#เลือกเกิดไม่ได้เลือกตายได้ยัง ชวนถกประเด็น ‘การการุณยฆาต’ ในธีสิสแคมเปญ Rights to die

คุณคิดเห็นอย่างไรกับการทำการุณยฆาต ในช่วงหลังๆ มานี้เรามักได้ยินคำว่า ‘การุณยฆาต’ กันบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ‘นโยบายตายดี’ ที่ทางพรรคก้าวไกลใช้ในการหาเสียงเมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมา หรือจากการเปิดตัวซีรีส์ ‘การุณยฆาต’ ที่ได้ ‘ต่อ ธนภพ’ และ ‘เจเจ กฤษณภูมิ’ มานำแสดง โดยจะมีกำหนดฉายในเร็วๆ นี้ Rights to die คือชื่อแคมเปญธีสิส ภายใต้โครงการ Senior Project ของ ‘โบ-ปณิตา พิชิตหฤทัย’ นิสิตภาควิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อยากชวนทุกคนมาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการการุณยฆาต สิทธิในการเลือกตาย และการวางแผนการตายอย่างเป็นรูปธรรม บนแฮชแท็ก #เลือกเกิดไม่ได้เลือกตายได้ยัง ซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่เธอพบเจอในชีวิตจริง โบเล่าว่า ไอเดียของแคมเปญธีสิสที่อยากพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกคนบนโลกออนไลน์ถึงประเด็นการการุณยฆาต เกิดขึ้นหลังจากแม่ของโบซึ่งป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีความต้องการทำการุณยฆาตในช่วงสุดท้ายของชีวิต ทำให้เธอพบกับรายละเอียดบางอย่างที่น่าสนใจและอยากพูดถึง “แม่เราสนใจเรื่องการุณยฆาต เพราะเขามีเป้าหมายว่าเขาอยากจากไปในวันที่เขายังสามารถคุยกับลูกได้ แต่ด้วยอาการป่วยที่ไม่สามารถเดินทางไปทำการุณยฆาตที่ต่างประเทศได้ เราเลยมาลิสต์กันว่า แล้วถ้าอยู่ไทยเราจะทำอะไรได้บ้าง” โบเล่าถึงความสนใจของแม่ในวาระสุดท้าย จากเหตุการณ์นี้ทำให้โบได้พูดคุยกับหมอ และพบว่าในประเทศไทยเองก็มีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ที่เปิดให้บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ […]

ชวนคนทำงานสร้างสรรค์ยืนยันความเป็นเจ้าของผลงานด้วยเรียลไทม์แสตมป์ ผ่าน ‘Creative Asset Platform’

ปัจจุบันผู้คนต่างให้ความสำคัญกับคำว่า ‘สิทธิ’ มากขึ้น เพื่อเป็นการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ที่เราควรได้รับ โดยเฉพาะกับคนที่ทำงานในสายอาชีพที่ต้องใช้ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ควรมีการรักษาสิทธิในผลงานของตัวเอง เพื่อไม่ให้ถูกอ้างสิทธิ์ในผลงานและนำไปต่อยอดทางพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดแพลตฟอร์มใหม่ ‘Creative Asset Platform’ หรือ ‘CAP’ ให้กับเหล่านักสร้างสรรค์ได้ใช้ยืนยันสิทธิในผลงานหรือชิ้นงานของตนเอง ตั้งแต่ระดับไอเดีย ร่างแบบ ไปจนถึงผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ โดยผู้ใช้งานสามารถประทับเวลา (Timestamp) และออกใบรับรอง (Certificate) เพื่อรับรองเวลาให้กับผลงานสร้างสรรค์ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (ฺBlockchain) ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองต่อคู่กรณีหรือศาล เมื่อเกิดกรณีพิพาทในอนาคต รวมถึงใช้เป็นหลักประกันในการต่อยอดเชิงธุรกิจด้วย ผู้สนใจเข้าใช้บริการประทับเวลาทางเว็บไซต์ได้แบบไม่จำกัด ผ่านวิธีการที่ง่ายและสะดวกทั้ง 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สมัครเข้าใช้และยืนยันตัวตนผ่าน www.cap.cea.or.th2) อัปโหลดไฟล์ชิ้นงานหรือผลงานสร้างสรรค์ (รองรับผลงานทั้งที่เป็นไฟล์ภาพ เอกสาร วิดีโอ)3) บันทึกเวลา (Timestamp) และบริหารจัดการงานสร้างสรรค์ผ่าน Dashboard4) ดาวน์โหลดใบรับรอง (Certificate) ไปใช้ยืนยันสิทธิ์ได้ทันที

Heart GURU การ์ดเกมว่าด้วยเรื่องหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ที่อยากให้สังคมไทยตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น

