ส่องสถานีรถไฟรวมมิตร Mixed-use มิกซ์พื้นที่ให้ใช้งานได้สารพัด

เพราะ ‘เมืองขยายตัว’ ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่สูงตามจึงกลายเป็นต้นตอของการมิกซ์ยูสพื้นที่ในแบบต่างๆ เช่น มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาร์ตแกลเลอรี สำนักงาน หรือลานอเนกประสงค์รวมในที่เดียว โดยการเลือกทำเล ‘มิกซ์ยูส’ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ต้องดูว่าคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่ตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ ‘สถานีรถไฟ’ เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายคมนาคมสาธารณะตั้งแต่ระดับเมืองไปจนถึงท้องถิ่น ซึ่งนอกจากมิกซ์ยูสสถานีจะช่วยกระตุ้นการขนส่งสาธารณะ ลดการก่อมลพิษ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้กับอสังหาริมทรัพย์ ยังสร้างอาชีพในพื้นที่อีกด้วย ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ของประเทศไทยเอง ก็พัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูสรูปแบบ ‘Vertical Mixed-Use Building’ คือการเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยแบ่งสัดส่วนภายในอาคารประกอบไปด้วยร้านค้า โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ใครที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นไร เราลองไปสำรวจ ‘สถานีรถไฟ’ รอบโลกกันก่อนดีกว่าว่าเขามิกซ์เข้ากับอะไรกันบ้าง | ปรับหน้าสถานีรถไฟเป็นลานสาธารณะ เราอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ ‘Assen Station’ เท่าไหร่นัก เพราะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ในเทศบาลอัสเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จำนวนผู้โดยสารต่อวันยังน้อยกว่า Rotterdam Central Station หลายพันเท่า ด้วยความไม่เป็นที่สนใจเนี่ยแหละ จึงเป็นสาเหตุให้นายกเทศมนตรีสั่งรีโนเวตเสียใหม่ […]

หยุดยืนหรือแบ่งช่องเดิน? ใช้บันไดเลื่อนยังไงให้ว่องไวและปลอดภัยที่สุด

ช่วงเวลาไพร์มไทม์บนสถานีรถไฟฟ้าของมนุษย์เงินเดือน ต้องเข้าแถวเรียงเดี่ยวชิดขวา ปล่อยบันไดเลื่อนฝั่งซ้ายโล่งโจ้งเพื่อเป็นช่องทางเร่งด่วนให้คนรีบทำเวลา แต่การแบ่งฝั่งให้คนยืนและเดินช่วยเคลื่อนย้ายคนได้เยอะจริงหรือเปล่า ความน่าสนใจของข้อสันนิษฐานนี้ คือข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ‘Estimation of Capacity of Escalators in London Underground’ โดย Paul Davis และ Goutam Dutta ที่ลงพื้นที่สำรวจสถานีรถไฟใต้ดิน ‘Holborn Station’ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานมากถึงปีละ 56 ล้านคน พบว่ามีการแบ่งฝั่งบันไดเลื่อนสำหรับการเดินและยืน คำนวณจากความยาวบันไดเลื่อน 24 เมตร ฝั่งเดินใช้เวลา 46 วินาที และฝั่งยืนใช้เวลา 138 วินาที เพื่อไปถึงที่หมาย  Paul Davis และ Goutam Dutta สองนักวิจัยไหว้วานให้นายสถานีขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ยืนทั้งสองฝั่งบันไดเลื่อน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ยังเผลอยืนแบ่งฝั่งด้วยความเคยชินก็ตาม แต่ผลสรุปของพวกเขาพบว่า การยืนทั้งสองฝั่งใช้เวลา 59 วินาทีเพื่อไปถึงที่หมาย นั่นหมายความว่าฝั่งคนเดินจะเสียเวลาเพิ่ม 13 วินาที แต่คนยืนจะลดเวลาได้มากถึง 79 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.