ความงามเป็นของทุกคน Celine เครื่องสำอางฮาลาลที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิม

Urban Creature x UN Women คนจะงาม งามที่ใจใช่ใบหน้า ทำไมสุภาษิตไทยช่างไม่เข้าใจแล้วก็ใจร้ายใจดำกับพวกเราได้ขนาดนี้ ยิ่งในยุคปัจจุบันก็ต้องบอกว่าเราเชื่อเหลือเกินว่า ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงหรือใครคนใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะดูดีในแบบของตัวเองทั้งนั้น และสำหรับญาญ่า-สุไรยา แวอุเซ็ง เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางฮาลาล Celine และบรรดาสาวงามทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ถ้าได้ความสวยงามที่มาพร้อมความสบายใจ ก็คงไม่ได้ขออะไรไปมากกว่านี้อีกแล้ว Celine คือเครื่องสำอางที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนสามจังหวัดโดยแท้จริง อย่างแรกคือผลิตมาแบบหลักศาสนาจะได้ใช้งานกันอย่างสบายใจ อย่างที่สองคือตอบโจทย์ด้านสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดในเวลากลางวัน และหนาวเย็นในเวลากลางคืน ทำให้เหมาะกับพื้นที่มากกว่าเครื่องสำอางยี่ห้ออื่นตามท้องตลาด “เราปิดหน้าแต่ก็ยังปัดแก้ม ทาปาก แต่งหน้าอยู่นะ” ญาญ่าเล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดี และบอกว่าสำหรับเธอสิ่งสำคัญที่สุดของ Celine อาจจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิมลุกขึ้นมาดูแลตัวเองมากกว่าเรื่องของธุรกิจเสียอีก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของ Celine เป็นเรื่องธรรมดา ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง Celine มีตำราธุรกิจที่เข้ากับพื้นที่อย่างมาก เพราะมีวิธีการขายแบบสามจังหวัดชายแดนใต้ แบบฉบับที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและใกล้ชิด แถมธุรกิจนี้ยังช่วยสร้างอาชีพให้กับเหล่าแม่บ้านมุสลิม และส่งออกไปยังประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอีกมากมาย  มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า เครื่องสำอางก็มีมาตรฐานฮาลาลเหมือนอาหารด้วยหรือ หรือว่าทำไมผู้หญิงที่ใส่ฮิญาบต้องแต่งหน้าด้วย เราชวนมาทำความเข้าใจบริบทนี้ไปพร้อมกัน ด้วยเนื้อหาข้างล่างนี้เลย  สาวงามสามจังหวัด หญิงสาวในผ้าคลุมฮิญาบเล่าให้พวกเราฟังว่า ย้อนกลับไปราว 10 ปีที่แล้ว เครื่องสำอางที่มีตราฮาลาลยังไม่มีวางขายตามท้องตลาด มีแต่สินค้าประเภทเคาน์เตอร์แบรนด์ ซึ่งไม่ทราบว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง และไม่มั่นใจว่าจะถูกต้องตามหลักศาสนาหรือเปล่า […]

‘พังก์ปาตานี’ 15 ปีแห่งวัฒนธรรมพังก์ร็อกกระแทกใจวัยรุ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้

ดนตรีอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ทว่าช่วงหนึ่งดนตรีและวัฒนธรรมพังก์กลับเคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนที่เรียกว่า ‘ปาตานี’ ‘ปาตานี’ ในภาษามลายู เป็นชื่อเรียกพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งสี่จังหวัดอยู่ติดกันบริเวณชายแดนสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย ส่วน ‘พังก์’ คือ Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเฉพาะความเฟื่องฟูช่วงปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บทเพลงเหล่านี้สอดแทรกนัยความขบถ การต่อต้านเชิงอำนาจที่แสดงผ่านพฤติกรรม การแต่งตัว การแต่งหน้า การทำผม การสักลาย และแน่นอน พังก์คือหนึ่งในแนวดนตรีร็อก มีจังหวะดิบๆ และเดือดดาล ส่งเสียงการขับร้องและการเล่นดนตรีอย่างเมามันเป็นเอกลักษณ์ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘พังก์ปาตานี’ วัฒนธรรมที่เคยผลิบานสุดๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างราวปี 1995 จนกระทั่งถึงช่วงราวปี 2010 รวมระยะเวลากว่า 15 ปี ที่วัฒนธรรมได้โลดแล่นสร้างสีสันให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้ปลดปล่อยความขบถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลออนไลน์อย่างในปัจจุบัน เราคงได้เห็นภาพความสนุกสนานวาดลวดลายอย่างทั่วถึง แต่ด้วยยุคสมัย ภาพของชาวพังก์ปาตานีจึงหลงเหลือเพียงเศษเสี้ยวกระจัดกระจาย บ้างบนภาพถ่ายฟิล์ม บ้างในคลิปวิดีโอจากกล้อง Handycam และส่วนสำคัญคือความทรงจำในเนื้อตัวของชาวพังก์ร่วมสมัยที่เติบใหญ่จนมีอายุกลาง 30 ถึงปลาย 40 กว่าๆ  […]