‘ความรุนแรงทางเพศ’ และ ‘อคติทางเพศ’ ในสังคมไทยเปรียบเสมือนสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า ‘Elephant in the Room’ ซึ่งหมายถึงปัญหาใหญ่ที่ทุกคนรับรู้ดี เห็นได้ชัดเจน แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหรือตั้งใจทำเป็นมองไม่เห็นมัน ไม่ว่ากี่ปีผ่านไปเราก็ยังเห็นปัญหาเหล่านี้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านเรื่องเล่าของคนใกล้ตัวที่ตกเป็นเหยื่อ หรือแม้แต่พาดหัวข่าวตามสื่อต่างๆ ที่สะท้อนว่าการใช้ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศได้ฝังรากลึกอยู่แทบทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง การศึกษา ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองเองก็ตาม ทว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามส่งเสียงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ หนึ่งในนั้นคือ Thaiconsent สื่อออนไลน์ที่อยากชวนสังคมไทยพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์ในเชิงลึก Thaiconsent พยายามสื่อสารประเด็นเรื่องเพศผ่านช่องทางออนไลน์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงความยินยอมพร้อมใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Consent) และล่าสุด Thaiconsent ต้องการสื่อสารกับผู้คนในรูปแบบใหม่ จึงพัฒนาและออกแบบการ์ดเกม ‘Heart GURU รอบรู้เรื่องหัวใจ’ โดยตั้งใจทำให้เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง และชวนให้คนแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ตามไปคุยกับ ‘นานา-วิภาพรรณ วงษ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent ถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบการ์ดเกม Heart GURU และความตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้เกี่ยวกับหัวจิตหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ให้ไปถึงคนจำนวนมากที่สุด จุดเริ่มต้นของ Heart GURU นานาเล่าย้อนความให้ฟังว่า […]

ทำไมงานเสวนาถึงมีแต่ผู้ชาย Manel Watch Thailand ที่รณรงค์เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในวงเสวนา

เคยไหม เมื่อกวาดตามองเหล่าวิทยากรในโปสเตอร์ประกาศจัดงานเสวนาของหน่วยงาน องค์กร หรือสื่อใดสักแห่ง แล้วพบแต่รายชื่อหรือใบหน้าของ ‘ผู้ชาย’ อยู่เต็มไปหมด โดยเฉพาะวงเสวนาที่เกี่ยวกับแวดวงธุรกิจ เทคโนโลยี หรือการเมืองก็ตาม Manel Watch Thailand หรือ จับตาเสวนาชายล้วน คือแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ (X) ที่เกิดขึ้นโดย ‘บอม-ลัทธพล จิรปฐมสกุล’ ที่อยากรณรงค์และชี้ให้คนในสังคมเห็นถึงปัญหาความไม่ครอบคลุมของวงเสวนาไทย เนื่องจากกิจกรรมประเภทนี้มักกลายเป็นพื้นที่ของผู้ชายเท่านั้น ไม่ว่าจะตัวพิธีกรหรือวิทยากรเองก็ตาม จนทำให้ขาดมุมมองหรือแง่คิดของคนทำงานผู้หญิงในแวดวงนั้นๆ ไปด้วย บอมเล่าถึงที่มาที่ไปของการตั้งแอ็กฯ นี้ว่า เกิดจากความสงสัยส่วนตัวเกี่ยวกับพื้นที่ของผู้หญิงในการทำงานและงานเสวนาวิชาการต่างๆ บวกกับได้เห็นแคมเปญ Manel Watch ที่มาจากคำว่าการจับตาดู All Male Panel หรือวงเสวนาที่มีแต่ผู้ชายในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะของเมียนมาที่จุดประกายให้เขาขับเคลื่อนประเด็นนี้ รวมถึงการเห็นกระแสคนในโลกออนไลน์ที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงงานเสวนาที่วิทยากรทั้งหมดเป็นผู้ชายมากขึ้น “เราเรียนรู้จาก Manel Watch เมียนมาที่เคยบอกเล่าถึงข้ออ้างของคนจัดงานเสวนาที่มีแต่ผู้ชาย โดยใช้เหตุผลทำนองว่า เพราะผู้หญิงไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ เพราะผู้หญิงไม่มีความสนใจประเด็นนี้ ซึ่งลึกๆ แล้วอาจแฝงถึงอคติทางเพศของคนจัดงาน และขณะเดียวกัน ถ้าเหตุผลคือไม่มีผู้หญิงในตำแหน่งสูงๆ มาพูด เราก็ควรตั้งคำถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งมันก็จะโยงกลับไปที่การกีดกันผู้หญิงออกจากพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ วิศวกรรม […]

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

สิทธิประกันสังคมของคนวัยทำงาน จ่ายเงินไปแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง

