ไทยอัตราการเกิดต่ำสุดใน 50 ปี จำนวนคนตายมากกว่าคนเกิด จุดเริ่มต้นหลังรัฐประหาร 2557

สมัยนี้หากคุณมีครอบครัวจะอยากมีลูกไหม? หากคุณตอบว่า ‘ไม่’ เป็นคำตอบที่ไม่แปลกเลยสำหรับยุคนี้ ไม่ใช่แค่คนไทยแต่รวมถึงทั่วโลกต่างมีอัตราการเกิดลดลง เพราะคนไม่อยากมีลูกและอยู่เป็นโสดมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยคือ ที่ผ่านมาปี 2564 ทำลายสถิติอัตราการเกิดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย 50 ปี หนักถึงขั้นมีจำนวนคนตายมากกว่าคนเกิดเสียอีก สังเกตได้จากข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลที่เผยว่า อัตราการเกิดปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 540,000 คน น้อยลงจากที่เคยเกิดเมื่อ 50 ปีที่แล้วประมาณ 1,200,000 คน และเป็นปีแรกที่จำนวนเด็กเกิดน้อยกว่าจำนวนคนตาย (ประมาณ 560,000 คน) จากข้อมูลคนเกิดน้อยลง มองเผินๆ อาจมองเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกัน หากคิดอีกมุมหนึ่ง ก็น่าตั้งคำถามไม่น้อยว่า ทำไมอัตราการเกิดในไทยถึงได้มีจำนวนดิ่งลงจนติดลบขนาดนี้ เศรษฐกิจไม่ดี ดูแลตัวเองให้ดีก่อน หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คนไม่อยากมีลูกทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเด็ก ครอบครัว และเลี้ยงดูตนเองที่ไม่เพียงพอ อ้างอิงจากรายงานของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูง และค่าตอบแทนต่ำ หากต้องส่งลูกเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลถึงระดับปริญญาโทควรต้องมีเงินอย่างน้อย 1.3 ล้านบาท และระดับปานกลางประมาณ 6.5 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไป) ปัจจัยค่าจ้างแรงงาน เป็นอีกสิ่งสำคัญที่คนจะตัดสินใจในการมีลูก […]

No one can save Bangkok? อ้าวเฮ้ย! เมื่อ ‘อัศวิน’ อาจไม่ได้ขี่ม้าขาวมากู้ กทม. อย่างที่คุยกันไว้นี่นา

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีและลงตัว จริงๆ หรือยัง? ถ้ามองอย่างเที่ยงตรง เรามั่นใจว่า คำตอบคนส่วนมากคือ ‘ไม่’ เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังในย่านต่างๆ การจัดการขยะที่ไม่เป็นระบบ ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้อาศัยจริงๆ สักที ทำให้การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างยากลำบาก เหมือนผจญด้านโหดในเกม Adventure ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาในเมืองกรุง ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาเมือง และการบริหารราชการของเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยปกติแล้ว ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเมืองหลวงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กันทุก 4 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของคนกรุง เข้าไปพัฒนาเมืองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบด้าน ว่าแต่…จำได้หรือเปล่าว่าชาวกรุงเทพฯ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เพราะตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ที่อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนอกจากจะอยู่ในวาระนานกว่ากำหนดแล้ว เขายังมาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยไม่ผ่านการเลือกจากประชาชนด้วย อัศวินในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผลงานของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับมรดกที่คณะรัฐประหารทิ้งไว้ให้ชาวกรุงเทพฯ นโยบายหลายข้อไม่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหา แถมเมกะโปรเจกต์หลายโครงการยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ทุ่มไปด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนี้ […]

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผู้ว่าฯ กทม. ก่อนความหวังครั้งใหม่ที่ปลายปากกา

ปี 2563 ที่ผ่านมา ในต่างจังหวัดมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน คอยทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิต อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  แต่เมื่อหันมามองที่กรุงเทพมหานคร ก็คิดว่า เมื่อไรจะมีการเลือกตั้งกับเขาสักที? คำถามนี้สะท้อนว่า เราไม่ได้เลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำงานเป็นปากเสียงให้มานานมากแล้ว หลังจากอยู่กับปัญหาสะสมเรื้อรังมากมาย ตั้งแต่ อากาศเป็นพิษ รถติดยาวเหยียด ทางเท้าพัง เหยียบแล้วชุ่มโชก รถเมล์ที่มาช้า กะเวลาไม่ได้ น้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตก รถไฟฟ้าราคาครึ่งร้อย หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจว่า จะใช้ชีวิตยังไงให้รอดในแต่ละวัน ฯลฯ  จริงๆ แล้วประเด็นพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นคนพื้นที่ และคนที่เข้ามาเรียน ทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในทุกๆ วันแบบนี้ จะแก้ไขหรือจัดการอะไรได้บ้าง ซึ่งหนทางแก้คงหนีไม่พ้นการกลับไปสำรวจว่า คนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองเป็นอย่างไร งบประมาณก้อนต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากภาษีที่ทุกคนจ่ายๆ กันแต่ละปีจัดสรรไปกับอะไรบ้าง ใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่า และที่สำคัญคือ เรามีสิทธิ์ ‘เลือก’ ‘ออกแบบ’ หรือ […]

เมื่อไหร่กันที่ ‘สื่อไทย’ ไร้เสรีภาพ

เมื่อไหร่กันนะที่ ‘สื่อไทย’ ไร้เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ดังนั้นเราจึงพาย้อนรอยว่าตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองจาก สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อหาว่า ‘สื่อไทย’ โดนปิดกั้นการนำเสนอไปมากน้อยแค่ไหน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.