Langezijds อาคารคณะ ITC จาก University of Twente สถานที่พบปะนักวิทย์ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบยั่งยืน

คนในสายวิทยาศาสตร์อาจคุ้นเคยอยู่บ้างกับคณะ International Institute for Geo-Information Science and Earth Observation (ITC) ที่ตั้งอยู่ใน University of Twente (UT) มหาวิทยาลัยด้านเทคนิคที่ดีที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ประจำปี 2021 แต่นอกจากความน่าสนใจเรื่ององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ในส่วนของสถาปัตยกรรมของคณะก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางคณะได้ปรับปรุงอาคารประจำคณะซึ่งเป็นอาคารเดิมที่สร้างขึ้นในปี 1972 อย่าง ‘Langezijds’ อาคารที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ที่เป็นแหล่งรวมนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และนักวิจัยทั่วโลก ให้กลายเป็นสถานที่พบปะที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้แบบยั่งยืน ด้วยผลงานการออกแบบร่วมกันของ 4 สตูดิโอออกแบบ ได้แก่ Civic Architects, VDNDP, Studio Groen+Schild และ DS Landscape Architects เพื่อทำให้อาคาร ยาว 220 เมตร ขนาด 13,605 ตารางเมตรแห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียว อากาศบริสุทธิ์ และแสงธรรมชาติ มีการคงไว้ซึ่งโครงสร้างคอนกรีตและเหล็กเดิมที่มีร่องรอยการใช้งาน ส่วนเสาเดิมที่ตั้งราวกับซากปรักหักพังบริเวณห้องโถงกลางก็มีการใช้ไม้โอ๊กและพื้นไม้ไผ่ในการซ่อมแซม ให้ความรู้สึกอบอุ่นแก่ตัวอาคารและแสดงถึงจุดยืนเรื่องความยั่งยืน ในขณะที่ภายใต้โครงสร้างอาคารยังมีการออกแบบโถงกลางขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และรับประทานอาหารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ […]

‘Katsura Library’ อ่านหนังสือที่ ม.เกียวโต พร้อมชมวิวป่าไผ่ ห้องสมุดใหม่ที่รวม 5 ห้องสมุดเก่าให้กลายเป็นหนึ่ง

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ติดท็อป 3 ทุกปี คงหนีไม่พ้น ‘มหาวิทยาลัยเกียวโต’ (Kyoto University) เพราะนอกจากการเรียนการสอนที่ดี สภาพแวดล้อมในบริเวณมหาวิทยาลัยยังร่มรื่น ชวนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ไม่น้อย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยเกียวโต วิทยาเขต Katsura ที่ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุดใหม่ ให้ตอบโจทย์การใช้งานของนักศึกษาและบุคคลทั่วไปมากขึ้น ด้วยการรวมเอาห้องสมุดทั้ง 5 แห่งเดิมที่แยกตามการจัดหมวดหมู่ของวิชามาไว้ด้วยกัน และสร้างห้องสมุดใหม่ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็น Area-Focus Hub Library ให้วิทยาเขตแห่งนี้ ‘Katsura Library’ เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่กว่า 4,556 ตารางเมตรที่สร้างขึ้นภายใต้การควบคุมการออกแบบที่เข้มงวด เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ใหม่ยังคงสอดคล้องไปกับตัววิทยาเขตเดิม ด้วยความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการควบคุมออกแบบจาก ‘Waro Kishi + K.ASSOCIATES/Architects’ อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโตและสตูดิโอของเขา ภายในของ Katsura Library ประกอบด้วยพื้นที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ พื้นที่การเรียนรู้แบบสาธารณะที่มีตั้งแต่ห้องทดลองแบบเปิด ห้องวิจัยทั่วไป และห้องสร้างสื่อ รวมไปถึงห้องอ่านหนังสือที่เปิดให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเข้าถึงได้อย่างอิสระ โดยแต่ละส่วนจะให้ความรู้สึกที่เงียบสงบ แต่เชื่อมต่อถึงกันด้วยพื้นที่ห้องโถงใหญ่และกระจกใสกั้นห้อง ผนังภายนอกของ Katsura Library ตกแต่งด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน ผสมกับคอนกรีตแบบเปลือย และการออกแบบหลังคาทรงเรียบ […]

Robarts Library ความอบอุ่นสบายตาในสเปซที่แข็งกร้าว โซนอ่านหนังสือรีโนเวตใหม่ในห้องสมุดสไตล์ Brutalist

