‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.