เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

Books Vending Machines ใครก็เข้าถึงการอ่านได้ง่ายๆ ด้วยไอเดียตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ

ดูเหมือนว่าปัญหาราคาของต่างๆ ที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ จะทำให้ ‘หนังสือ’ กลายเป็นของฟุ่มเฟือยที่หลายคนเข้าถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แถมนอกจากปัญหาราคาหนังสือที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ร้านเช่าหนังสือที่เคยเป็นแหล่งเข้าถึงหนังสือในราคาที่ไม่สูงนักก็แทบล้มหายตายจากไปหมดแล้ว เพราะการอ่านคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมือง คอลัมน์ Urban Sketch ครั้งนี้จึงอยากลองออกแบบ ‘Books Vending Machines’ หรือตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติที่จะตั้งไว้กระจายตามจุดต่างๆ ในเมือง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการยืมหนังสือได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย 1) ยืมและคืนหนังสือด้วยการลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชน หากใครเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่ไม่ชอบซื้อมาดอง ก็อาจจะมีปัญหากับการเสียเงินสมัครสมาชิกห้องสมุดรายปี เพราะอาจไม่ได้มีเวลาเดินทางหรือใช้บริการจนคุ้มค่าสมัครขนาดนั้น แต่ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติเปิดโอกาสให้ทุกคนยืมหนังสือได้ง่ายๆ เพียงแค่มีบัตรประชาชนสำหรับบันทึกข้อมูลผู้ยืมหนังสือ และสแกนบัตรประชาชนเพื่อยืนยันการคืนหนังสือเล่มที่ยืมไป ก่อนจะยืมเล่มใหม่หรือยืมเล่มเก่าต่อในครั้งถัดไป 2) ใช้งานง่ายด้วยระบบจอ Touchscreen ด้วยความที่เป็นตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ แค่พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการยืมจากเมนูรายชื่อหนังสือทั้งหมด หรือจะเลื่อนดูหนังสือที่น่าสนใจผ่านหน้าจอ Touchscreen ก็ทำได้ทันที เพราะระบบจะแจ้งว่ายังมีเล่มไหนเหลือให้ยืมบ้าง หรือเล่มไหนที่คนยืมหมดไปแล้วก็ขอจองยืมอ่านต่อเป็นคิวถัดไปได้ แถมการชำระค่าบริการก็สะดวก เนื่องจากจ่ายผ่าน QR Code บนหน้าจอหรือเงินสดก็ได้ ส่วนใครที่ใช้บริการบ่อยๆ จะเติมเงินไว้เป็นเครดิตให้ระบบหักเงิน ตัวเครื่องก็รองรับเช่นเดียวกัน 3) สะสมแต้มยืมหนังสือครบ 10 ครั้ง ยืมฟรี 1 ครั้ง ทุกๆ […]

เฉลิมฉลองการเติบโตของสิ่งพิมพ์อิสระ ในงาน Bangkok Art Book Fair 2023 วันที่ 1 – 3 ธ.ค. 66 ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ

ในช่วงเวลาที่งานออกแบบและงานสร้างสรรค์ในไทยกำลังผลิบาน เทศกาลที่เป็นดั่งหมุดหมายของชาวคนทำสิ่งพิมพ์อิสระก็เวียนกลับมาอีกครั้งกับ BANGKOK ART BOOK FAIR 2023 หรือ เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ ครั้งที่ 6 ที่จะจัดขึ้นที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ความพิเศษของงานปีนี้คือ มีผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ สำนักพิมพ์ และศิลปินนานาชาติกว่า 18 ประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดงกว่า 150 โต๊ะ ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา  นอกจากผู้แสดงงานและผลงานสิ่งพิมพ์ที่มีความหลากหลาย พร้อมกับจำนวนที่มากขึ้น ด้วยความที่ธีมงานคือ ‘Homegrown Community’ ทำให้เทศกาลนี้เป็นเหมือนการนำเสนอตัวอย่างและทางเลือกว่าผู้คนสามารถใช้สิ่งพิมพ์สื่อสารเรื่องราวได้อย่างไร รวมถึงความเป็นไปได้ของการสื่อสารประเด็นผ่านสิ่งพิมพ์ทุกรูปแบบ ตั้งแต่หนังสือป็อปอัปอลังการไปจนถึงแมกกาซีนเย็บเล่มด้วยแม็กเย็บกระดาษ ส่วนใครที่อยากเรียนรู้ว่าคนทำสิ่งพิมพ์อิสระมีวิธีคิดและทำงานอย่างไรบ้าง ปีนี้ BANGKOK ART BOOK FAIR 2023 ได้ขยับเอาเซสชันเสวนามาไว้ในวันเดียวกัน นั่นคือ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องกิ่งทอง โรงแรมเอเชีย ตั้งแต่เวลา 13.00 – 17.00 น. โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้พบกับผู้บรรยายจาก​หลายบริบท หลากวัฒนธรรม ที่จะมาพูดถึงแนวคิดและวิธีเฉพาะตัวในการบ่มเพาะชุมชนของตนให้เติบโต ไม่ว่าจะเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับเรียนรู้ร่วมกัน จัดเวิร์กช็อป […]

