Furnish Studio สตูดิโอศิลปะในจังหวัดระยองที่โอบล้อมด้วยไม้ไผ่ท้องถิ่นและคอนกรีตที่ถูกทิ้ง

การออกแบบพื้นที่หรือสถานที่นั้น นอกจากต้องคำนึงถึงการใช้งานแล้ว ยังควรนึกถึงวัสดุและความยั่งยืนในทุกขั้นตอนการสร้างด้วย  สตูดิโอ 11.29 Studio ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบอย่างยั่งยืนและการใช้วัสดุในท้องถิ่น รวมถึงมอบชีวิตใหม่ให้คอนกรีตที่ถูกทิ้ง ด้วยการเปลี่ยนวัสดุเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่งแห่งความสร้างสรรค์ของ Furnish Studio สตูดิโอศิลปะวาดภาพสีน้ำมันในจังหวัดระยอง โดยทีมออกแบบได้ใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและอุตสาหกรรมของภูมิภาค ด้วยการนำวัสดุในท้องถิ่นที่ยั่งยืนอย่างไม้ไผ่มาใช้ เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง เนื่องจากจังหวัดระยองเองเป็นที่รู้จักในฐานะจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) สูงที่สุดในประเทศไทย และล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการก่อสร้างจำนวนมากและขยะคอนกรีตที่เหลือทิ้งได้ 11.29 Studio ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากลูกปูนที่ถูกทิ้งเอาไว้ จึงนำมาสร้างประโยชน์ด้วยการทำเป็นผนังทางเข้าของสตูดิโอศิลปะ ที่ดูเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยสร้างสรรค์ ส่วนตัวอาคารที่ออกแบบให้เป็นพื้นที่ทำงานสร้างสรรค์สำหรับศิลปินด้านสีน้ำมัน และต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอเพื่อสุขภาพของผู้ใช้งาน ทาง 11.29 Studio จึงออกแบบส่วนหน้าอาคารด้วยระแนงไม้ไผ่เป็นบานประตู หน้าต่าง เพื่อช่วยกรองแสงและช่วยให้อากาศภายในถ่ายเทสะดวก Sources :Designboom | bit.ly/3FLCq4V Thitinan Micropile | www.thitinan.co.th/spacer

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

บันทึกหาด (แม่) รำพึง เมื่อน้ำมันรั่วกลางทะเล

เย็นวันที่ 29 มกราคม 2565  “เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพิ่งจะฟื้นตัวจากโควิด นี่มาน้ำมันรั่วอีก ทำไมอะไรๆ มันก็เข้ามาที่ระยอง” ป้าเจ้าของร้านอาหารทะเลเอ่ยเบาๆ ขณะยืนมองกลุ่มคนใส่ชุด PPE สีขาวกำลังทำความสะอาดคราบน้ำมันบริเวณชายหาดแม่รำพึง ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ออกจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เวลาประมาณสามทุ่มเศษๆ เกิดเหตุการณ์ ‘น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบเดี่ยวกลางทะเล’ หรือเรียกง่ายๆ ว่า จุดขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน (SPRC) และจากการคาดการณ์ทิศทางเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ด้วยวิธีการ Oilmap ว่าคราบน้ำมันจะเข้ามาถึงฝั่งในวันที่ 28 มกราคม ที่บริเวณชายหาดแม่รำพึง เมื่อข่าวการรั่วของน้ำมันเป็นที่รับรู้ของชาวบ้าน และชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณใกล้เคียงในวันรุ่งขึ้น แม่ค้าขายส่งหมึกในพื้นที่เล่าว่า “ลูกค้าประจำโทรมาถามแล้วว่าหมึกเอามาจากไหน ถ้าเป็นหมึกจากระยองต้องขอยกเลิกก่อน มันจะเหมือนน้ำมันรั่วคราวก่อนปี 56 ไหม ที่ชาวประมงออกไปหาปู หาปลา ไม่ได้ ถึงหามาได้ก็ไม่มีคนกล้าซื้อหรือกล้ากิน […]

‘เฉลิมบูรพาชลทิต ระยะ 2’ ถนนท่องเที่ยว เลียบทะเล 95 กิโลเมตรโดยจังหวัดระยอง ที่หวังกระตุ้นเศรษฐกิจภาคตะวันออก

โครงการพัฒนาถนนท่องเที่ยวเลียบทะเล เฉลิมบูรพาชลทิต ระยะที่ 2 คือถนนที่เชื่อมโยงพื้นที่ภายในเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC เข้าด้วยกัน ตั้งแต่สนามบินอู่ตะเภา จนถึงลานสุนทรภู่ ระยะทางกว่า 95 กิโลเมตร  ศูนย์วิจัยโลจิสติกส์และการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้ศึกษาและจัดทำรายงานฯ กล่าวว่า ปัจจุบันการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกจากจังหวัดระยอง เส้นทางดังกล่าวขาดความต่อเนื่อง หลายเส้นทางยังขาดความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลซึ่งมีความสวยงาม รวมถึงมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นเส้นทางคมนาคมการท่องเที่ยวได้ ขาดการเข้าถึงเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง จะช่วยพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมให้สามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลสำคัญ แก้ไขปัญหาการจราจร ลดระยะเวลาการเดินทาง สามารถรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวในอนาคต เปิดพื้นที่สำหรับการพัฒนาเมืองรองรับความเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของโครงการนี้ได้ที่ : โครงการถนนบูรพาชลทิต ระยะที่ 2

Sunne Voyage เรือนำเที่ยวมิติใหม่ในระยองชูดีไซน์ร่วมสมัยและงานคราฟต์ระดับเทพฝีมือช่างต่อเรือ

Sunne Voyage เรือท่องเที่ยวลำใหม่จากจังหวัดระยองที่ชุบชีวิตเรือประมงเก่าด้วยดีไซน์ของคนรุ่นใหม่ และฝีมือของช่างเรือประมงรุ่นเก๋าที่มิกซ์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.