‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา รวมเรื่องสั้นที่อยากชวนให้ทุกคนเลิกเหยียดและคุกคามกันได้แล้ว

โดนพ่อแม่ลงรูปถ่ายในเฟซบุ๊กโดยไม่ขออนุญาต เพื่อนพากันแซวและนินทารูปร่างหน้าตาเราในรูปที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เจอใครไม่รู้มาปล่อยเฟกนิวส์เราในอินเทอร์เน็ต ทั้งหมดนี้คือเหตุการณ์ที่เหล่านักเขียนหยิบเอามาสร้างเป็นเรื่องแต่ง (ที่หลายคนอาจเจอในชีวิตจริง) ในรวมเรื่องสั้น ‘HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา’ ของสำนักพิมพ์แซลมอน หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนบันทึกที่ถ่ายทอดความเจ็บปวดแห่งยุคสมัย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสัญญาใจที่ชวนให้ผู้คนหยุดการไซเบอร์บุลลี่ ตั้งแต่การวิจารณ์รูปร่าง การคุกคามทางเพศ การเหยียดเพศ ไปจนถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้นว่าด้วยบทสนทนาที่ลูกสาวไม่พอใจที่ครอบครัวโพสต์รูปเธอบนเฟซบุ๊ก โดย นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ หญิงสาวที่สงสัยว่าคนใกล้ตัวปลอมแอ็กเคานต์ในแอปฯ เป็นเธอ โดย โชติกา ปริณายก ข้อขัดแย้งของคนในครอบครัวที่มีต่อคุณยายที่เปิดแชนเนลเล่าเรื่องเสียว โดย จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ นิยายแชตที่บอกเล่าความรุนแรงของการปล่อยคลิปหลุดโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม โดย ตัวแม่* ไปจนถึงการ์ตูนสะท้อนความเจ็บปวดของอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับคอมเมนต์รุนแรงหยาบคาย โดย สะอาด หลังอ่านจบ เราพบว่ามีหลายส่วนของหลายเรื่องสั้นที่ทำให้เรานึกย้อนกลับไปถึงพฤติกรรมของตัวเองและคนที่เคยพบเจอ ว่าเราเคยทำอะไรแบบนี้กับใครไหม หรือเราเคยโดนใครไซเบอร์บุลลี่บ้างหรือเปล่า แล้วตอนนี้เรายังทำแบบนั้นอยู่หรือไม่ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจให้ใครเจ็บปวดก็ตาม ขณะเดียวกัน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้คนอ่านจะเป็นใครก็ได้ แต่สำหรับเรามองว่าคนอ่านวัยรุ่นน่าจะอินหรือรู้สึกแทงใจเป็นพิเศษ และคงดีไม่น้อยถ้าพวกเขาอ่านแล้วตระหนักถึงความรุนแรงของการกระทำเหล่านี้ รวมถึงพยายามชักชวนกันให้หยุดการไซเบอร์บุลลี่ในสังคม ทำความเข้าใจเรื่องไซเบอร์บุลลี่ผ่านเรื่องสั้นอ่านสนุกได้ที่ salmonbooks.net/book/harshtag/ (200 บาท)

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.