เรียนรู้พื้นที่สุขภาวะผ่านสิ่งพิมพ์กับนิตยสาร ‘Healthy Space for all’ ที่อยากสื่อสารให้คนเมืองมีสุขภาพดี

การที่เมืองมี ‘พื้นที่สุขภาวะ’ (Healthy Space) หรือพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน ที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้งานและทำกิจกรรมร่วมกัน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ‘สุขภาพ’ ของคนในสังคมดีขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเรื่องพื้นที่สุขภาวะให้มากขึ้นและสนุกไปพร้อมๆ กัน Healthy Space for all ที่ดำเนินงานโดยศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดตัวนิตยสารน้องใหม่ในชื่อ Healthy Space for all ธีมของเล่มแรกคือ ‘Healthy Space for all : Vol.1 Hello! ยินดีที่ได้รู้จัก’ ที่จะพาทุกคนไปเพลิดเพลินและล้วงลึกความรู้เกี่ยวกับพื้นที่สุขภาวะและบทบาทในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะของ สสส. ภายในเล่มมีเนื้อหาน่าอ่านมากมาย ตั้งแต่การให้คำนิยามคำว่าพื้นที่สุขภาวะ บทสัมภาษณ์จากศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง คอลัมน์ลัดเลาะไปยังพื้นที่น่าสนใจต่างๆ ภายในเมือง รวมไปถึงเกมบิงโกน่ารักๆ ให้เล่น และภาพระบายสีให้เราได้ย้อนวัยกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ใครที่อยากอ่านนิตยสารแบบเต็มๆ ติดตามรอฉบับออนไลน์ได้ที่หน้าเพจ Healthy Space for all หรือเว็บไซต์ paarchive.com

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.