ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

น้ำมันแพง ประชาชนลำบากทั้งประเทศ รถโดยสารลดเที่ยววิ่ง 80 % และปิดกิจการ กระทบการเดินทางข้ามจังหวัด

เข้าสู่ช่วงยากลำบากของประชาชนของจริง เพราะนอกจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แล้ว สินค้าเกือบทุกรายการก็ปรับราคาสูงขึ้นจนหลายคนตั้งตัวไม่ทัน แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่ปรับราคาสูงขึ้นแล้วกระทบชีวิตประชาชนอย่างเห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้นราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ว่ากันว่าจากเดิมที่เติมน้ำมันเต็มถังราคา 1,000 บาท แต่ตัดภาพมาปัจจุบัน ราคากลับดีดตัวสูงขึ้นไปเกือบอีกเท่าหนึ่ง ควักแบงค์พันสองใบมาจ่ายก็เหลือเงินทอนไม่เท่าไหร่แล้ว นอกจากผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวที่อ่วมกับค่าน้ำมันแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจรถโดยสารเองก็หนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา นายกกิจการรถโดยสารประเทศไทย ได้ประชุมหารือกับผู้ประกอบการขนส่ง และบริษัทรถร่วมทั่วประเทศ เนื่องจากต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จนได้เป็นมติกำหนดให้รถโดยสารลดเที่ยววิ่งลง 80 % ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป โดยจะมีการประเมินสถานการณ์กันว่าจะสามารถดำเนินกิจการต่อได้หรือไม่ โดยประชาชนที่จะเดินทาง สามารถตรวจสอบเที่ยววิ่งรถในแต่ละวันได้ทางเว็บไซต์หรือช่องทางติดต่อของทุกบริษัท ที่เป็นแบบนั้นเพราะอัตราค่าโดยสารปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ อัตราที่ใช้เมื่อปี 2562 เป็นตอนที่น้ำมันเชื้อเพลิงราคาลิตรละ 27 บาท แต่ตอนนี้น้ำมันเชื้อเพลิงปรับราคาขึ้นมาที่ลิตรละ 35 บาท ทั้งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายเจ้าก็แบกค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นส่วนนี้ไม่ไหวแล้ว บางเจ้าถึงกับขายรถไปเป็นร้อยคัน หรือกระทั่งตัดเป็นเศษเหล็กชั่งกิโลขายก็มี หากพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์แรกที่สะท้อนถึงวิกฤติค่าน้ำมันที่ส่งผลต่อรถโดยสารในไทย เพราะเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 เจ๊เกียว หรือ นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถร่วมโดยสาร บขส.และเจ้าของอู่เชิดชัย […]

รอรถเมล์แบบไม่กลัวร้อน! ชวนสำรวจป้ายรถเมล์อัจฉริยะเกาหลีใต้ มีแอร์ Wi-Fi ฟรี ป้องกันโควิด-19 ได้

ใครใช้รถเมล์เป็นประจำคงรู้ดีว่า ป้ายรถเมล์อาจเป็นหนึ่งอุปสรรคของการเดินทางในแต่ละวัน เพราะจุดรอรถเมล์หลายแห่งในไทยยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเท่าที่ควร เช่น ไม่มีไฟส่องสว่าง ไม่มีหน้าจอแสดงข้อมูลและระยะเวลารอรถ ที่แย่ไปกว่านั้น บางแห่งยังไม่มีหลังคากันแดด กันฝน ทำให้คนเดินทางต้องรอรถเมล์อย่างเหน็ดเหนื่อยและยากลำบากในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งนี้ ป้ายรถเมล์ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งสาธารณะที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และพยายามปรับปรุงให้ทันสมัยและตอบโจทย์ประชาชนมากที่สุด หนึ่งในประเทศที่พัฒนาป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่องก็คือ ‘เกาหลีใต้’  เพราะเหตุนี้ เราจึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ ‘ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ’ หรือ ‘Smart Shelter’ ที่เกาหลีใต้ออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเดินทางของผู้คนอย่างรอบด้าน หน้าตาของป้ายรถเมล์นี้คล้ายกับตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัยมากมาย ก่อนเข้าใช้บริการ ผู้ใช้งานต้องสแกนใบหน้าเพื่อตรวจจับความร้อนเพื่อคัดกรองและรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โดยประตูจะเลื่อนเปิดให้กับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนภายในได้ติดตั้งระบบปรับอากาศและหลอดไฟอัลตราไวโอเลต สำหรับควบคุมอากาศให้เย็นสบายไปและฆ่าเชื้อไวรัสไปพร้อมๆ กัน โดยระบบนี้สามารถฆ่าเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้มากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสและทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ เครื่องกดแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ปลั๊กชาร์จไฟ Wi-Fi ฟรี และหน้าจอดิจิทัลแสดงตารางรถเมล์ เพื่อแจ้งเตือนผู้โดยสารว่ารถเมล์กำลังจะมาถึง ที่สำคัญ ยังมีกล้องวงจรปิด กระดิ่งแจ้งเตือน และเซนเซอร์ตรวจจับเสียง ที่เชื่อมต่อกับสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนหลังคาป้ายรถเมล์ก็มีแผงโซลาร์เซลล์สำหรับกักเก็บไฟสำรองด้วย เกาหลีใต้เริ่มติดตั้งป้ายรถเมล์อัจฉริยะกรุงโซลตั้งแต่ปี 2020 และตอนนี้เมืองหลวงของประเทศมีป้ายรถเมล์โมเดลนี้ทั้งหมด 28 แห่งแล้ว ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยว่า […]

