Langezijds อาคารคณะ ITC จาก University of Twente สถานที่พบปะนักวิทย์ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบยั่งยืน

คนในสายวิทยาศาสตร์อาจคุ้นเคยอยู่บ้างกับคณะ International Institute for Geo-Information Science and Earth Observation (ITC) ที่ตั้งอยู่ใน University of Twente (UT) มหาวิทยาลัยด้านเทคนิคที่ดีที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ประจำปี 2021 แต่นอกจากความน่าสนใจเรื่ององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ในส่วนของสถาปัตยกรรมของคณะก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางคณะได้ปรับปรุงอาคารประจำคณะซึ่งเป็นอาคารเดิมที่สร้างขึ้นในปี 1972 อย่าง ‘Langezijds’ อาคารที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ที่เป็นแหล่งรวมนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และนักวิจัยทั่วโลก ให้กลายเป็นสถานที่พบปะที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้แบบยั่งยืน ด้วยผลงานการออกแบบร่วมกันของ 4 สตูดิโอออกแบบ ได้แก่ Civic Architects, VDNDP, Studio Groen+Schild และ DS Landscape Architects เพื่อทำให้อาคาร ยาว 220 เมตร ขนาด 13,605 ตารางเมตรแห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียว อากาศบริสุทธิ์ และแสงธรรมชาติ มีการคงไว้ซึ่งโครงสร้างคอนกรีตและเหล็กเดิมที่มีร่องรอยการใช้งาน ส่วนเสาเดิมที่ตั้งราวกับซากปรักหักพังบริเวณห้องโถงกลางก็มีการใช้ไม้โอ๊กและพื้นไม้ไผ่ในการซ่อมแซม ให้ความรู้สึกอบอุ่นแก่ตัวอาคารและแสดงถึงจุดยืนเรื่องความยั่งยืน ในขณะที่ภายใต้โครงสร้างอาคารยังมีการออกแบบโถงกลางขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และรับประทานอาหารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ […]

กทม. เปิดเทศกาล ‘บางกอกวิทยา’ เปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สนุก จัดกิจกรรมตลอดเดือนสิงหาคมนี้

ยังคงมีกิจกรรมสำหรับคนเมืองกันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ ได้เปิดตัว ‘บางกอกวิทยา’ เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเทศกาลประจำเดือนสิงหาคม ภายใต้นโยบาย ‘12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ’ โดยในเดือนนี้จะมีการเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ เน้นเปิดพื้นที่เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สนุกและเข้าถึงง่าย  กิจกรรมในเดือนสิงหาคมนี้จะเริ่มที่ Science Carnival Bangkok โดย อพวช. ที่จะพาทุกคนไปสำรวจความงดงามทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ – นิทรรศการ เวิร์กช็อป เสวนาพูดคุย รวมถึงมีการแข่งขันนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี ณ สามย่านมิตรทาวน์ วันที่ 17 – 21 สิงหาคม – KidBright Science Lab โดย สวทช. กับการแข่งขันสนาม Formula Kid 2022 สนาม Formula Kid […]