‘STOP! TORTURE’นิทรรศการจาก Patani Artspace ที่เรียกร้องให้ยุติอุ้มหาย-ซ้อมทรมาน

STOP! TORTURE นิทรรศการจาก Patani Artspace ที่ชวนเปิดตระหนักปัญหาอุ้มหาย-ซ้อมทรมานในสามจังหวัดชายแดนใต้และประเทศไทย เพื่อแสวงหาทางออกสู่การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ฟังเสียง 17 ปีความเจ็บปวดของคนสามจังหวัดชายแดนใต้

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นวันครบรอบ 17 ปี ของเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หนึ่งในโศกนาฏกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสร้างแรงกระเพื่อมให้กับชีวิตของผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 17 ปีแล้ว ที่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ยังคงคุกรุ่นเสมอมา และ 17 คือจำนวนปีทั้งหมดที่รัฐไทยตัดสินใจใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ ก่อนปรับเป็นการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ซึ่งยังคงถูกบังคับใช้ และต่ออายุทุกๆ 3 เดือนจนกระทั่งปัจจุบัน และช่วงเวลาอันยาวนานนี้เองที่ผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดฯ ไม่เคยได้เลือกกำหนดชีวิตตัวเอง และอยู่ภายใต้ความ ‘ผิดปกติ’ จนกลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ นำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่าเราทุกคนเคยรู้ไหมว่า #คนที่สามจังหวัดเป็นยังไงบ้าง ในมุมมองของคนเมืองอย่างเราๆ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือคำว่า ‘ความรุนแรง’ ที่เกือบทั้งหมดระบุไม่ได้ชัดเจนว่า ความรุนแรงนี้เกิดจากใคร? ฝ่ายใดเป็นผู้กระทำผิด? หรือควรมีทางออกร่วมกันอย่างไร? ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงอยู่ภายใต้พื้นที่สีเทาที่คลุมเครือ เพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกพูดถึง ทำความเข้าใจ และร่วมหาทางแก้ไขมากขึ้น ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ (Peace Resource Collaborative; PRC) จึงอยากให้ทุกคนเริ่มต้นรับฟัง […]

Land of lost ภาพสะท้อนชีวิตคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ที่ไม่อาจเติบโตเพราะเหตุการณ์ความรุนแรง

เด็กสาว ระเบิด และพื้นที่บ้านเกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต คือผลงานภาพถ่ายของ สกีฟา วิถีกุล มุสลิมปลายด้ามขวานที่อยากบอกเล่าถึงความผิดปกติที่กลายเป็นความปกติในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย จนทำให้เธอ และคนรุ่นใหม่ เสียหลายโอกาสในอีกช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต จนไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคง เธอจึงอยากใช้ภาพถ่ายชุดนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่เกิดให้คนนอกด้ามขวานรับรู้ แม้จะรู้ว่าต่อให้ใช้ภาพมากมายเท่าไร ความรุนแรงที่เกิดคงไม่สงบลง “‘จะต้องมีสักคนทำเรื่องนี้ คนที่จะกล้าแสดงมันออกมาไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม’ คือคำแนะนำจากอาจารย์ซึ่งเป็นชนวนของการขุดคุ้ยความอัดอั้นตันใจต่อความรุนแรงที่เกิด ในพื้นที่บ้านเกิดจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงเก็บเอาประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอในรูปแบบของการถ่ายภาพเชิงศิลป์ “Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต จึงกลายเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สาขาการถ่ายภาพ ที่บอกเล่ามุมมองของตัวเราเอง พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ ความเคยชินที่เราอยู่กับการไร้อิสรภาพ การถูกกักขัง ความกลัว ความเจ็บปวด หรือแม้แต่ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดกับพี่น้องในพื้นที่ ประกอบเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แทนค่าสิ่งนามธรรมจนเกิดเป็นรูปธรรมในผลงานชิ้นนี้ “ความไม่สงบใน ‘ดินแดน’ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้ ‘ต้นกล้า’ ต้นเล็กอย่างเราไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคงเท่านั้น เมื่อมองให้กว้างขึ้น เราจะเห็นต้นกล้าที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ไม่อาจเบ่งบานได้อย่างที่ควรเป็น เราต่างหวาดกลัวที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จนไม่กล้าที่จะริเริ่ม หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำให้เสียโอกาสในช่วงชีวิตที่ดีที่สุดไป “เมื่อเหตุการณ์ยังคงอยู่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.