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย คือหนึ่งในสถานที่พักผ่อนและใช้ประโยชน์มากมายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่เรียน อ่านหนังสือ ติว นั่งเรื่อยเปื่อย หรือกระทั่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว ดีไซน์และการออกแบบภายในก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในประเทศแคนาดา ได้มีการปรับปรุงโซนห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด ‘Robarts’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งที่นี่ถือเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมแนว Brutalist ที่โดดเด่น สถาปัตยกรรมแนว Brutalist คือสิ่งก่อสร้างที่มีภาพจำเป็นคอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก ที่ให้ภาพลักษณ์แข็งกร้าวทะมึนขึงขัง โดยโปรเจกต์รีโนเวตห้องอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูห้องสมุดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอาคารห้องสมุดวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ‘Superkül’ สตูดิโอผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบร่วมสมัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความเคารพกับสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก นอกจากการเชื่อมต่อโครงสร้างแนว Brutalist ที่มีอยู่ดั้งเดิมกับส่วนต่อขยายของโถงห้องสมุดที่อยู่ติดกันแล้ว ยังมีการเพิ่มมุมเรียนรู้ในพื้นที่ห้องขนาด 1,886 ตารางเมตรที่เพดานสูงสองชั้น ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง สบาย ภายในสเปซนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่เรียนรู้ส่วนบุคคล สถานีการเรียนรู้แบบดิจิทัล ห้องให้คำปรึกษา และโซนแสงบำบัด (Light Therapy) อีกสองโซน อีกทั้งยังมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งานเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับอาคารคอนกรีต รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านมุมเรียนรู้ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับความสูงโต๊ะ กำหนดค่าที่นั่ง และปรับแสงตามต้องการได้ นอกจากนี้ ตัวสตูดิโอยังทำงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องเสียงในการสร้างระบบลดเสียง โดยใช้แผ่นไม้เจาะรูและแผ่นโลหะที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมภายใน ช่วยให้เสียงของกลุ่มคนที่ต้องสนทนากันไม่ไปรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ “เพื่อเป็นเกียรติแก่รูปทรงเรขาคณิตและวัสดุอันโดดเด่นที่ทำให้ห้องสมุด Robarts […]

ลาก่อนกิจกรรมที่สร้างความไม่เท่าเทียม สโมสรนักศึกษา ม.มหิดล ประกาศยกเลิกประชุมเชียร์และกิจกรรมประกวดดาวเดือน

ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมได้กลายเป็นคุณค่าที่สังคมไทยเริ่มตระหนักรู้และยึดถือ นอกจากมีกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อย่างขันแข็งแล้ว หน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษาจำนวนไม่น้อยก็ขยับปรับตัวให้ทันตามยุคสมัย เห็นได้จากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่ออกมายกเลิกกิจกรรมกับวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับเทรนด์สังคมปัจจุบัน ล่าสุด สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้ออกมาประกาศยกเลิกกิจกรรมประชุมเชียร์ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และยกเลิกกิจกรรม MU Ambassador หรือที่หลายคนคุ้นชินกันในชื่อกิจกรรมประกวดดาว-เดือน รวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมสิทธิพิเศษของคนที่มีหน้าตาดีตรงตามมาตรฐานสังคม (Beauty Privilege) ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป นี่ไม่ใช่แค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเท่านั้น แต่หากย้อนไปดูปรากฏการณ์ทำนองนี้ในช่วง 2 – 3 ปี จะพบว่ามีมหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ยกเลิกกิจกรรมรับน้องที่เข้มงวด ระบบโซตัสที่แบ่งแยกรุ่นพี่-รุ่นน้อง ห้องเชียร์ที่บังคับนิสิตนักศึกษาเข้าร่วม ไปจนถึงกิจกรรมประกวดหาตัวแทนคณะและมหาวิทยาลัยที่มีหน้าตากับบุคลิกภาพดี เป็นต้น ยกตัวอย่างเมื่อปี 2020 องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ก็ออกมายกเลิกการประกวดทูตกิจกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หลังจากสำรวจความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อกิจกรรมนี้ พบว่า 55.6% ของผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามทั้งหมด 1,272 คน ไม่เห็นด้วยกับการประกวด และเห็นควรให้ยกเลิกการประกวดดังกล่าว นอกจากนี้ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ก็ออกมาประกาศยกเลิกกิจกรรมการประกวดดาว-เดือน และอีกหลายๆ คณะของมหาวิทยาลัยในไทยก็ตบเท้าเข้าร่วมมูฟเมนต์นี้เช่นกัน แม้แต่ในงานบอลประเพณี […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.