“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

ชวนฟังเสียงวัยรุ่นในดินแดง และชวนสมทบทุนให้คนทำสารคดีกับทีมแพทย์อาสา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลายคนคงได้ชม Prologue สารคดีรสชาติจัดจ้านเรื่อง Sound of ‘Din’ Daeng โปรเจกต์ล่าสุดที่กำลังสร้างและระดมทุนของ ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ผู้กำกับสารคดีหนุ่มชาวไทยที่เคยฝากผลงานประเด็นเชิงสังคมหนักๆ ไว้ในผลงานอย่าง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง, สายน้ำติดเชื้อ, ดินไร้แดน และอื่นๆ ถ้าใครยังไม่ได้ดู Urban Creature แนะนำเลยว่าห้ามพลาด ท่ามกลางการชุมนุมทางการเมืองที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มในปัจจุบัน นนทวัฒน์ ตัดสินใจติดตามกลุ่มวัยรุ่นที่มาร่วมชุมนุมในย่านดินแดง ดินแดนที่ไร้แกนนำ ไร้การปราศรัย และไร้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน แต่วัยรุ่นพลังล้นเหล่านี้ต่างพร้อมเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐแบบไม่หวั่นเกรงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และพร้อมท้าทายความตายอย่างคนหลังชนฝา ซึ่งหลายคนรู้จักพวกเขาในชื่อ ‘ทะลุแก๊ซ (Thalugaz)’ “ผมโตมากับยุคที่มันเหมือนสลัมอะพี่ จุดหนึ่งเราไม่ค่อยมีเงินไปโรงเรียน ก็เลยไม่ได้ไป”  “ผมอยากให้ลูกผมไปอยู่ในที่ที่ดีกว่าเรา ถ้ามีลูก ผมไม่อยากให้เขาเจอแบบเรา อยากให้ลูกมีการงานที่ดี เรียนสูงๆ”  “เราแค่ออกมาส่งเสียงร้องเรียน ความจริงเราไม่ได้ตั้งใจจะมาต่อยตี แต่เขาเป็นฝ่ายทำเราก่อน”  จากบทสนทนาที่นนทวัฒน์พูดคุยและบันทึก สะท้อนให้เห็นว่าหลายคนมองพวกเขาเป็นเพียงกลุ่มวัยรุ่นเกเรขาลุยที่พร้อมบวกกับ คฝ. เพื่อสนองความสะใจเสียมากกว่าจะมีประเด็นทางการเมืองที่หนักแน่นจริงจัง แต่แท้จริงแล้วพวกคุณคิดว่าพวกเขาเป็นคนคิดตื้นๆ อย่างนั้นจริงๆ น่ะเหรอ? เมื่อทุกเสียงของคนในสังคมสำคัญ เสียงสะท้อนของวัยรุ่นที่มารวมตัวบริเวณแยกดินแดงจึงต้องได้รับการฟังไม่น้อยไปกว่าใครหน้าไหน Sound of ‘Din’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.