สนทนาถึงวรรณกรรมกับนักเขียนทั่วโลกใน ‘เทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ 2023’ วันที่ 4 – 5 พ.ย. 66 ที่หอสมุดเนียลสัน เฮส์

สำหรับสายวรรณกรรม คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเหล่านักเขียนคนโปรดอย่างใกล้ชิด เพราะนั่นหมายถึงการสร้างเสริมให้ประสบการณ์ในการอ่านและมุมมองทางวรรณกรรมของเรากว้างขวางขึ้นผ่านสายตาของผู้สร้างสรรค์งานเขียน ในช่วงท้ายปีนี้ยังมีอีกงานหนังสือที่น่าสนใจและอยากชวนทุกคนไปร่วมกัน นั่นคือ การกลับมาเป็นปีที่ 2 ของเทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ Neilson Hays Bangkok Literature Festival 2023 ที่จัดขึ้นในห้องสมุดที่ถือว่ามีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆ ของไทย โดยภายในงานเราจะได้พบกับนักเขียนชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 50 คนที่จะมาร่วมเสวนาพูดคุยถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น Adam Higginbotham, Will Schwalbe และ Nguyễn Phan Quế Mai เป็นต้น ยังไม่นับรวมนักเขียนไทยที่ชาวนักอ่านน่าจะคุ้นชื่อเป็นอย่างดี อาทิ อุรุดา โควินท์, ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) และ เชน บุนนาค ช่างภาพและผู้เขียนประวัติศาสตร์ตระกูลบุนนาค ที่จะมาแชร์มุมมองงานเขียนไทยในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน เช่น เวิร์กช็อปการวาดภาพประกอบหนังสือและการเขียนวรรณกรรม ศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยลายมือ รวมถึงการจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรมตลาดนัดงานคราฟต์ ที่จะมาสร้างสีสันให้งานหนังสือครั้งนี้มีชีวิตชีวาและสนุกสนานขึ้น งาน Neilson Hays Bangkok Literature Festival […]

BOOK DREAMS เหล่าหนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้มาไว้ในคอลเลกชันกองดอง

ขอต้อนรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 กับธีม BOOK DREAMS ด้วยลิสต์หนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้ เพราะแม้ตอนนี้ราคาหนังสือแต่ละเล่มจะเริ่มพุ่งทะยานไปไกลจนเราต้องคิดแล้วคิดอีกเวลาควักเงินซื้อ แต่พออยู่ในงานหนังสือที่รายล้อมไปด้วยหนังสือมากมายหลากหลายประเภทที่มีหน้าปกล่อตาล่อใจ หลายๆ ครั้งเราก็มักจบลงด้วยการหอบหนังสือกองโตกลับบ้านพร้อมใบหน้าเปื้อนยิ้ม (ที่ต้องไปบริหารจัดการเงินทีหลัง) ในลิสต์นี้มีตั้งแต่ฟิกชันอ่านสนุก วรรณกรรมแปลแนวสืบสวนสอบสวน ชีวประวัติคนสำคัญระดับโลก ไปจนถึงน็อนฟิกชันเรื่องการออกแบบและเมืองที่ทำให้เราหันกลับมามองพื้นที่อยู่อาศัยในสายตาที่ต่างออกไป ว่าแต่มีเล่มไหนบ้าง มาอ่านที่เราป้ายยากัน ชื่อหนังสือ : สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรมสำนักพิมพ์ : มติชน (บูท J47)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editor ปกติเป็นคนชอบอ่านงานเขียนประเภทนิยาย แต่จะมีบ้างบางครั้งที่เปลี่ยนอารมณ์ไปอ่านงานน็อนฟิกชันแนวการเมือง ซึ่งหนึ่งในงานเขียนแนวนี้ที่ประทับใจคือ ‘ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร’ โดย ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’ ที่เล่าเรื่องการเมืองในศิลปะการออกแบบได้อย่างสนุก ชวนติดตาม พร้อมกับเปิดตาเราให้เห็นมุมมองทางอุดมการณ์และความเชื่อที่ซุกซ่อนอยู่ของการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะในหลายๆ สถานที่ที่เราเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยครุ่นคิดถึงต้นตอที่มาของมัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงอดไม่ได้ที่จะลิสต์ ‘สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม’ ผลงานเล่มใหม่ของอาจารย์ชาตรีไว้ในใจ ต่อให้กองดองจะสูงเด่นท้าทายแค่ไหนก็ตาม […]

