คุยเรื่องหนังสือเด็กกับ ศรีสมร โซเฟร หรือ ‘สองขา’ ผู้ร่วมก่อตั้งวาดหวังหนังสือ

หลังเหตุการณ์ไล่บี้หนังสือเด็กในเดือนตุลาคม 2564 กลุ่มวาดหวังหนังสือยังคงผลิตหนังสือสม่ำเสมอ ขณะนี้มีถึงชุดที่ 4 ‘เป็นสุขที่สงสัย’ และมีแพลนทำหนังสือเด็กต่อไป นิทานเด็กของกลุ่มวาดหวังหนังสือช่วยเปลี่ยนภาพจำของหนังสือเด็กที่มักเล่าเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการหรือทักษะเรียบง่าย เพราะหนังสือเด็กนี่เองที่สามารถปูความรู้เรื่องชีวิต การเมือง หรือเพิ่มแง่มุมสดใหม่ในเรื่องเดิมๆ อย่างการเขียน ก.ไก่ ข.ไข่ ขณะเดียวกัน ช่วงโควิด-19 หนังสือเด็กกลายเป็นเทรนด์ของพ่อแม่ยุคใหม่ที่พร้อมลงทุนให้ลูกและได้ใช้เวลาด้วยกัน ก่อนคุยกับ ‘หมอน-ศรีสมร โซเฟร’ เจ้าของนามปากกา ‘สองขา’ ผู้เขียนหนังสือเด็กและผู้ก่อตั้งวาดหวังหนังสือ เธอเปรยว่า ต้องขออภัยหากมีเสียงเครื่องบินรบกวน เพราะนับตั้งแต่เธอเป็นครูโรงเรียนรัฐไทยบนดอยของชาวกะเหรี่ยง สอนเด็กที่อเมริกา ปัจจุบันเธอและครอบครัวอยู่ที่อิสราเอล (บ้านเกิดของสามี) ท่ามกลางสงครามฮามาส-อิสราเอล ที่กำลังดำเนินไป เราคุยกันเรื่องหนังสือนิทานเด็ก ชวนมองถึงวงการหนังสือเด็กไทย ความสำคัญของนิทานและการดูแลเอาใจใส่เด็ก เพราะเชื่อว่าในท้ายสุด เด็กๆ ย่อมเติบโตเป็นผีเสื้อในโลกกว้าง โบยบินสู่อนาคตที่ต้องแบกรับโลกของผู้ใหญ่ในวันนี้ คุณเริ่มต้นจับงานหนังสือเด็กได้อย่างไร เราจบปริญญาตรีประวัติศาสตร์ที่ ม.เกษตรฯ พอเรียนจบก็ทำงานที่เชียงใหม่ เมื่อถึงวันหยุดได้เดินทางท่องเที่ยว ได้เจอครูดีในหลายๆ แห่ง จึงอยากเป็นครู ตอนนั้น (พ.ศ. 2530) เป็นปีแรกที่จบสาขาอะไรมาก็สอบเป็นข้าราชการครูได้ เป็นแล้วชอบ ติดใจ เรารู้สึกว่าเด็กมีความจริงใจ คิดอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร […]

ร่วมส่งต่อความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพกับ ‘เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566’ วันที่ 24 ก.ย. – 29 ต.ค. 66 ที่ TCDC

ในขณะที่บ้านเรามีงานหนังสือใหม่ๆ เกิดขึ้นให้ไปเดินสำรวจหนังสือใหม่ เติมกองดองกันแทบทั้งปี ก็เป็นที่น่ายินดีไม่น้อยที่แวดวงหนังสือไทยได้มีงานหนังสือสำหรับเด็กที่จัดขึ้นอย่างค่อนข้างเป็นทางการแล้วในปีนี้ ‘เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566’ หรือ Children’s Picture Book Festival มีโต้โผหลักคือ สำนักพิมพ์ Barefoot Banana ที่อยากส่งเสริมและผลักดันให้หนังสือเด็กในไทยมีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายคนทำงานเกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน นักแปล นักวิชาการ นักเล่านิทาน ห้องสมุด และสำนักพิมพ์ชั้นนำ ที่พากันมาส่งต่อความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพ ภายในงานมีกิจกรรมมากมายให้เหล่าผู้ปกครองพาลูกหลานไปร่วม รวมถึงองค์ความรู้ที่คนทำงานด้านนี้ไม่ควรพลาด ตั้งแต่นิทรรศการและโชว์เคสที่จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 29 ตุลาคม ที่ TCDC บางรัก ไปจนถึงโปรแกรมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดยาวๆ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์เรื่อยไปตลอดทั้งเดือนตุลาคม โดยดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ barefootbanana.co/festival เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 29 ตุลาคม 2566 ที่ TCDC บางรัก โดยตัวนิทรรศการเปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่เวลา 10.30 – […]

