สนทนาถึงวรรณกรรมกับนักเขียนทั่วโลกใน ‘เทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ 2023’ วันที่ 4 – 5 พ.ย. 66 ที่หอสมุดเนียลสัน เฮส์

สำหรับสายวรรณกรรม คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเหล่านักเขียนคนโปรดอย่างใกล้ชิด เพราะนั่นหมายถึงการสร้างเสริมให้ประสบการณ์ในการอ่านและมุมมองทางวรรณกรรมของเรากว้างขวางขึ้นผ่านสายตาของผู้สร้างสรรค์งานเขียน ในช่วงท้ายปีนี้ยังมีอีกงานหนังสือที่น่าสนใจและอยากชวนทุกคนไปร่วมกัน นั่นคือ การกลับมาเป็นปีที่ 2 ของเทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ Neilson Hays Bangkok Literature Festival 2023 ที่จัดขึ้นในห้องสมุดที่ถือว่ามีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆ ของไทย โดยภายในงานเราจะได้พบกับนักเขียนชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 50 คนที่จะมาร่วมเสวนาพูดคุยถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น Adam Higginbotham, Will Schwalbe และ Nguyễn Phan Quế Mai เป็นต้น ยังไม่นับรวมนักเขียนไทยที่ชาวนักอ่านน่าจะคุ้นชื่อเป็นอย่างดี อาทิ อุรุดา โควินท์, ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) และ เชน บุนนาค ช่างภาพและผู้เขียนประวัติศาสตร์ตระกูลบุนนาค ที่จะมาแชร์มุมมองงานเขียนไทยในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน เช่น เวิร์กช็อปการวาดภาพประกอบหนังสือและการเขียนวรรณกรรม ศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยลายมือ รวมถึงการจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรมตลาดนัดงานคราฟต์ ที่จะมาสร้างสีสันให้งานหนังสือครั้งนี้มีชีวิตชีวาและสนุกสนานขึ้น งาน Neilson Hays Bangkok Literature Festival […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.