‘เฮ็ดหยังอยู่’ โปรเจกต์จดหมายเหตุกรุงเทพฯ ในหัวข้อฉูดฉาด ‘สวัสดี ข้นE-3’

มีใครสงสัยเหมือนเราบ้างว่า ทำไมในกรุงเทพฯ ถึงมีร้านส้มตำอยู่ทุกหัวมุมถนน ทุกหนแห่ง แค่นึกอยากจะกินก็มีให้เลือกอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากที่ที่เราอยู่เสมอ ทำไมเนื้อหาของละครทีวีช่วงค่ำยุคปัจจุบันถึงได้เปลี่ยนจากเซตติงที่เป็นคุณหญิงคุณชายในรั้ววัง มาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคณะหมอลำซึ่งมีฉากหลังเป็นทุ่งนาต่างจังหวัดกันมากขึ้น มากไปกว่านั้นคือตัวละครทั้งหมดล้วนพูดภาษาถิ่นอีสานกันทั้งหมด ทั้งที่ฉายไปทั่วประเทศ ขยับเข้ามาในระดับที่แคบขึ้นอีกนิด ทำไมคนขับแท็กซี่มักเป็นคนร้อยเอ็ด ทำไมนางแจ๋วในละครถึงต้องเป็นคนอีสาน ทำไมถึงมีคำศัพท์ใหม่อย่าง ‘v้นE-3’ แพร่หลายเป็นมุกตลกทั่วไปของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม จนกลายเป็นชนวนของการทะเลาะใหญ่โตบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด วันเวลาผ่านไป ตั้งแต่ยุคที่คนกุลายังร้องไห้ จนมีลูกหลานเป็นสาวน้อยหัวใจติดดิน สวมกางเกงยีนส์เก่าๆ ใส่เสื้อตัว 199 มุ่งหน้าไปสู่การเป็นนางเอกละครเย็นในช่วงเรตติงดีที่สุด ประดับซับไตเติลเป็นภาษาไทยกลาง เพราะเว้าภาษาอีสานกันทั้งเรื่อง เกิดอะไรขึ้นกับคนอีสานอพยพใน ค.ศ. 2022 ตามมาเบิ่งปรากฏการณ์นี้ในหนังสือ ‘เฮ็ดหยังอยู่’ ธีสิสจบการศึกษาของ ‘ข้าวตัง-ศศิตา มณีวงษ์’ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กันแหน่เด้อ เฮ็ดหยังอยู่ ก่อนจะพูดถึงโปรเจกต์ที่ช่วยไขสารพัดข้อสงสัยเรื่องคนอีสานอพยพ เราขอย้อนความก่อนว่า ศศิตาหรือผู้เขียนบทความนี้เป็นเด็กกรุงเทพฯ ที่มีตาเป็นคนอำนาจเจริญ และยายเป็นคนสุรินทร์ เติบโตมากับเรื่องเล่าของการถูกปลิงกัดเมื่อดำนา การซักผ้าด้วยขี้เถ้า และการเดินเท้าเกือบสิบกิโลเพื่อไป-กลับโรงเรียน ตายายหยิบเอาเรื่องราวการดำรงชีวิตอยู่ในอำเภอห่างไกลความเจริญเมื่อห้าสิบปีก่อนมาใช้แทนนิทานเรื่องเจ้าหญิงต่างๆ ก่อนจะเข้านอนทุกคืน ในวัยนั้นเราต้องยอมรับว่าเรื่องที่ทั้งคู่เล่าสนุกกว่านิทานพวกนั้นมาก แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่บันทึกมันไว้เมื่อยังมีโอกาส ไม่มีใครทราบได้ว่าโอกาสนั้นกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของการศึกษาศิลปะ […]

กลับมาอ่านและดื่มอย่างรื่นรมย์อีกครั้งใน BOOKS & BEERS 2023 วันนี้ – 30 ก.ค. 66 ที่ตึกสิงห์ คอมเพล็กซ์

