Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

Urban Playground แปลงร่างบล็อกสี่เหลี่ยมให้เป็นสนามเด็กเล่น เปลี่ยนใจกลางลอนดอนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ใครจะคิดว่าแค่บล็อกสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 ชิ้นใหญ่ก็สามารถแปลงร่างเป็นชิ้นส่วนสนามเด็กเล่นสำหรับเสริมสร้างจินตนาการเด็กในกรุงลอนดอนได้แล้ว ‘Urban Playground’ เป็นผลงานทดลองการออกแบบสนามเด็กเล่นที่เคลื่อนที่ได้จากฝีมือของ ‘McCloy + Muchemwa’ สองนักออกแบบที่เปิดสตูดิโอร่วมกันเพื่อสำรวจการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ และร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในการออกแบบโครงการสาธารณะด้วยแนวคิดที่น่าสนใจ ครั้งนี้ทั้งสองคนหยิบเอาแรงบันดาลใจจากของเล่นไม้สำหรับเด็กที่มีชิ้นส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกันได้มาใช้ในการออกแบบสนามเด็กเล่นแห่งนี้ โดยบล็อกแรกถูกแกะสลักเป็นรูปทรงโค้ง ในขณะที่อีกชิ้นเป็นรูปทรงตัด ซึ่งสามารถดึงชิ้นส่วนออกมาตั้งตามพื้นที่ต่างๆ ภายในสวนเพื่อให้เด็กได้ปีนป่ายหรือนั่งเล่นอย่างอิสระ McCloy + Muchemwa กล่าวว่า สนามเด็กเล่น Urban Playground นี้ไม่มีวิธีการเล่นที่ถูกผิดหรือตายตัว เพราะพวกเขาออกแบบมาให้ใช้งานแต่ละชิ้นส่วนได้อย่างอิสระ เพื่อจุดประสงค์หลักคือการเสริมสร้างจินตนาการผ่านการเล่นภายใต้กรอบการทำงานที่ยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังไม่ต้องกลัวว่าอุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอันตรายกับเด็กๆ เพราะโครงของเครื่องเล่นทำขึ้นจากแผ่นไม้อัด OSB (Oriented Strand Board) ที่หุ้มด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างกระเบื้องยางที่ผลิตแบบ CO2 Neutral และแผ่นไม้ก๊อกที่ผ่านการอบด้วยความร้อนตามธรรมชาติแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับสัมผัสและประสบการณ์ในการเล่นของเล่น ให้เด็กๆ ได้ใกล้ชิดกับวัสดุธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงสร้างบรรยากาศในย่านธุรกิจใจกลางกรุงลอนดอนให้กลับมาคึกคักและสนุกสนานด้วยเสียงหัวเราะของเด็กๆ อีกครั้ง Sources : ArchDaily | t.ly/qVc4aMcCloy + Muchemwa | www.mccloymuchemwa.com

Mamkkeot House สนามเด็กเล่นที่ไม่มีเครื่องเล่นในเกาหลีใต้ พื้นที่ที่สร้างให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกอย่างเป็นอิสระ