คนทำงานส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับคำว่า ‘ประกันสังคม’ กันอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้อย่างเราๆ ต้องจ่ายทุกเดือนเพื่อสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต และรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่พึงจะได้ ซึ่งสมาชิกที่มีรายได้อาจต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดถึง 750 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การจ่ายเงินในแต่ละเดือนไม่ใช่แค่การรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลทั่วไปและสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปีเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคมยังครอบคลุมถึงกรณีอื่นๆ เช่น คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร หรือว่างงานด้วย วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากอาสาพาทุกคนไปไขข้อข้องใจว่า ‘ประกันสังคม’ ที่เราถูกหักเงินไปทุกๆ เดือนคืออะไร จ่ายไปแล้วจะได้สิทธิประโยชน์อะไรกลับคืนมาบ้าง และในปี 2023 สิทธิประกันสังคมมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง จะได้วางแผนและเตรียมใช้สิทธิ์กันได้ทัน  ประกันสังคมคืออะไร ใครจำเป็นต้องจ่ายบ้าง ‘ประกันสังคม’ ถือเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้า ‘กองทุนประกันสังคม’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, […]

ผู้หญิงอิหร่านนำประท้วงใหญ่ในรอบ 40 ปี เรียกร้องสิทธิสตรี เสรีภาพ และขับไล่เผด็จการ

ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคที่โลกล้ำหน้าแบบสุดขีด ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี ไปจนถึงวงการอวกาศที่ไปไกลถึงขั้นค้นพบดาวดวงใหม่นอกระบบสุริยจักรวาล แต่ขณะเดียวกัน โลกของเราก็ยังมีปัญหาเดิมๆ ที่พัฒนาช้ามากๆ หรือไม่ถูกแก้ไขสักที โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ทั่วโลกมีการประท้วงเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมออกมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อน หนึ่งในมูฟเมนต์ที่น่าจับตามองและได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปีนี้คือ ‘การประท้วงในประเทศอิหร่าน’ ที่ประชาชนทั่วประเทศต่างลงถนนประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิง หลังเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาววัย 22 ปี ที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมตัวเพียงเพราะเธอสวมฮิญาบคลุมศีรษะไม่มิดชิดมากพอ นอกจากจะเรียกร้องความยุติธรรม การประท้วงครั้งนี้ยังนำไปสู่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของสตรีอิหร่าน ทั้งตัดผม เผาฮิญาบ ชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด เป็นการแสดงออกถึงความโกรธแค้นที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้เห็นมาก่อนในรัฐอิสลามแห่งนี้  มากไปกว่านั้น การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐและกฎหมายที่กดขี่เอาเปรียบผู้หญิงมาอย่างยาวนาน ยังนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่อาจเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมในสังคมอิหร่านไปตลอดกาล ชนวนประท้วงครั้งใหญ่ในอิหร่าน เริ่มกันที่สาเหตุของการลุกฮือครั้งนี้ ด้วยการย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาวชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ‘ตำรวจศีลธรรม (Morality Police)’ จับกุมตัวในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน […]

เข้าใจสิทธิกับสิ่งแวดล้อมผ่าน 4 สารคดีที่ยืนยันว่าทุกคนควรเข้าถึงอากาศสะอาด ชมฟรีที่ House Samyan 9 – 12 ธ.ค. 65

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการทรัพยากร การอพยพย้ายถิ่นฐาน สาธารณสุข และความขัดแย้งระดับนานาชาติที่ล้วนเชื่อมโยงกัน ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่จึงกลายเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองว่า การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เนื่องจากวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีตรงกับ ‘วันสิทธิมนุษยชนสากล’ เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมงาน ‘Our Right to Live on a Healthy Planet’ เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมกับสภาพภูมิอากาศให้มากขึ้น ผ่าน 4 ภาพยนตร์สารคดี ได้แก่ 1) สายเลือดแม่น้ำโขง Special : Edition (2022)ผู้กำกับ : ธีรยุทธ์ วีระคำประเทศ : ไทย 2) Losing Alaska (2018)ผู้กำกับ : ทอม เบิร์กประเทศ : ไอร์แลนด์ 3) สายน้ำติดเชื้อ (2013)ผู้กำกับ […]

“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า

“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน  ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป  “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]

HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา รวมเรื่องสั้นที่อยากชวนให้ทุกคนเลิกเหยียดและคุกคามกันได้แล้ว

