‘สถานีกลางบางซื่อ’ จากชุมทางสู่จุดเชื่อมขนส่งมวลชนที่มีชื่อใหม่ ‘กรุงเทพอภิวัฒน์’

ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยเดินทางไปมาเลเซียครั้งแรกช่วงปี 2559 รู้สึกประทับใจกับความเป็นระบบระเบียบของระบบขนส่งมวลชนในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ระบบขนส่งมวลชนที่ว่าคือรถไฟฟ้าบนดินที่แผนผังและกระบวนการซื้อตั๋วนั้นเข้าใจง่าย และยิ่งประทับใจมากขึ้นเมื่อเดินทางไปต่อรถที่ KL Sentral หรือศูนย์กลางของระบบทั้งหลายทั้งปวง ใครจะเปลี่ยนสายรถไฟ ต่อรถไปสนามบิน หรือหารถบัสไปรัฐอื่นต้องมาลงที่นี่ บรรยากาศภายใน KL Sentral จึงไม่เคยว่างเว้นจากผู้คนที่เดินขวักไขว่กันไปมาราวกับมดงาน ภายในมีร้านอาหาร ร้านค้าให้ช้อปปิงรอเวลาพอประมาณ รวมถึงใครจะนัดเจอเพื่อนหรือนัดรับญาติที่มาจากต่างเมืองก็มากันที่นี่ หลังจากทริปนั้นผู้เขียนมีโอกาสได้กลับไปมาเลเซียอีก 2 ครั้งในช่วง 2 ปี และทุกครั้งก็ต้องมาเยือน KL Sentral เพื่อต่อรถรา  ที่เล่าเรื่องของ KL Sentral เพราะในตอนนี้กรุงเทพฯ ก็มีสถานที่แบบนั้นแล้วในชื่อของ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ หรือ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ สถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯ ที่เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อปี 2564 แทนสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่กำลังถูกลดบทบาทลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นยังพ่วงเป็นจุดเปลี่ยนสายของรถไฟฟ้าไปด้วย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่ค่อนไปทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ สถานีกลางบางซื่อเป็นประตูเปิดขึ้นไปยังจังหวัดปทุมธานี เส้นทางที่เปิดใช้งานแล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มที่มุ่งตรงไปยังหลักสี่ ดอนเมือง และแถวรังสิต ซึ่งในอนาคตทางการมีแผนจะขยายต่อไปให้ถึงอยุธยา  ส่วนทิศอื่นๆ เช่น ตะวันออก บางซื่อก็ขยายต่อไปถึงฉะเชิงเทราได้ ในขณะที่ตะวันตกไปต่อได้ถึงนนทบุรีและนครปฐม เรียกได้ว่าด้วยตำแหน่งที่ตั้งของสถานีกลางบางซื่อ […]

อ่านอนาคต พบปะนักเขียน ตามเก็บ NFT ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ

จะมีอะไรดีไปกว่าการซื้อหนังสือแล้วได้พูดคุยกับนักเขียนและคนทำสำนักพิมพ์ไปด้วย เพราะการได้รู้เบื้องหลังและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของหนังสือเล่มนั้น จะยิ่งทำให้การอ่านสนุกขึ้น! หลังจากต้องย้ายไปจัดงานแบบออนไลน์มากว่า 2 ปี ในที่สุดปีนี้งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติก็ได้กลับมาจัดในรูปแบบออนไซต์บนสถานที่แห่งใหม่ ใหญ่โตกว้างขวาง เดินทางสะดวกอย่างสถานีกลางบางซื่อ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 มาในธีม ‘อ่านอนาคต’ กับแนวคิดที่ว่า เมื่อเริ่มอ่าน อนาคตของเราก็เกิดขึ้น โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะในแง่ของความรู้ แต่ยังรวมไปถึงแง่การออกเดินทาง สำรวจตัวเอง และเติมพลังใจ ความพิเศษของงานสัปดาห์หนังสือฯ ครั้งนี้ นอกจากกิจกรรมสนุกๆ อย่างนิทรรศการหนังสือ เสวนา เวิร์กช็อป รวมถึงกองทัพหนังสือที่เหล่าสำนักพิมพ์นำไปจำหน่ายให้ชาวนักอ่านอย่างจัดเต็มเหมือนครั้งก่อนๆ แล้ว ตัวงานยังย้ายมาจัดในสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย ทำให้บรรยากาศงานมีความแปลกใหม่กว่าทุกครั้ง แถมเดินทางง่าย ใครที่ยังไม่ได้ไปงานสัปดาห์หนังสือฯ หรือเป็นชาวบ้านไกลที่สั่งหนังสือออนไลน์แล้วสะดวกกว่า เราไปตะลุยเปิดแมปสำรวจจุดที่น่าสนใจในงานให้แล้ว ลง MRT สถานีกลางบางซื่อแล้วตามมาเลย คว้าแผนที่แล้วออกไปตะลุยงานหนังสือกัน ด้วยความที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ จัดที่สถานีกลางบางซื่อ ทำให้ค่อนข้างสะดวกต่อการเดินทาง มาด้วยขนส่งสาธารณะอย่าง BTS, MRT หรือรถเมล์ก็ได้ หรือจะขับขี่รถส่วนตัวมาก็ไม่มีปัญหา ที่นี่มีพื้นที่รองรับรถกว่าพันคัน แถมยังไม่ต้องตรวจ ATK […]

