ภูมิปัญญาญี่ปุ่นผสมข้าวไทย YoRice เครื่องดื่มเชียงใหม่ที่ช่วยชาวนาแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ

หากพูดถึงการนำข้าวไปหมักทำเป็นเครื่องดื่ม คนไทยอย่างเราคงคุ้นเคยกับสาโทหรือสุราชาวบ้าน คงไม่ได้นึกถึง ‘อามาซาเกะ’ หรือสาเกหวาน ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มภูมิปัญญาจากญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทั้งอาหารสุขภาพ และให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสความเป็นสาเกก่อนถึงวัย  การเกิดขึ้นของอามาซาเกะข้าวไทยอย่าง YoRice จึงดึงดูดใจใครหลายคน เพราะนอกจากจะเป็นของแปลกใหม่ในไทย สรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ให้ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพตอบเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ ที่สำคัญคือยังสะท้อนให้เห็นปัญหาในจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ลามไปไกลถึงระดับประเทศ) ถึง 3 ประเด็น หนึ่ง คือ ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ  สอง คือ ปัญหาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่นับวันยิ่งหลากหลายน้อยลงไปทุกวัน  สาม คือ ปัญหาความหิวโหยของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการผ่านเครื่องดื่มหนึ่งขวดได้อย่างไร  ปอ-ภราดล พรอำนวย ผู้อยู่กับ YoRice มาตั้งแต่วันแรก เต็มใจถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังผ่านบทสนทนานี้ เมื่อเห็นปัญหาจึงเกิดคำถาม ใครหลายคนคงเหมือนเราที่คุ้นเคยกับปอในบทบาทนักดนตรี เจ้าของร้าน North Gate แจ๊สบาร์คู่เชียงใหม่ มากกว่าการรู้จักเขาในบทบาทของหนุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม  ที่แม้จะไม่ใช่ภาพที่คุ้นชินของใคร แต่เขาก็ยืนยันว่าจริงๆ ความคิดเรื่องนี้วนเวียนอยู่ในตัวเขามานานตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม  ปอย้อนความว่าเหตุการณ์ที่มาจุดประเด็นให้เขาเริ่มสนใจปัญหาปากท้องของคนอื่น มาจากประสบการณ์ครั้งที่เขาโบกรถจากเชียงใหม่ไปฝรั่งเศส การเดินทางครั้งนั้นจะเรียกว่าเป็นการเดินทางเปลี่ยนชีวิตเลยก็ได้ เพราะมันทำให้เขาได้เห็นน้ำใจจากคนครึ่งค่อนโลกที่พร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือมาให้นักดนตรีแปลกหน้าอย่างตน “เราไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตเยอะ การต้องแบกเครื่องดนตรีโบกรถไปหลายหมื่นกิโล […]

อีสานซิ่ง เมื่อคนอีสานใช้ศิลปะเล่าว่าบ้านเฮามีดี

วิถีชีวิตอีสานไม่ได้เท่ากับความแร้นแค้นอีกต่อไป เมื่อคอมมูนิตี้และกิจกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ กำลังผุดขึ้นมาในภูมิภาคเป็นดอกเห็ด ซึ่งให้ทั้งความรู้สึกม่วนอีหลี (สนุกจริงๆ) น่าสนใจ และยังมีตัวเลือกการเสพที่หลากหลาย  เห็นแล้วมันมีแฮง (ชื่นใจ) เพราะล่าสุดชุมชนคนอีสานรุ่นใหม่จับมือกับ TCDC จังหวัดขอนแก่น จัดงาน Isan Creative Festival 2021 อีสานโคตรซิ่ง เทศกาลสร้างสรรค์ของคนในภูมิภาคที่ปรุงรสงานเทศกาลจนออกมาแซ่บอีหลีเด้อ โดยเฉพาะ Weaving Factory หนึ่งในนิทรรศการหลัก ฝีมือกลุ่ม FOUNDISAN ที่ถ่ายทอดงานสิ่งทอและงานจักสานภูมิปัญญาชาวท้องถิ่น ผ่านมุมมองความรักในรูปแบบต่างๆ ของคนในชุมชนตัวเอง กลุ่ม FOUNDISAN ก่อตั้งปี 2560 มีสมาชิกตั้งต้นเป็นคนรุ่นใหม่ 3 คน ได้แก่ ‘อีฟ-ณัฐธิดา พะศักดิ์’ สาวอุบลฯ เจ้าของ Zao (ซาว) ร้านอาหารอีสานรสนัวที่ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล, ‘ตั้ว-พุฒิพงษ์ พิจิตร์’ ดีไซเนอร์มืออาชีพจากกรุงเทพฯ และ ‘พลัง-วรพัฒน์ ดวงศร’ ลูกศิษย์ของอีฟ ซึ่งทั้งสามคนได้ทำงานร่วมกับบรรดาแม่ๆ ผู้เชี่ยวชาญงานหัตถกรรมทั่วทั้งอีสาน ด้วยการผลักดันงานคราฟต์และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีคุณค่าสูง และไปต่อได้ไกลในแง่โอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.