่แยกอินโดจีน เราพูดประโยคข้างต้นไปหลายครั้ง เพราะว้าวกับสิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของลูกค้าเกษตรกร ว้าวอย่างไร (รู้หน่า ว่าคำถามนี้ผุดขึ้นมา) 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วยการพักไปซูเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้าน แล้วเปลี่ยนมาสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน ที่เปิดประตูเดินออกมาแค่สี่ห้าก้าวก็เจอผักสวนครัวตามรั้วมาเด็ด ผัด ต้ม กินได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อผักสักบาท 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ชำระหนี้ระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนจากทำไร่เชิงเดี่ยวมาเป็นไร่สวนผสม และเพิ่มมูลค่าการขายโดยให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เกษตรกรไม่รู้มาก่อน หลายคนรู้คร่าวๆ ว่า ธ.ก.ส. มีภาพลักษณ์แข็งแกร่งว่าเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร แต่ยังไม่รู้วิธีคิดแก้ปัญหาว่าลงมือทำอย่างไร วันนี้จึงชวนรู้จักแนวทางสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูเกษตรกรของ ธ.ก.ส. ที่ไม่ควรพลาดแม้แต่บรรทัดเดียว 01 ปัญหากวนใจเกษตรกร ‘หนี้’ คือสิ่งที่คุณประทีปบอกว่ากวนใจเกษตรมากที่สุด แต่บางครั้งหนี้ที่เกิดขึ้นกลับเกิดจากเรื่องควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ภาพรวมหนี้สินจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่คุณประทีปเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาบางกระทุ่ม ชี้จำนวนตัวเลขจากสมาชิกในอำเภอกว่า 5,000 คน มีหนี้สินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหามาจากภัยธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.