โดนพ่อแม่ลงรูปถ่ายในเฟซบุ๊กโดยไม่ขออนุญาต เพื่อนพากันแซวและนินทารูปร่างหน้าตาเราในรูปที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เจอใครไม่รู้มาปล่อยเฟกนิวส์เราในอินเทอร์เน็ต ทั้งหมดนี้คือเหตุการณ์ที่เหล่านักเขียนหยิบเอามาสร้างเป็นเรื่องแต่ง (ที่หลายคนอาจเจอในชีวิตจริง) ในรวมเรื่องสั้น ‘HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา’ ของสำนักพิมพ์แซลมอน หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนบันทึกที่ถ่ายทอดความเจ็บปวดแห่งยุคสมัย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสัญญาใจที่ชวนให้ผู้คนหยุดการไซเบอร์บุลลี่ ตั้งแต่การวิจารณ์รูปร่าง การคุกคามทางเพศ การเหยียดเพศ ไปจนถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้นว่าด้วยบทสนทนาที่ลูกสาวไม่พอใจที่ครอบครัวโพสต์รูปเธอบนเฟซบุ๊ก โดย นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ หญิงสาวที่สงสัยว่าคนใกล้ตัวปลอมแอ็กเคานต์ในแอปฯ เป็นเธอ โดย โชติกา ปริณายก ข้อขัดแย้งของคนในครอบครัวที่มีต่อคุณยายที่เปิดแชนเนลเล่าเรื่องเสียว โดย จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ นิยายแชตที่บอกเล่าความรุนแรงของการปล่อยคลิปหลุดโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม โดย ตัวแม่* ไปจนถึงการ์ตูนสะท้อนความเจ็บปวดของอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับคอมเมนต์รุนแรงหยาบคาย โดย สะอาด หลังอ่านจบ เราพบว่ามีหลายส่วนของหลายเรื่องสั้นที่ทำให้เรานึกย้อนกลับไปถึงพฤติกรรมของตัวเองและคนที่เคยพบเจอ ว่าเราเคยทำอะไรแบบนี้กับใครไหม หรือเราเคยโดนใครไซเบอร์บุลลี่บ้างหรือเปล่า แล้วตอนนี้เรายังทำแบบนั้นอยู่หรือไม่ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจให้ใครเจ็บปวดก็ตาม ขณะเดียวกัน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้คนอ่านจะเป็นใครก็ได้ แต่สำหรับเรามองว่าคนอ่านวัยรุ่นน่าจะอินหรือรู้สึกแทงใจเป็นพิเศษ และคงดีไม่น้อยถ้าพวกเขาอ่านแล้วตระหนักถึงความรุนแรงของการกระทำเหล่านี้ รวมถึงพยายามชักชวนกันให้หยุดการไซเบอร์บุลลี่ในสังคม ทำความเข้าใจเรื่องไซเบอร์บุลลี่ผ่านเรื่องสั้นอ่านสนุกได้ที่ salmonbooks.net/book/harshtag/ (200 บาท)

FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

สหภาพคนทำงานชวนแสดงพลัง May Day 1 พ.ค. 65 รวมพลังคนทำงาน เดินขบวนแยกราชประสงค์

วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันแรงงานสากลหรือวัน ‘May Day’ หลายประเทศกำหนดให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อให้ทุกคนได้รำลึกถึงความสำคัญของแรงงาน เนื่องจากเมื่อราว พ.ศ. 2432 ได้มีแรงงานในสหรัฐอเมริกาลุกขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องรัฐให้กำหนดชั่วโมงทำงานสูงสุดไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง รวมถึงทบทวนสิทธิของแรงงานตามความเหมาะสม จนเกิดการปะทะกันระหว่างแรงงานและตำรวจส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย ในยุคสมัยที่สังคมไทยตื่นตัวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพ หัวข้อความเป็นธรรมของแรงงานมักถูกนำมาถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้ง ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือ ‘สหภาพคนทำงาน’ #เราทุกคนคือคนทำงาน คือแนวคิดที่สหภาพคนทำงานต้องการสื่อสารแก่แรงงานทุกคน ใครที่ใช้ฝีมือ มันสมอง เวลา และกำลังกาย เพื่อแลกค่าจ้าง คุณคือคนทำงาน และถ้าหากทุกคนรวมตัวกันก็จะสร้างอำนาจต่อรองและสถาปนาประชาธิปไตยในทุกระดับ สหภาพคนทำงานจึงเลือกใช้วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จัดกิจกรรม ‘MAY DAY รวมพลังคนทำงาน’ เพื่อตอกย้ำความตั้งใจที่อยากเห็นคนทำงานรวมตัวแสดงพลังกัน โดยเริ่มต้นกิจกรรมที่แยกราชประสงค์ฝั่ง CentralWorld เวลา 16.00 น. ก่อนจะเดินขบวนไปยังหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เพื่อเริ่มการปราศรัยและกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกและติดตามสหภาพคนทำงานได้ที่ www.linktr.ee/WorkersUnionTH นอกจากนี้ ที่เชียงใหม่ก็มีการจัด Sex work Fashion week ครั้งแรกในประเทศไทย […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.