วาดหวังหนังสือ: หนังสือเด็กที่วางรากฐานความคิดและไม่เป็นพิษกับเยาวชน

‘ปลุกปั่น ล้างสมอง ทำให้แตกแยก’ นี่คือมุมมองของรัฐที่มีต่อ วาดหวังหนังสือ หนังสือนิทานสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเล่าถึงความฝัน ความแตกต่าง คุณค่าของตัวเอง ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานพร้อมใจกันเรียกสอบผู้ผลิตหนังสือชุดนี้ เพื่อที่จะ ‘แบน’ หนังสือนิทานที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กระทรวงศึกษาธิการ ไปจนถึงผู้ใหญ่อีกหลายคนที่ร้อนรนเมื่อได้เห็นเนื้อหาในหนังสือเหล่านี้ ข่าวนี้จึงเป็นตัวกระตุ้นให้หนังสือนิทานกว่า 17,000 เล่ม ขายหมดในไม่กี่วัน มีผู้อ่านที่ต้องพลาดโอกาสอีกจำนวนมาก และทีมงานยังไม่มีวี่แววจะผลิตเพิ่มเร็วๆ นี้ เพราะยังต้องสะสางกับเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดขึ้นอยู่  การที่หนังสือเด็กเกือบสองหมื่นเล่มขายหมดสต็อกอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน ไม่ใช่เรื่องง่ายของผู้ผลิตหนังสือในยุคนี้ และเราเชื่อว่าผู้ซื้อเองก็ไม่ได้ซื้อเพราะความเห็นใจ แต่เป็นเพราะเห็นความหวังดีที่หนังสือมีให้กับอนาคตของเด็กๆ เสียมากกว่า  ปกหลังของวาดหวังหนังสือเขียนว่า ‘วาดหวัง เติมพลังด้วยหนังสือดี ที่บอกเล่าถึงความจริง ความงาม ท่ามกลางความเป็นไป’ หนังสือนิทานทั้ง 8 เล่ม จึงเปรียบเสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ของสังคมและการเมืองไทย ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านนักเขียนมากประสบการณ์ที่หวังอยากเห็นเมืองไทยดีขึ้นทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ และบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวการ์ตูนที่วาดโดยนักวาดภาพประกอบไทยฝีมือดีหลายคน  หนังสือทั้ง 8 เล่มนี้สอดแทรกเรื่องพลังพลเมือง และหลักสิทธิมนุษยชนด้วยวิธีการที่เข้าใจง่าย เป็นหนังสือดีที่อ่านได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ได้มีพิษภัยอย่างที่รัฐกล่าวหา และเป็นหนังสือดีที่น่าจะอยู่ในห้องสมุดโรงเรียนเสียด้วยซ้ำ เพื่อให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นพลเมืองที่เคารพทั้งตัวเองและผู้อื่น […]

How old am I? หนังสือเด็กที่รวบรวมคนอายุ 1 – 100 ปีจากทั่วโลก เพื่อสื่อสารเรื่องความหลากหลายของมนุษย์

หนังสือเด็กยุคนี้ควรมีเนื้อหาแบบไหน ถึงจะทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นพลเมืองโลกได้? ‘How old am I?’ คือหนังสือสำหรับเด็กอายุ 4 – 8 ปีที่เนื้อหาดูไม่เด็กเลยสักนิด และเปิดโลกความหลากหลายให้กับเด็กได้ดีมากๆ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ JR ช่างภาพและนักกิจกรรมชาวปารีส ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานภาพขาวดำขนาดใหญ่ที่พรินต์ไปแปะอยู่บนสถานที่สำคัญทั่วโลก และ Julie Pugeat ผู้จัดการสตูดิโอของ JR ซึ่งเป็นคุณแม่ลูก 2 และเคยมีผลงานร่วมกับ JR มาแล้วในหนังสือเด็กเล่มแรกชื่อ ‘Wrinkles’  สำหรับเด็กๆ แนวคิดเรื่องอายุเป็นเรื่องที่นามธรรมมากๆ ลองนึกย้อนกลับไปถึงตัวเองในวัยนั้นดูก็ได้ว่าเราเข้าใจคำว่า ‘อายุ’ กันมากแค่ไหน เราแทบจะไม่รู้เลยว่าคนที่มีอายุเท่านี้มีลักษณะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีตัวอย่างจากญาติหรือคนในครอบครัว และแทบจะไม่รู้เลยว่าคนที่ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา เขามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร JR และ Julie จึงทำหนังสือสำหรับเด็กที่รวบรวมภาพถ่ายและเรื่องราวจากผู้คนอายุ 1 – 100 ปี 100 คนจากทั่วโลกขึ้นมา และจัดเรียงตามอายุเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้จะเป็นคำถามสั้นๆ ที่ผู้จัดทำชวนทั้ง 100 คนมาแบ่งปันประสบการณ์ ความปรารถนา ความทรงจำ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.