น้ำมันแพง คนใช้รถสาธารณะลำบาก เมื่อค่ารถไฟฟ้าสูงลิบและค่ารถเมล์ขึ้นรวดเดียว 17 บาท

เชื่อไหม ถ้าเราบอกว่า เดือนมีนาคม 2565 คือเดือนที่มีแต่ของขึ้นราคา ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะราคาน้ำมันที่กลับมาสูงแตะราคา 50 บาทต่อลิตร ทำให้หน่วยงานรัฐออกมาบอกประชาชนว่าต้องใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดน้ำมันแทน ตัดภาพมาที่อีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 มีการประกาศยกเลิกให้บริการรถเมล์ครีม-แดงในเส้นทาง ‘สาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง’ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เดินรถเมล์ธรรมดาในเส้นทางสายนี้มากว่า 46 ปี โดยได้ส่งไม้ต่อให้กับบริษัทเอกชนที่ใช้รถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการในเส้นทาง ‘สาย 7 ศึกษานารีวิทยา-หัวลำโพง’ ฟังเผินๆ ดูจะมีแต่ข้อดี เพราะการผลัดใบให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำรถเมล์ไฟฟ้าเข้ามาให้บริการแทนรถเมล์เก่า ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเมืองให้ดียิ่งขึ้น แต่ทำไมรถเมล์ใหม่นี้กลับกลายเป็นเรื่องคนนำมาถกเถียงขึ้นมาได้… ว่าแต่จะเถียงกันเรื่องอะไร ตามเรามาสำรวจการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย รถเมล์ใหม่มาพร้อมราคาใหม่ที่สูงขึ้น แม้ข้อดีของรถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ จะมาพร้อมกับความเป็นมิตรต่อผู้คนในเมืองมากขึ้น ทั้งเรื่องมลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางเสียงที่หายไป ผู้ใช้รถเข็นก็สามารถขึ้นรถได้ง่ายกว่าเดิม เพราะทางขึ้นรถเมล์รุ่นนี้ไม่มีขั้นบันได แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับมาพร้อมกับค่าเดินทางที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรถเมล์ สีครีม-แดงธรรมดา ที่เก็บค่าโดยสารราคา 8 บาทตลอดสาย เมื่อเปลี่ยนเป็นรถใหม่ก็เปลี่ยนการคิดค่าโดยสารมาเป็นเรตตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 15 บาท แตะเรตสูงสุด 25 บาท […]

เมื่อกรุงเทพฯ มีรถเมล์ไฟฟ้าวิ่งครั้งแรก สิ่งนี้จะทำให้ชีวิตคนเมืองดีขึ้นได้ยังไง?

