Atelier Gardens HAUS 1 อาคารสำนักงานสีเหลืองสดใสในกรุงเบอร์ลิน ที่ทำให้การฟื้นฟูอาคารแบบยั่งยืนสนุกขึ้นได้

ปัญหาอาคารที่พบได้บ่อยคงไม่พ้นเรื่องความเสื่อมโทรมของตึกเก่า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ และขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในเมืองด้วยรูปร่างโครงสร้างอาคารที่หน้าตาเป็นบล็อกๆ เหมือนกันไปหมด แต่สำหรับอาคาร ‘HAUS 1’ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ ‘Atelier Gardens’ ของสตูดิโอภาพยนตร์ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กลับแตกต่างออกไป ด้วยฝีมือการออกแบบของสตูดิโอ Hirschmüller Schindele Architekten และ MVRDV เนื่องจากทางสตูดิโอได้เปลี่ยน HAUS 1 จากอาคารสำนักงานเก่าล้าสมัยที่สร้างขึ้นในปี 1990 ให้เป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แทนการรื้อถอน และใช้สีเหลืองสดใสเพื่อชุบชีวิตอาคารหลังนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารเองยังต่อเติมบันไดสีเหลืองซิกแซ็กแบบไดนามิกบริเวณด้านหน้าอาคาร และเมื่อเดินตามบันไดขึ้นไปบนจุดสูงสุด ก็จะพบกับดาดฟ้าบนอาคารที่มีจุดชมวิวล้อมรอบทิวทัศน์ของเมืองเบอร์ลิน อีกทั้งพื้นที่ชั้นบนของดาดฟ้ายังมีอาคารกระจกสำหรับนั่งทำงานซึ่งสร้างขึ้นจากไม้รีไซเคิล และสวนสีเขียวที่ช่วยลดความร้อนในฤดูร้อน รวมไปถึงให้ความรู้สึกดีต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ ภายใน HAUS 1 ยังเป็นสถานที่นั่งทำงานของสตูดิโอ Atelier Gardens ที่ตกแต่งผนังและเพดานจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นำกลับมารีไซเคิลเพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคาร แถมยังมีคาเฟ่คอยให้บริการแก่ชาวออฟฟิศที่อ่อนล้าจากการทำงาน HAUS 1 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอาคารสามารถทำไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนได้ ด้วยการนำโครงสร้างเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัสดุทางชีวภาพที่ทั้งทนทานและมีคุณสมบัติรีไซเคิลได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/ZPCAIMVRDV | […]

ตกแต่งออฟฟิศให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วย Parthos เสาปูนดูดซับเสียง ทำจากเศษผ้าและพลาสติกรีไซเคิล 

Narbutas แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สำหรับสำนักงานได้เปิดตัวเสาปูนดูดซับเสียงชื่อ ‘Parthos’ ลงในคอลเลกชันเฟอร์นิเจอร์ดูดซับเสียง นอกจากความแปลกใหม่ของการใช้งานแล้ว Parthos ยังถูกออกแบบให้เป็นของตกแต่งภายในสำนักงานที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับการออกแบบเสาปูนทรงมินิมอลนี้ Narbutas เลือกใช้เศษผ้าและการหุ้มภายนอกด้วยสักหลาด PET ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้การดูดซับเสียงนั้นมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Parthos มีความสูงให้เลือกทั้งหมด 3 ระดับ และสามารถใช้เป็นที่วางสิ่งของได้ เท่านั้นยังไม่พอ ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแต่งตัวเสาปูนให้เป็นแท่นชาร์จโทรศัพท์ หรือจะใช้เกี่ยวตะขอสำหรับแขวนเสื้อผ้าและกระเป๋าต่างๆ ได้เช่นกัน ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ทำให้ Parthos ตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่หลากหลาย อีกทั้งยังควบคุมปริมาณเสียงในพื้นต่างๆ ได้อย่างดี ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่น่ารื่นรมย์และมีประสิทธิภาพ

