URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่คนทำสื่อไม่ได้เล่า

“ตอนแรกคิดว่าเขายื่นฟ้องในนามสื่อ แต่พบว่าเราโดนคนเดียวนี่นา”“เป็นสื่อต้องเสียสละ? ไม่จริง สื่อเองก็อยากจะสุขสบายเหมือนกัน” Urban Untold ชวนคนที่ต้องเล่าเรื่องของคนอื่นเป็นอาชีพอย่างนักสื่อสารมวลชน มาเล่าเรื่องของตัวเอง เรื่องที่คนอาจไม่รู้ หรือมองข้ามเพราะมองว่าเป็นหน้าที่ที่สื่อต้องเสียสละ Urban Creature ร่วมกับ Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

‘ซีรีส์วาย’ ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยหรือสื่อที่กำลังทำลายอุตสาหกรรมบันเทิง?

แม้ ‘ซีรีส์วาย’ จะดูเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ปัจจุบันซีรีส์วายได้กลายมาเป็นซีรีส์อีกประเภทหนึ่งที่สามารถครองใจผู้ชมทั้งจอแก้วและโลกออนไลน์ได้อย่างอยู่หมัด โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างประเทศต่างก็พูดถึงตัวซีรีส์และนักแสดงจนติดเทรนด์กันอยู่บ่อยๆ ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงคนทั่วไปมองว่านี่คือหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในปัจจุบัน อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้ยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากสร้างรายได้อย่างมหาศาลทั้งในและนอกประเทศ จนก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘Y Economy’ แต่ซีรีส์วายจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ฟังดูดีมีเพียงแง่บวกของประเทศเราได้จริงๆ ใช่ไหม เพราะในอีกมุมหนึ่ง สื่อประเภทนี้ก็เข้ามาสร้างผลกระทบไม่น้อยให้อุตสาหกรรมบันเทิงบ้านเรา จนบางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่า หรือจริงๆ แล้วซีรีส์วายกำลังเป็นสื่อที่ทำลายอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยอยู่กันแน่ หนังเรียก ‘เกย์’ แต่ซีรีส์เรียก ‘วาย’ เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมเราถึงเรียกภาพยนตร์ที่มีตัวเอกเป็นชายรักชายว่า ‘หนังเกย์’ แต่พอเป็นซีรีส์ที่มีนักแสดงนำรูปแบบเดียวกันกลับเรียกว่า ‘ซีรีส์วาย’ ที่เป็นเช่นนี้เพราะภาพยนตร์ของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็น ‘รักแห่งสยาม’ ‘พี่ชาย My Hero’ หรือ ‘My Bromance’ ต่างฉายในช่วงเวลาที่คำว่า ‘วาย’ ยังไม่เป็นที่พูดถึงและใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงบริบทของสังคมไทยก็ยังไม่เปิดรับความหลากหลายทางเพศมากนัก แตกต่างจากการเข้ามาของสื่อบันเทิงในรูปแบบซีรีส์ที่ใช้นักแสดงหลักเป็นเพศชายในประเทศไทยครั้งแรกอย่าง ‘Love Sick The Series’ ที่มีการดัดแปลงบทละครจากนิยายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ถูกเรียกระหว่างกลุ่มนักอ่านและนักเขียนด้วยกันเองว่า ‘นิยายวาย (Y)’ ซึ่งย่อมาจากศัพท์ภาษาญี่ปุ่นคำว่า Yaoi […]

เปิดช่องโทรทัศน์ไทย รายการเด็กหายไปไหนหมด

เมื่อนึกถึงวันวานเก่าๆ บรรยากาศชวนให้นึกถึงช่วงเวลาตอนเด็กที่คุณแม่ถักเปียให้ในตอนเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งดูรายการเจ้าขุนทองก่อนไปโรงเรียน ส่วนตอนเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อกลับบ้านมาเปิดโทรทัศน์ก็จะมีรายการเด็กสลับสับเปลี่ยนให้ดูทุกวัน หรือแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ที่ยอมตื่นมาดูรายการสนุกๆ แต่เช้า  พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เด็กยุคนี้จะเคยดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์เหมือนที่เราเคยดูในวัยเด็กบ้างไหมนะ แต่เมื่อลองเปิดโทรทัศน์และเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ กลับพบว่า รายการเด็กที่เคยมีอยู่เกือบทุกช่องหายไปแทบจะหมดแล้ว ไม่ใช่แค่รายการเก่าๆ เท่านั้นที่หายไป แต่รายการใหม่ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย  คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมีน้อยลงเรื่อยๆ และในอนาคตรายการประเภทนี้ยังจำเป็นสำหรับประเทศไทยหรือไม่ เนื้อหารายการเด็กที่ไม่เหมือนเดิม หากพูดถึงรายการสำหรับเด็ก หลายคนอาจมองว่าช่องโทรทัศน์ของไทยมีการ์ตูนให้ดูเยอะอยู่แล้ว ทว่ารายการเด็กที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่สื่อเพื่อความสนุกหรือความบันเทิงเท่านั้น แต่หมายถึงรายการที่แฝงไปด้วยความรู้รอบตัวมากมายที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่เด็ก  ตัดภาพมาที่รายการเด็กในตอนนี้ ถ้าไม่นับช่องการ์ตูนจากต่างประเทศ รายการอื่นๆ มักเน้นไปที่การแข่งขันโดยมีเด็กเป็นตัวหลักของรายการ เช่น การแข่งขันชิงรางวัลด้วยการร้องเพลงหรือเล่นเกม กลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเหล่านี้กลับไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่อยากติดตามความน่ารักของเด็กๆ ที่ร่วมรายการแทน รายการเด็กทำกำไรได้ไม่ดี ในปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีข้อกำหนดว่า ช่องโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องมีรายการสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อการพัฒนาทั้งสติปัญญา อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 60 นาที ในช่วง 16.00 – 18.00 น. ของทุกวัน และ […]