“เมื่อไหร่กรุงเทพฯ จะมีรถเมล์ใหม่สักที” คือคำถามยอดฮิตของคนกรุงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในเวลาเดียวกันก็มีข่าวคราวจากเพื่อนบ้านอาเซียนที่เปิดตัวรถเมล์ใหม่เรื่อยๆ ทั้ง พนมเปญ ย่างกุ้ง สิงคโปร์ ปีนัง หรือฮานอย เห็นรถเมล์ใหม่ๆ ของเหล่าเพื่อนบ้านก็อย่าเพิ่งน้อยใจไป เพราะกรุงเทพฯ ก็มีรถเมล์ใหม่แกะกล่องอย่าง ‘รถเมล์ไฟฟ้า’ กับเขาเหมือนกัน โดยเจ้ารถเมล์ไฟฟ้าได้เริ่มออกวิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ในนาม ‘ไทยสมายล์บัส’ บริษัทเอกชนเจ้าใหม่แห่งวงการขนส่งสาธารณะไทย (ชื่อฟังดูคุ้นเหมือนสายการบิน แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับไทยสมายล์แอร์เวย์) รถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ดียังไงบ้าง? 1. ทางขึ้นที่สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากประตูที่ไม่มีบันไดสูงอีกต่อไป นี่คือรถเมล์ที่ทำให้คนทุกวัยขึ้นลงรถได้สะดวก สิ่งแรกที่อาจต้องรู้ก่อนขึ้นรถเมล์ไฟฟ้าคันนี้ก็คือ กติกาที่รณรงค์ให้ผู้ใช้งาน ‘ขึ้นรถประตูหน้า-ลงรถประตูหลัง’ ถือเป็นการเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้งานรถเมล์กรุงเทพฯ ให้เป็นระบบเดียวกับรถเมล์หลายๆ เมืองในต่างประเทศ ส่วนใครที่เคยใช้งานรถเมล์ ปอ.พ. ของ Metro Bus ช่วงปี 2550 – 2557 ก็น่าจะคุ้นกับระบบนี้มาบ้างแล้ว รถเมล์ไฟฟ้าของไทยสมายล์เลือกใช้วิธีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ (Hand temperature scanner) ไว้ข้างห้องคนขับ เมื่อก้าวขึ้นรถไป ทุกคนต้องสแกนวัดอุณหภูมิก่อนเป็นอันดับแรก ไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานรถสาธารณะท่ามกลางวิกฤต COVID-19 หรือเป็นกุศโลบายให้ต้องขึ้นประตูหน้า-ลงประตูหลังไปในตัว แต่อย่างไรก็ตามถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ดีทีเดียว […]

รถเมล์ไทย อายุเท่าไหร่

รถเมล์ พาหนะหลักที่คนเมืองใช้สัญจรในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายสาย โดยจะวิ่งรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถ้าใครขึ้นรถเมล์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งไม่ค่อยได้ขึ้น คงเห็นสภาพรถเมล์ไทยที่ปะปนกันไปทั้งใหม่-เก่า แล้วเคยสงสัยไหมว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการกันอยู่ทุกวันอายุเท่าไหร่แล้ว เราเลยชวนทุกคนไปสำรวจรถเมล์ เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพรถเมล์ไทยเป็นยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน “เมล์ครีม-แดง ออริจินัลรถเมล์ไทยที่วิ่งมานานถึง 30 ปี กระเป๋ารถเมล์มาเก็บค่าโดยสารแล้ว ถึงเวลาควักเหรียญ” “ค่าโดยสาร 8 บาท กับรถที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร” “ครีม-น้ำเงิน นายอายุ 44 ปีเป็นคุณลุงแล้ว” “ทุกชีวิตล้วนผุพังตามกาลเวลา รถเมล์ก็เช่นกัน” “แต่ฝั่งนี้แดดส่องลงเต็มๆ” “เงียบเหงาจัง”  “ติดบ้าง ขยับบ้าง พอถนนโล่งทีไร คนขับก็ซิ่งใหญ่เลย” “มันก็…อันตรายอย่างที่ป้ายบอกนั่นแหละครับ” “สาย 8 ในตำนาน” “เดี๋ยวก็มีคนขึ้นรถครับป้า” “คุณลุงขึ้นไปนั่งแล้ว” “มินิบัสส้มแก๊งนี้ก็อายุ 12 ปีแล้วนะ” “10 บาทตลอดสาย” “อ้าวว กดกริ่งลงยังไงล่ะครับ มองหากริ่งใหม่แทบไม่ทัน” “พกไม้ถูพื้นด้วย รักสะอาดนะเรา” “ปอ.สีเหลืองนี่ก็อายุ 11 ปี อายุไม่น้อยเหมือนกันนะเรา” “ดูแล้วก็…อายุไม่น้อยจริงๆ […]

8 โปรเจกต์รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นใน ‘กรุงเทพฯ ปี 2564’

ขออาสาไปติดตามความคืบหน้าโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ทางเท้า หรือแม้กระทั่งศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทาง ว่าแล้วจะมีอันไหนอยู่ใกล้ตัวเพื่อนๆ บ้าง ตามไปส่องกันเถอะ!

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.