ในยุคที่เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น เมืองขยายตัวขึ้น พื้นที่ที่เด็กๆ วิ่งเล่นได้อย่างอิสระกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพื่อแก้ปัญหานี้ บริษัทสถาปนิกในเกาหลีใต้ชื่อ ‘ilsangarchitects’ จึงสร้าง ‘Mamkkeot House’ หรือสนามเด็กเล่นที่ไม่มีเครื่องเล่นขึ้นมา เพื่อให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่เล่นสนุกอย่างเต็มที่ โดยสถาปนิกเล่าว่า โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างเมืองจอนจู (Jeonju) และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) เพื่อเปลี่ยนสระน้ำกลางแจ้งที่ถูกทิ้งร้างนาน 30 ปีให้กลับมามีชีวิตชีวาและกลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับเด็กๆ ในเมืองอีกครั้งหนึ่ง สระน้ำร้างใน Doekjin Park สวนสาธารณะกลางเมืองจอนจู ถูกชุบชีวิตใหม่จนกลายเป็นสนามเด็กเล่น Mamkkeot House ซึ่งจุดเด่นของที่นี่ไม่ได้อยู่ที่ตัวสถาปัตยกรรม แต่อยู่ที่ภูมิทัศน์มากกว่า เพราะสถาปนิกของโครงการตั้งใจออกแบบให้ Mamkkeot เป็นพื้นที่วิ่งเล่นขนาดใหญ่มากกว่าที่จะเป็นเพียงอาคารหลังหนึ่ง แม้ตัวอาคารจะเป็นพื้นที่ส่วนน้อยของโครงการ แต่ก็ถูกออกแบบมาอย่างประณีต โดยเลือกใช้โครงสร้างไม้ Glulam ทรงจั่วครอบบนทางเดินชั้นลอยเพื่อสร้างร่มเงา รวมถึงทำหน้าที่เป็นราวจับที่เพิ่มความปลอดภัย รองรับการเล่นที่หลากหลาย ส่วนพื้นที่ใช้สอยหลักทั้งชั้นบนและชั้นล่างยังถูกออกแบบให้เป็นห้องกระจกที่ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ การออกแบบ Mamkkeot House ยังตั้งใจลดพื้นที่ในร่มให้เหลือน้อยที่สุด และทำให้พื้นที่ในร่มรู้สึกเหมือนอยู่กลางแจ้ง รวมถึงพยายามทำให้เด็กได้สัมผัสภาพและเสียงของสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยการสร้างพื้นที่โล่งที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เชื่อมต่อกับโลกนอกห้องเรียน สามารถวิ่งเล่นเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและมีข้อจำกัดน้อยที่สุด Source :ArchDaily | […]

Little Stove & Little Stump สนามเด็กเล่นและคาเฟ่ที่อยากให้ครอบครัวใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน

กลิ่นขนมปังอบสดใหม่ลอยจางๆ ในอากาศ ลาเต้ร้อนแก้วหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า เรายกขึ้นจิบเชื่องช้า ละเลียดรสขมจากกาแฟที่เบลนด์กับความหวานของน้ำผึ้งได้พอดี ความง่วงงุนจากการออกเดินทางแต่เช้าหายเป็นปลิดทิ้ง “เดือนนี้มีวันพิเศษคือวันผึ้งโลก เราอยากให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสนามเด็กเล่นจะมีเวิร์กช็อปที่สอนเด็กๆ เรื่องนี้ ส่วนคาเฟ่ก็จะทำเมนูที่อินสไปร์ควบคู่ไปด้วยกัน” หญิงสาวคนคิดเมนูอธิบายให้ฟัง หญิงสาวคนนี้คือ ‘พีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ’ หุ้นส่วน ‘คาเฟ่’ ที่เสิร์ฟกาแฟให้เรา ส่วนที่นั่งข้างกันคือ ‘พราว พุทธิธรกุล’ หุ้นส่วน ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เพิ่งถูกพูดถึง Little Stove & Little Stump คือชื่อของคาเฟ่และสนามเด็กเล่นแห่งนี้ และถึงแม้จะตั้งชื่อแยกกันชัดเจน ทว่าทั้งสองร้านตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นั่นคือลานกว้างริมคลองบางมดในย่านพระราม 2 ที่มีต้นไทรเก่าแก่ตั้งอยู่เด่นหรา รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ผิดแน่ว่าเป็นความตั้งใจ พวกเธออยากให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ใช้เวลาร่วมกันได้ แต่มากกว่านั้น-ในฐานะแม่ของลูก-พวกเธออยากให้ผู้ใหญ่ไม่พลาดโมเมนต์สำคัญของเด็ก เช้าวันนี้ที่ไร้เสียงเจี๊ยวจ๊าวของน้องๆ เราเอ่ยปากขอให้พวกเธอพาทัวร์คาเฟ่และสนามเด็กเล่นพร้อมกับเล่าเรื่องราวเบื้องหลัง ท่ามกลางกลิ่นขนมปังอบสดใหม่และสีเขียวของพรรณไม้ Little Bond ย้อนกลับไปหลายปีก่อน พีชกับพราวรู้จักกันผ่านสามีที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่เจอกันบ่อยจนกลายเป็นเพื่อนสาวคนสนิท แชร์ความชอบ ความฝัน และเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้กัน ยิ่งได้มีลูกในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันก็ยิ่งเข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น หนึ่งในความฝันที่ทั้งสองคนแชร์กันบ่อยๆ คือ ถ้ามีลูก […]