จีนประดิษฐ์ดวงจันทร์เทียม สร้างแรงโน้มถ่วงจำลอง ก้าวใหญ่ในภารกิจอวกาศ

หากไม่นับดาวอังคาร ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกอยู่ในความสนใจของนักวิทยาศาสตร์และเป็นเป้าหมายสำคัญในภารกิจท่องอวกาศมาโดยตลอด ซึ่งเทคโนโลยีใดก็ตามที่จะถูกนำไปใช้ในดวงจันทร์จะต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานได้ภายใต้สภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงเพียง 16 เปอร์เซ็นต์เทียบกับพื้นผิวโลก Christopher Baker ผู้บริหารของ NASA บอกว่าแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์คือหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของการทำงานและการใช้ชีวิตในอวกาศ ซึ่งระบบและอุปกรณ์จำนวนมากที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานบนโลก ไม่สามารถใช้งานได้ในสภาวะดังกล่าว  แม้ที่ผ่านมาเราจะสามารถเลียนแบบแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์บนโลกได้ เช่นการบินในลักษณะ Parabolic Flight หรือบินเป็นกราฟพาราโบลา ซึ่งสามารถจำลองสภาวะดังกล่าวได้เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นต่างกับดวงจันทร์ประดิษฐ์ของจีน ที่สามารถจำลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้นานเท่าที่ต้องการ  ประเทศจีนจึงสร้างแบบจำลองของดวงจันทร์ โดยใช้สนามแม่เหล็กในการเลียนแบบแรงโน้มถ่วง โดยในแกนกลางของดวงจันทร์เทียมจะเป็นห้องสุญญากาศทรงกระบอกกว้าง 23.6 นิ้ว ในขณะที่ด้านบนของดวงจันทร์ขนาดเล็กจะปกคลุมไปด้วยหินและฝุ่นละอองที่เลียนแบบพื้นผิวของดวงจันทร์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการปรับความแรงของสนามแม่เหล็กที่กระทำต่อดวงจันทร์ขนาดเล็ก ก็สามารถจำลองแรงโน้มถ่วงที่ใกล้เคียงกับดวงจันทร์ได้  วิวัฒนาการของดวงจันทร์ประดิษฐ์มีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อสำหรับการทดลองเทคโนโลยีที่ทำไปใช้บนดวงจันทร์ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้สิ่งนี้ในการทดสอบว่าเครื่องพิมพ์สามมิติจะมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือเปล่าสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย หรือประดิษฐ์อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสำรวจบนดวงจันทร์ ซึ่งจะทำให้แต่ละภารกิจมีความแน่นอนมากขึ้น  มีการคาดว่าดวงจันทร์จำลองจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเหยียบผิวดวงจันทร์ของประเทศจีนในอนาคต รวมถึงต้อนรับนักวิจัยจากทั่วโลกให้เข้ามาศึกษา แต่ยังไม่มีวี่แววว่า NASA จะเข้าร่วมด้วยแต่อย่างใด 

หมารู้ภาษา นักวิจัยฮังการียืนยันว่าสุนัขแยกแยะได้เมื่อเราพูดภาษาอื่น

ใครๆ ก็เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘หมาเป็นสัตว์ที่รู้ภาษา’ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าบรรดาสุนัขมีความสามารถด้านการแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาษาต่างๆ ได้จริงๆ ประเด็นนี้อ้างอิงมาจากรายงานของ Vice News ที่เผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยพิสูจน์ว่าสุนัขรับรู้ความแตกต่างทางภาษาของมนุษย์ได้ ซึ่งมีการตีพิมพ์รายละเอียดของการศึกษาทางวารสาร NeuroImage เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และพบว่า “สมองของสุนัขตรวจจับ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างรูปแบบการพูดที่มันคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้ ที่สำคัญยังแยกความแตกต่างระหว่างแต่ละภาษาได้อีกด้วย” ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Eötvös Loránd ในเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ได้ทดสอบการประมวลผลทางภาษาผ่านสุนัขจำนวน 18 ตัว สุนัขกลุ่มนี้ได้รับการฝึกฝนให้นอนนิ่งๆ เพื่อถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (fMRI) ลูกสุนัขเหล่านี้ถูกทดสอบด้วยเสียงข้อความที่ตัดตอนมาจากวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Little Prince ในเวอร์ชันภาษาสเปนและฮังการี ซึ่งเป็นภาษาที่บรรดาสุนัขทั้งหมดเคยได้ยินมาจากเจ้าของคนเดียวกัน ทั้งนี้นักวิจัยยังเล่นเสียงแต่ละแทร็กย้อนหลัง เพื่อทดสอบความสามารถของสุนัขต่อการจดจำเสียงพูดที่เป็นธรรมชาติ และเสียงที่มีสัญญาณรบกวน นอกจากนี้ นักวิจัยยังศึกษารูปแบบสมองของสุนัขขณะกำลังฟังเพลง พวกเขาสังเกตเห็นว่าบริเวณต่างๆ ในสมองของเหล่าสุนัขสว่างขึ้นเมื่อมีการเล่นเสียงสัญญาณรบกวน และเสียงพูดปกติ และพบรูปแบบสมองที่แตกต่างกันเมื่อมีการเล่นภาษาที่มันคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยด้วย Laura Cuaya ผู้รายงานการศึกษาและนักวิจัยที่ Eötvös Loránd เผยว่าสุนัขเป็นตัวอย่างที่ดีมาก ต่อการนำมันมาทำวิจัยเพื่อหาคำตอบว่าสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ สนใจสิ่งที่คนเรากระทำหรือแสดงออกมาหรือไม่ เพราะพวกมันอาศัยและอยู่ร่วมกับมนุษย์มานานเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว เป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือการทดสอบทักษะที่เรียกว่าการแยกแยะทางภาษา […]