ภาวะ Burnout ไม่ใช่เรื่องตลก

หลายคนคงรู้กันแล้วว่า Burnout คือหนึ่งในภาวะความเหน็ดเหนื่อยทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับคนยุคมิลเลนเนียลและยุคอื่นๆ  เมื่อก่อนเราอาจคิดว่า Burnout เป็นแค่ชื่ออาการที่เกิดจากการทำงาน แต่ตอนนี้มันเป็นอาการที่วินิจฉัยได้แล้ว เพราะในปี 2019 คู่มือวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลก ระบุว่าเป็น ‘ความรู้สึกสูญเสียพลังงานหรืออ่อนล้า’ ‘การมีระยะห่างทางจิตใจจากงานของบุคคล’ ‘รู้สึกต่อต้านงาน มีความเห็นลบต่องาน’ และ ‘ประสิทธิภาพการทำงานลดลง’ ซึ่งในเคสเหล่านี้วินิจฉัยได้ทันที โดยคู่มือยังระบุอีกว่า ก่อนพิจารณาอาการเบิร์นเอาต์หรือหมดไฟเพราะการงาน หมอต้องแยกแยะจุดคล้ายคลึงระหว่างความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าออกจากกันก่อน และไม่ควรนำไปใช้รวมกับสถานการณ์ตึงเครียดอื่นๆ การเบิร์นเอาต์ไม่ได้จำกัดเฉพาะการทำงานในออฟฟิศ แต่ช่วงโควิดที่ทุกคนต้องทำงานที่บ้านก็เกิดอาการแบบนี้ได้เหมือนกัน อย่างในช่วงตุลาคม 2020 นิตยสาร Forbes เผยผลสำรวจที่ทำโดย FlexJobs และ Mental Health America พบว่าคนมีภาวะหมดไฟในงานกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ โดย 40 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขารู้สึกเบิร์นเอาต์ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโควิดโดยเฉพาะ  ช่วงกันยายน 2021 นักเขียนหญิง Jennifer Moss เจ้าของหนังสือ The Burnout Epidemic: The Rise of Chronic Stress and […]

ส่องสถานีรถไฟรวมมิตร Mixed-use มิกซ์พื้นที่ให้ใช้งานได้สารพัด

เพราะ ‘เมืองขยายตัว’ ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่สูงตามจึงกลายเป็นต้นตอของการมิกซ์ยูสพื้นที่ในแบบต่างๆ เช่น มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาร์ตแกลเลอรี สำนักงาน หรือลานอเนกประสงค์รวมในที่เดียว โดยการเลือกทำเล ‘มิกซ์ยูส’ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ต้องดูว่าคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่ตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ ‘สถานีรถไฟ’ เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายคมนาคมสาธารณะตั้งแต่ระดับเมืองไปจนถึงท้องถิ่น ซึ่งนอกจากมิกซ์ยูสสถานีจะช่วยกระตุ้นการขนส่งสาธารณะ ลดการก่อมลพิษ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้กับอสังหาริมทรัพย์ ยังสร้างอาชีพในพื้นที่อีกด้วย ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ของประเทศไทยเอง ก็พัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูสรูปแบบ ‘Vertical Mixed-Use Building’ คือการเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยแบ่งสัดส่วนภายในอาคารประกอบไปด้วยร้านค้า โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ใครที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นไร เราลองไปสำรวจ ‘สถานีรถไฟ’ รอบโลกกันก่อนดีกว่าว่าเขามิกซ์เข้ากับอะไรกันบ้าง | ปรับหน้าสถานีรถไฟเป็นลานสาธารณะ เราอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ ‘Assen Station’ เท่าไหร่นัก เพราะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ในเทศบาลอัสเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จำนวนผู้โดยสารต่อวันยังน้อยกว่า Rotterdam Central Station หลายพันเท่า ด้วยความไม่เป็นที่สนใจเนี่ยแหละ จึงเป็นสาเหตุให้นายกเทศมนตรีสั่งรีโนเวตเสียใหม่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.