สื่อยังจำเป็นต่อชีวิตคนเมืองหรือไม่ กับนิ้วกลม | Unlock the City EP.13

มีคำกล่าวว่าใครๆ ก็เป็นสื่อได้แค่มีสมาร์ตโฟนอยู่ในมือ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราจะยังมีสื่อไปทำไม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สื่อได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาเรื่อยๆ ตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ มาสู่เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ที่มีให้อ่าน ฟัง ดู ทั้งยังนำไปแชร์ต่อ รวมถึงแสดงความคิดเห็นได้ทันที ประชาชนไม่ได้มีบทบาทแค่รับสื่ออย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ถึงอย่างนั้น ต่อให้รูปแบบสื่อจะเปลี่ยนไปอย่างไร ใจความหลักของมันคือการสื่อสารอยู่ดี ทว่าในสายธารแห่งสื่อนี้ ก็มีทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อสมัยใหม่ที่หยิบยกเรื่องที่ตัวเองสนใจมานำเสนอได้ มิหนำซ้ำยังมีอิทธิพลต่อความคิดความเข้าใจของคนในสังคม ขณะเดียวกัน ทุกสื่อก็แข่งขันกันว่าใครจะนำเสนอข่าวได้รวดเร็วที่สุด จนหลายครั้งก็มีการบิดเบือนข้อมูล หรือสื่อสารผิดพลาด จนทำให้เกิดผลกระทบตามมา Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ จึงชวน ‘นิ้วกลม’ หรือ ‘เอ๋-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์’ มาสนทนาถึงการปรับตัวและความสำคัญของสื่อต่อจากอีพีที่แล้ว เพื่อทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมของการใช้สื่อนำความคิดเมืองมากขึ้น ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/xcaf823MCgU Spotify : https://tinyurl.com/4n8ksea3 Apple Podcasts : […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

ชวนดู ลุงดร เกตุเผือก สื่อประชาชน ไลฟ์สดเพื่อประชาธิปไตย สารคดีเชิงข่าวรางวัล Amnesty จาก Urban Creature 

“เราต้องการที่จะให้ประชาชนได้รู้ ใครจะไม่ถ่ายไม่ว่า แต่เราต้องการถ่าย”  นี่คือคำพูดง่ายๆ จากน้ำเสียงอันเป็นมิตรของ ‘ลุงดร เกตุเผือก’ เจ้าของเพจชื่อเสียงเรียงนามเดียวกับตัวเอง ลุงดรคือตัวอย่างของคนธรรมดาที่ผันตัวมาเป็นสื่อประชาชนติดตามถ่ายทอดสดเหตุการณ์ร้อน เพื่อส่งสารความจริงจากแทบทุกพื้นที่ที่มีการจัดม็อบประชาธิปไตย และติดตามไปยังพื้นที่ศาลต่างๆ ที่กำลังมีการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาชุมนุม เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความเป็นไปแบบวินาทีต่อวินาทีอย่างถึงลูกถึงคน  จากประชาชนที่ใช้โทรศัพท์ไม่ค่อยเป็น ผุดลุกขึ้นมาเรียนรู้ฟังก์ชันการใช้งานของมือถือใหม่ทั้งหมด และตะลุยถ่ายทอดภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยบนท้องถนน ผ่าน ‘ไลฟ์สด’ แบบฉบับง่ายๆ และซื่อตรงของตัวเอง ในยุคที่สื่อถูกบงการ ถูกเซนเซอร์ และถูกบิดเบือน จนผู้ชมตามหาชุดความจริงได้อย่างจำกัด ลุงดรเป็นหนึ่งในคนไทยที่เลือกเป็นสื่อด้วยตัวเอง เมื่อไม่ต้องทำตามคำสั่งใคร การไลฟ์สดของเขา จึงเปรียบเสมือนความหวังเล็กๆ ของคนดูที่ต้องการเสพสื่อและตัดสินเหตุการณ์นั้นจากมุมมองของประชาชนจริงๆ  สารคดีสั้นจาก Urban Creature ชิ้นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า ‘ลุงดร เกตุเผือก : สื่อ – ชาวบ้าน – ประชาธิปไตย I เมื่อชีวิตอุทิศเป็นสื่อประชาชน’ กำกับโดย ‘แทนชนก มุสิกธรรม’ และสร้างสรรค์โดยทีมโปรดักชันทั้งทีม ด้วยตั้งใจและเห็นว่าความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้สังคมเราก้าวไปสู่ความยุติธรรม และแทนชนกยังเชื่ออีกว่า ถ้าเรามีใจ ใครๆ ก็เป็นกระบอกเสียงเพื่อขับเคลื่อนสังคมได้ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ […]

เมื่อไหร่กันที่ ‘สื่อไทย’ ไร้เสรีภาพ

เมื่อไหร่กันนะที่ ‘สื่อไทย’ ไร้เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ดังนั้นเราจึงพาย้อนรอยว่าตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองจาก สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อหาว่า ‘สื่อไทย’ โดนปิดกั้นการนำเสนอไปมากน้อยแค่ไหน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.