หลังจากประสบความสำเร็จไปกับงานครั้งแรกเมื่อปีก่อน เทศกาลที่ผสมผสานระหว่างการอ่านและการกินดื่ม ‘BOOKS & BEERS 2023’ ก็เวียนกลับมาสร้างความรื่นรมย์ในปีนี้ที่ทำเลเดิม BOOKS & BEERS 2023 เป็นเทศกาลหนังสือที่จะชวนคนอ่านมาเลือกซื้อหนังสือ ฟังเสวนาประเด็นเข้มๆ ที่กำลังเป็นกระแสในสังคม ท่ามกลางเสียงดนตรี วงสนทนา และร่วมชนแก้วกับนักเขียน เข้ากับคอนเซปต์ KEEP CALM, READ A Book And DRINK BEER ไปด้วยกัน ยังไม่นับรวมโปรโมชันดีๆ ลดราคาพิเศษ หนังสือใหม่ ไปจนถึงหนังสือแนะนำ ตั้งแต่แนวประวัติศาสตร์ ความรู้ สารคดี สังคม วิทยาศาสตร์ นวนิยาย วรรณกรรมแปล วรรณกรรมไทย นิยายวาย ไลต์โนเวล ฯลฯ ที่รอให้เราเลือกสรร พร้อมกับร้านรวงงานคราฟต์และโปรดักต์ดีไซน์อีกนับสิบร้านให้ไปเยี่ยมเยือน เปิดตัวหนังสือ Writer’s Taste โดยอุทิศ เหมะมูล, เสวนาสุราก้าวหน้า, วงเล่าคนเมาป้ายยาหนังสือน่าสนใจ, วงเมาท์ของสะสมของคนที่หลงรักดนตรี ฯลฯ เหล่านี้คือบางส่วนของกิจกรรมในงานที่เราหยิบมายกตัวอย่างเท่านั้น จริงๆ […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

เคลียร์กองดอง บริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางคลองเปรม วันนี้ – 30 เม.ย. 66

หลายคนไม่รู้ว่ากิจกรรมที่เป็นหนึ่งในความรื่นรมย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำคือการอ่านหนังสือ ‘ไผ่ ดาวดิน’ นักกิจกรรมที่เคยถูกคุมขังในเรือนจำเนื่องจากคดีทางการเมือง เคยเล่าว่า การอ่านหนังสือคือกิจกรรมที่เขาทำมากที่สุดตอนอยู่ในเรือนจำ โดยอ่านทุกอย่างตั้งแต่วรรณกรรม หนังสือประวัติศาสตร์ ยันนิตยสารรถยนต์ หลังหยุดยาววันสงกรานต์ที่ผ่านมา ชวนทุกคนเคลียร์กองดอง แยกหนังสือที่อ่านจนหนำใจแล้ว หรือซื้อหนังสือใหม่อ่านสนุก ส่งไปยังโครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.) ที่เปิดรับบริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือตำรา สารคดี หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ก็นำมาบริจาคได้หมดที่ กล่องรับบริจาคบริเวณหน้าศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ชั้น 1 ของคณะนิติศาสตร์ ส่วนคนที่ไม่สะดวกเดินทาง ทางโครงการฯ ก็เปิดให้ส่งหนังสือที่อยากบริจาคมาที่ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12121 บริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง โครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.)

เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่

ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา  ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

JUST READ นักอ่านที่ไม่ได้แค่อ่านหนังสืออย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนการอ่านผ่านอีเวนต์

ความชอบหนังสือและนิสัยรักการอ่าน พาให้เราไปทำอะไรได้บ้าง บางคนเดบิวต์เป็นนักเขียน บางคนเป็นนักสะสมหนังสือ บางคนลงทุนเปิดร้านขายหนังสือ แต่ความชอบหนังสือของ ‘เวฟ-สหัสวรรษ ธนสุขสวัสดิ์’ เจ้าของเพจ ‘JUST READ’ นั้นพาให้เขาเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวงการการอ่านผ่านการจัดอีเวนต์ต่างๆ โดยเริ่มจาก Book Club วงเล็กๆ ในมหาวิทยาลัย จนมาถึงงานหนังสือสเกลใหญ่ระดับเมือง อย่างงาน ‘หนังสือในสวน’ ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนหลายร้อยคน คอลัมน์ Art Attack ขอชวนทั้งนักอ่านและนักอยากอ่านไปพูดคุยกับผู้ก่อตั้งเพจ JUST READ ถึงจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนเรื่องหนังสือและการอ่าน มุมมองการจัดงานหนังสือจากภาคประชาชน และความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมการอ่านในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มต้นด้วยกลุ่มคนผู้รักการอ่าน แรกเริ่มเดิมที JUST READ เป็นเพียงคอมมูนิตี้เล็กๆ ที่เวฟก่อตั้งขึ้น สำหรับกลุ่มคนที่อ่านหนังสือแบบเดียวกันในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี 2563 และได้จัด Book Club เป็นครั้งแรกกับกลุ่มคนเล็กๆ เพียง 5 คนเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะคำว่า Book Club ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย “ขนาดเรายังเพิ่งเคยได้ลองทำอะไรแบบนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ก็เลยไม่แปลกใจที่คนไทยอาจยังไม่ค่อยรู้จัก คุ้นชิน […]

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.