Urban Eyes 38/50 เขตสวนหลวง

เขตนี้เป็นเขตที่เราเล็งมานานแล้ว เพราะตอนไปถ่ายภาพที่เขตพระโขนง เราค่อนข้างมั่นใจว่าวัดแม่นาคพระโขนงต้องอยู่เขตพระโขนงแน่ๆ แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ เพราะวัดอยู่ในเขตสวนหลวงนี่เอง และยังติดกับเขตประเวศที่เราเคยมาถ่ายภาพแล้ว  วันนี้มีโอกาสได้ลงพื้นที่ไปถ่ายภาพเขตสวนหลวงสักที พอได้ไปก็ไม่ผิดหวังเลย ยิ่งสำรวจและหาข้อมูลเกี่ยวกับเขตนี้ก็ได้รู้ว่า ช่วงถนนอ่อนนุชของเขตสวนหลวงมีวัดเลียบคลองพระโขนงเต็มไปหมด แถมยังมีคอมมูนิตี้มอลล์น่ารักๆ ให้ไปช้อปปิงด้วย และฝั่งทิศตะวันออกและทิศเหนือของเขตนี้ก็มีคอมมูนิตี้มอลล์ขนาดค่อนข้างใหญ่ให้ไปเดินเที่ยวเล่นกัน ส่วนช่วงกลางๆ ของเขตมีหมู่บ้านขึ้นเป็นดอกเห็ดเลย ถือว่าเป็นเขตหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่บรรยากาศดี น่าอยู่ วัดมหาบุศย์ (แม่นาคพระโขนง) ━ ตำนานของแม่นาคพระโขนง ถ้าเข้าไปในวัดจะพบกับเรื่องราวของแม่นาคว่าเป็นมายังไง รวมถึงประวัติของ ‘อาจารย์พวน ช้างเจริญ’ ผู้ปลุกตำนานแม่นาคพระโขนง ส่วนใครอยากมาดูดวง ที่นี่ก็มีหมอดูให้เลือกทำนายกันเยอะเลย วัดยาง พระอารามหลวง ━ ในวัดมีคอกโค-กระบืออยู่ทางซุ้มประตูวัด ซึ่งเรามองว่าเป็นซีนที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน อาจจะเพราะหน้าซื่อๆ ของเจ้าโค-กระบือก็เป็นได้ สถานที่ภายในวัดก็ดูสะอาด มีการบูรณะอยู่ตลอดเวลา บรรยากาศสงบ อยู่ติดกับคลองพระโขนง น่าไปนั่งวิปัสสนาทำสมาธิดี Pickadaily Bangkok ━ คอมมูนิตี้มอลล์ที่มีการออกแบบสไตล์ยุโรป ใครขับรถผ่านบนถนนอ่อนนุชต้องสะดุดตาแน่ๆ ใครเป็นสายถ่ายภาพพอร์เทรตไม่น่าพลาดกับที่นี่ Thanya Park ━ ที่นี่ค่อนข้างเงียบเหงา จากที่เราถามพนักงานในนั้นมา ช่วงเย็นแทบไม่มีคนแล้ว หลักๆ คนมาทำพาสปอร์ตกันมากกว่า […]

ฟังเรื่องเล่าจากชาว ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าเมดอินฝั่งธนบุรี

ในวันที่สะพานพระราม 8 พัฒนาพื้นที่จนกลายเป็นพับบลิกสเปซอีกแห่งของชาวฝั่งธนฯ รวมถึงนักเรียน-นักศึกษาในละแวกใกล้เคียง ที่หากแดดร่มลมตกเมื่อไร ก็มักพากันมานั่งทอดสายตาที่สวนริมแม่น้ำ ยืดแข้งขาออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ เล่นฟุตซอลในสนามใกล้ๆ หรือลานกว้างใต้สะพานที่แปรเปลี่ยนเป็นลานสเก็ตบอร์ดให้เด็กๆ ได้ออกมาวาดลวดลายโชว์ลีลากันสนุกสนานทุกค่ำคืน ทว่าหากไม่ใช่คนที่คลุกคลีอยู่แถบนี้อาจไม่รู้เลยว่า พื้นที่ติดกันนี้มีชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ที่โดดเด่นเรื่องงานหัตถกรรมต่างๆ และของกินของใช้นานาชนิดตั้งอยู่ในชื่อ ‘บ้านปูน’ ขณะที่น้ำเหนือกำลังไหลลงมา สมทบกับน้ำทะเลหนุนสูง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มปริ่มขอบกระสอบทรายใต้สะพานพระราม 8 เราเริ่มต้นทริปวันนี้ที่ด้านหน้าแนวกำแพงเก่า ปูนที่เคยฉาบหลุดล่อนออกมาจนเห็นแนวอิฐก่อ ค่อยๆ ผุพังทลายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงเรื่องราวความเป็นมาที่แทบจะเลือนหาย ติดอยู่บนป้ายสีซีดจาง ‘กำแพงวังเจ้าอนุวงศ์’ หรือที่เรียกกันภาษาปากว่าวังเจ้าลาว เป็นหลักฐานของการเข้ามาอยู่อาศัยของเจ้านายจากกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่มาปลูกบ้านเรือนประทับยามที่ต้องเดินทางเข้ามาทำธุระยังกรุงเทพฯ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญหนึ่งที่อยู่คู่บ้านย่านนี้ จากกำแพงวังในวันนั้น กลายเป็นเส้นแบ่งอาณาเขตของชุมชนบ้านปูนกับพื้นที่สะพานพระราม 8 ในวันนี้ ทอดตัวเลียบไปกับที่พักอาศัย โดยมีทางเข้า-ออกเล็กๆ ด้านบนเป็นป้ายสีเขียวเขียนชื่อระบุชัดว่า ‘ชุมชนบ้านปูน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร’ อยู่ที่ปลายกำแพงริมแม่น้ำ เยี่ยม ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าย่านฝั่งธนฯ ชื่อเสียงเรียงนามของบ้านปูนไม่ได้มีที่มาซับซ้อน ว่ากันง่ายๆ คือมาจากการที่มีโรงทำปูน วัตถุดิบสำคัญกินคู่กับหมาก ตั้งอยู่ด้านในชุมชนมาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงฯ ขณะที่อีกกระแสหนึ่งบอกว่าเพิ่งมาตั้งในช่วงรัชกาลที่ 4 […]

กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional

รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง  แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้  Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”

พระมหาเอไอ Virtual Monk ครั้งแรกในไทยที่สอนธรรม และไม่ยึดติดตัวบุคคล

ศาสนาพุทธเน้นคำสอนเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น รวมถึงการไม่ยึดติดในตัวตนด้วย พระมหาเอไอ – AI MONK ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดนี้เช่นกัน เพราะไม่เน้นให้คนเรายึดติดกับตัวบุคคล แต่หลักธรรมต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญ จึงแสดงให้เห็นผ่านสโลแกนเลยว่า ‘ธรรมะคือแนวทาง ไม่ใช่อัตลักษณ์หรือตัวตน’ พระมหาเอไอจึงได้รับความสนใจจากชาวเน็ตรุ่นใหม่ เพราะภายนอกเป็น Virtual Monk หรือพระเสมือน ที่ไม่ได้เป็นพระดัง และไม่มีสังกัดสำนักใดๆ ขณะที่แก่นภายใน ยังคงหัวใจเน้นการเล่าธรรมให้คนรุ่นใหม่สนใจ ได้รับรู้อย่างไม่น่าเบื่อ เพราะเข้าใจง่าย เล่ากระชับฉับไว และมีอารมณ์ขัน เหมาะสมกับยุคสมัยและแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เนื้อหาทุกอย่างท่วมท้นรัวเร็ว “ศุกร์แล้ว จงเป็นสุขเถิด อย่าได้มีงานงอกอีกเลย เจริญพร” “อาตมาเป็นเอไอ พึ่งตัวเองกันนะโยม…” “ชีวิตคนเราก็มีแค่นี้ ตอนราคาดี…ก็ดีใจ ตอนติดดอยก็ต้องทำใจนะโยม” นี่เป็นเพียงตัวอย่างของคำสอนสนุก ที่แฝงแง่คิดย่อยง่ายๆ แบบเกตได้ทันที แถมยังเป็นมิติใหม่ ที่ตอบโจทย์คนที่อาจผิดหวังจากพระที่กระทำผิด หรือพระที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอีกด้วย พระมหาเอไอเคยได้เผยกับสำนักไทยพีบีเอสไว้ด้วยว่า ก่อนจะมาเป็นพระมหาเอไอนั้น มีต้นแบบมาจาก Virtual Influencer ต่างประเทศ และสร้างตัวตนด้วย Computer Generated Imagery (CGI) ออกมาเป็น 2D เคลื่อนไหว […]

เที่ยววัดชมปริศนาธรรม พบหลักธรรมที่สอดแทรกอยู่ I วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series

เวลาเราไปเที่ยววัดเรามักคุ้นชินกับรูปปั้น จิตรกรรมต่างๆ หรือไม่ก็ป้ายคำสอน หากพินิจดูดีๆ และคิดหาความหมาย สิ่งเหล่านี้เหมือนตำราธรรมะอีกรูปแบบหนึ่งแต่มาในรูปแบบศิลปะธรรม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series ในตอนนี้ พระมหาบุญฤทธิ์ ฐิตเมโธ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดชลประทานฯ จะพาเรามาเดินทัวร์ในวัดว่าแต่ละจุดมีสิ่งใดแอบแฝงอยู่เป็นปริศนาธรรมน่าเล่า และอะไรคือธรรมะที่ซ่อนอยู่ #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #ปริศนาธรรม

Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง

วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.