Rocks on Wheels สนามเด็กเล่นก้อนหินในเมืองเมลเบิร์น ให้เด็กได้ปีนป่ายและผจญภัยไปกับพื้นที่เสี่ยง

สนามเด็กเล่นที่ดีนอกจากจะทำให้เด็กได้เล่นสนุกแล้ว ยังเสริมสร้างประสบการณ์และช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เราเลยอยากชวนมาดูว่าสนามเด็กเล่นในเมืองที่น่าอยู่ติดอันดับต้นของโลกอย่าง ‘เมลเบิร์น’ ประเทศออสเตรเลียนั้นเป็นอย่างไร  ‘Rocks on Wheels’ คือสนามเด็กเล่นที่ออกแบบโดยศิลปิน Installation Art ชาวนิวซีแลนด์อย่าง ‘Mike Hewson’ สนามแห่งนี้แตกต่างจากสถานที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กทั่วไป เพราะเต็มไปด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ 24 ก้อน ซึ่งถูกจัดวางไว้บนพื้นที่ของ Southbank Boulevard แลนด์มาร์กอีกแห่งในเมลเบิร์น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กๆ ได้ออกไปวิ่งเล่น ปีนป่ายอย่างอิสระในพื้นที่เสี่ยงที่ออกแบบไว้ให้กับความสนุกสนาน สนามเด็กเล่นแห่งนี้มีเครื่องเล่นหลายประเภท เช่น สไลเดอร์ ชิงช้า บาร์โหน เชือก และบ่อทราย ที่นำมาวางเชื่อมกันจนเกิดเป็นสนามเด็กเล่นที่มีพื้นที่กว้างขวาง โดยเครื่องเล่นต่างๆ ถูกนำมาติดตั้งไว้กับก้อนหินด้วยวิธีการยึดติดที่มั่นคง และยังมีเศษชิ้นส่วนจากการก่อสร้างตามซอกหลืบของก้อนหินซึ่งทำหน้าที่เป็นที่จับสำหรับเด็กๆ ที่ชื่นชอบปีนป่ายห้อยโหนผจญภัย ที่น่าสนใจก็คือ ก้อนหินขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่ได้วางอยู่แน่นิ่ง แต่ถูกจัดวางอยู่บนชุดล้อเลื่อนที่รองรับน้ำหนักได้ดี โดยตั้งอยู่บนพื้นยางแบบนิ่มกันลื่นที่ออกแบบให้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับทางเท้าที่พบเห็นได้ในเมืองแห่งนี้ และในพื้นที่รอบๆ สนามเด็กเล่นยังมีวัตถุขนาดเล็กหลายชิ้นที่ถูกซ่อนไว้ทั่วโครงการ เช่น แก๊งสัตว์จิ๋ว รถของเล่น ของใช้ในบ้าน และอื่นๆ เพื่อเป็นรางวัลให้กับการสำรวจของนักผจญภัยตัวน้อยทั้งหลายด้วย หากมองดูจากรูปภาพ สนามเด็กเล่นแห่งนี้ดูเสี่ยงและน่าหวาดเสียวว่าเด็กๆ อาจจะเกิดอันตรายได้ แต่ทาง Jocelyn Chiew […]