ที่ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน กลิ่นไม่แรง สมานแผลไว

เมื่อความหลงใหลในทุเรียนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากล้น นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์หัวใสเลยหยิบเอาความคลั่งไคล้นี้มาหวดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ  เรื่องมีอยู่ว่า เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (NTU) ได้แปลงร่างเจ้าเปลือกทุเรียนให้เป็นแผ่นเจลต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการนำส่วนเปลือกที่เรากินไม่ได้มาใช้ประโยชน์  กระบวนการสุดเจ๋งนี้ใช้การสกัดผงเซลลูโลสออกจากส่วนแกลบทุเรียนด้วยกรรมวิธี Free-Drying Process จากนั้นผงเซลลูโลสจะผสานเข้ากับสารกลีเซอรอล (ผลพลอยได้จากวิธีการรีไซเคิลรูปแบบหนึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและสบู่) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซอฟต์เจลที่ปรับให้เป็นที่ปิดแผลสุดมหัศจรรย์ได้ จากนั้นก็นำแผ่นเจลดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยสารประกอบจากยีสต์ขนมปัง เพื่อเตรียมการให้พร้อมสำหรับการใช้ปฐมพยาบาล ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาบริเวณบาดเจ็บให้เย็นและชุ่มชื้น แถมช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น แม้คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ จะชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้มากๆ แต่พวกเราก็ไม่ค่อยได้นึกถึงการใช้สอยเปลือกทุเรียน ก็ใครจะไปคิดล่ะว่ามันเป็นมากกว่าอาหารได้ “ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี นอกจากเนื้อผลไม้แล้ว เราไม่ได้นำแกลบและเมล็ดของมันมาใช้มากนัก เลยทำให้มันเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” William Chen ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านโปรแกรมวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกล่าว เฉินยังยืนยันแบบปังๆ ด้วยว่าเทคโนโลยีของทีมใช้ได้กับเศษอาหารอินทรีย์รูปแบบอื่นๆ ได้ อาทิ ธัญพืชและถั่วเหลือง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการแก้ไขปัญหาเศษอาหารของประเทศ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าปลาสเตอร์ทุเรียนนั้น ไม่มีกลิ่นและย่อยสลายได้ง่าย พร้อมทั้งยังได้รับการพิสูจน์ว่าใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าวัสดุแบบเดิมๆ ซึ่งมักใช้สารประกอบโลหะที่มีราคาแพงกว่า อย่างเงินหรือทองแดง  นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบมา ทีมงานก็ได้เจรจากับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการเพิ่มยอดการผลิตเจลปิดแผล ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เฉินกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อาจไปถึงร้านค้าภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น แค่นี้ก็มั่นใจได้เลยว่าราคาขายปลีกของที่ปิดแผลชนิดนี้จะแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน Source : […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.