งานหนังสือที่ใหญ่ที่สุดกลับมาออนไซต์แล้ว งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 26 มี.ค. – 6 เม.ย. 65 สถานีกลางบางซื่อ

หลังจากต้องย้ายไปจัดงานแบบออนไลน์มากว่า 2 ปีจากสถานการณ์โควิด-19 ในที่สุดปีนี้งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติก็ได้กลับมาจัดในรูปแบบออนไซต์แล้ว ใครที่คิดถึงบรรยากาศการต่อแถวเข้างานหนังสือ เดินช้อปปิงหนังสือแบบมีหมื่นหมดหมื่น เมาท์กระจายกับชาวนักอ่านและคนทำหนังสือ หรือการไปต่อแถวล่าลายเซ็นจากนักเขียนคนโปรด เตรียมตัวกลับไปสัมผัสประสบการณ์นั้นได้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 26 มีนาคม – 6 เมษายน 2565 ที่ สถานีกลางบางซื่อ ครั้งนี้ งานสัปดาห์ฯ มาในธีม ‘อ่านอนาคต’ กับแนวคิดเมื่อเริ่มอ่าน อนาคตของเราก็เกิดขึ้น เนื่องจากการอ่านหนังสือไม่ต่างกับการเดินทาง ที่พาผู้อ่านไปจุดหมายใหม่ๆ ได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตัวตน เติมพลังใจ หรือการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ นอกจากกิจกรรมสนุกๆ อย่างนิทรรศการหนังสือ เสวนา เวิร์กช็อป รวมถึงขบวนหนังสือที่เหล่าสำนักพิมพ์จะนำไปจำหน่ายให้ชาวนักอ่านอย่างจัดเต็มเหมือนครั้งก่อนๆ แล้ว งานสัปดาห์ฯ ครั้งที่ 50 ยังย้ายมาจัดงานในสถานที่ใหม่อย่างสถานีกลางบางซื่อ ที่กว้างใหญ่และเดินทางได้สะดวกขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้บรรยากาศงานมีความแปลกใหม่กว่าทุกครั้งแน่นอน ชาวนักอ่านและนักอยากอ่านคนไหนที่ปักหมุดงานสัปดาห์ฯ ไว้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bookthai หรือใครที่อยากช้อปหนังสือมาอ่านหรือสะสมเข้ากองดองที่บ้านแบบออนไลน์ก่อน ก็เชิญที่ thaibookfair.com  ระหว่างนี้ขอให้ทุกคนดูแลตัวเองดีๆ […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

8 โปรเจกต์รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นใน ‘กรุงเทพฯ ปี 2564’

ขออาสาไปติดตามความคืบหน้าโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ทางเท้า หรือแม้กระทั่งศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทาง ว่าแล้วจะมีอันไหนอยู่ใกล้ตัวเพื่อนๆ บ้าง ตามไปส่องกันเถอะ!

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.