The Playscape เปลี่ยนโกดังสินค้าเก่าปี 1970 เป็น ‘ศูนย์การเล่น’ ของเด็กในปักกิ่ง

สนามเด็กเล่นไม่ได้มีแค่กองทราย สไลเดอร์ หรือม้าหมุนเท่านั้น เพราะการเล่นของเด็กสามารถออกแบบให้สนุก สร้างสรรค์ แถมยังปลอดภัยได้มากกว่าที่คิด  ภาพภูมิทัศน์ของลานปูนที่ดูลื่นไหลเหมือนคลื่นลูกน้อยใหญ่สลับกัน และท่อสีขาวที่เชื่อมต่อกันไปมาจากตัวอาคาร ที่เห็นอยู่ในภาพนี้คือ Children’s Community Centre หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น ‘ศูนย์การเล่น’ ของเด็กในมณฑลเฉาหยาง เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ที่มีชื่อว่า ‘The Playscape’ โครงการรีโนเวตโกดังสินค้าเก่าตั้งแต่ปี 1970 ของ We Architech Anonymous (WAA) ทีมสถาปนิกชาวจีนที่เนรมิตพื้นที่ขนาด 3,921.26 ตารางเมตร ให้ออกมาเป็นลานเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและฝึกประสาทสัมผัสของเด็กผ่านประสบการณ์จริง โกดังแห่งนี้สร้างขึ้นในปี 1970 เพื่อจัดเก็บและขนส่งธัญพืช ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงปักกิ่ง บริเวณโดยรอบเป็นอาคารใช้เป็นที่เก็บสินค้า ส่วนตรงกลางเป็นคอร์ตยาร์ด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของสถาปัตยกรรมจีนที่มีมาตั้งแต่โบราณ และยังคงโครงสร้างเดิมไว้แม้จะมีการรีโนเวตเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานแล้ว ซึ่งลูกค้าของโปรเจกต์นี้คือ Beijing NuanQin ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ที่เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการการเคลื่อนไหว สำหรับเด็กในทุกกลุ่มอายุ ทำให้การรีโนเวตครั้งนี้ไม่ใช่แค่ทำให้สวยและสนุกเท่านั้น แต่ยังต้องช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ให้กับเด็กได้จริงด้วย  ภายใต้เงื่อนไขที่มี WAA จึงออกแบบให้ลานเด็กเล่นในชานเมืองแห่งนี้ตอบโจทย์การพัฒนาเด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งมักจะขาดพื้นที่เล่นทางกายภาพ เล่นในร่มมากกว่ากลางแจ้ง และโตมากับหน้าจอมากกว่าการใช้ชีวิตนอกบ้าน WAA […]

สนามเด็กเล่นบัวกระด้ง สนุกห่างๆ อย่างปลอดเชื้อ

การมีพื้นที่สาธารณะดีๆ อย่าง ‘สนามเด็กเล่น’ ให้เด็กได้เล่นกัน นอกจากร่างกายจะแข็งแรงขึ้นแล้ว คุณภาพชีวิตก็ยังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่ในช่วงนี้ที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด พื้นที่เหล่านี้เลยต้องถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างไร้ประโยชน์ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มี ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เด็กจะได้สนุกเหมือนเดิม แต่ก็ต้องมีอะไรมาป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคด้วยล่ะ ? นี่คือโจทย์ที่ Martin Binder และ Claudio Rimmele นักออกแบบชาวเยอรมันใช้เพื่อดีไซน์ ‘สนามเด็กเล่นปลอดเชื้อ’ สนามเด็กเล่นที่ว่านี้ชื่อ ‘Rimbin’ ซึ่งมาจากชื่อของ 2 นักออกแบบ โดยพวกเขาตั้งใจให้มีรูปทรงคล้ายบัวกระด้ง เพราะนอกจากจะเป็นรูปทรงที่รองรับน้ำหนักได้มากแล้ว ยังดูเป็นสัดส่วน และแบ่งเป็นโซนชัดเจน ซึ่งเข้ากับสถานการณ์ที่เด็กยังถึงเนื้อถึงตัวกันไม่ได้มาก เด็กๆ จะมีโซนเล่นเป็นของตัวเอง และมีทางเดินที่พาไปสู่การแยก ทำให้ไร้กังวลเรื่องการสัมผัสตัวกัน แต่ยังสามารถพูดคุยและมองเห็นกันได้ในระยะที่ปลอดภัย และในจุดที่ต้องมีการสัมผัส ก็จะมีการติดตั้งตู้จ่ายน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อช่วยทำความสะอาด “ตอนนี้ในเยอรมนีจะเปิดให้ใช้สนามเด็กเล่นแล้ว แต่หลายคนก็ยังกลัวเสี่ยงติดเชื้ออยู่ อย่างไรก็ตามเด็กยังจำเป็นต้องมีพื้นที่กลางแจ้งเพื่อเล่นสนุกและโต้ตอบกัน เพราะมันสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และสังคม” นักออกแบบกล่าว แม้สวนสนุกรูปกระด้ง Rimbin จะยังเป็นเพียงไอเดีย แต่ในอนาคตจะมีการพัฒนาด้านวัสดุที่จะนำมาใช้ให้มีความคงทน แข็งแรง และที่สำคัญต้องเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งเหล่านี้เป็นความตั้งใจของนักออกแบบที่คิดในระยะยาว และมองว่าโรคระบาดอาจกลับมาอีกในอนาคต SOURCE […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.