อนาคตวงการเบียร์กำลังสั่นคลอน นักวิทยาศาสตร์เตือน ภาวะโลกรวนอาจทำให้เบียร์ในยุโรปมีราคาแพงขึ้นและรสชาติแย่ลง

‘การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ คือปรากฏการณ์ที่นานาชาติแสดงความกังวล เพราะเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบเกือบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงวงการเครื่องดื่มอย่าง ‘เบียร์’ ด้วย เพราะล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเตือนว่า ภาวะโลกรวนจะทำให้เบียร์ในยุโรปมีราคาแพงขึ้น แถมรสชาติยังจะแย่ลงอีกด้วย สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเกิดจากปริมาณและคุณภาพของ ‘ฮอปส์’ (Hops) ส่วนผสมสำหรับแต่งรสในเบียร์ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผลผลิตน้อยลง ผลที่ตามมาก็คือเบียร์อาจมีราคาสูงขึ้น และผู้ผลิตอาจจะต้องปรับวิธีการผลิตเบียร์ของตนเอง มากไปกว่านั้น นักวิจัยยังคาดการณ์ว่า ผลผลิตฮอปส์ที่ปลูกในภูมิภาคยุโรปจะลดลง 4 – 18 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 หากเกษตรกรไม่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งมากกว่าเดิม ในขณะที่ปริมาณกรดอัลฟาในฮอปส์ซึ่งทำให้เบียร์มีรสชาติและกลิ่นเฉพาะตัวจะลดลง 20 – 31 เปอร์เซ็นต์ Miroslav Trnka นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัย Global Change Research Institute of the Czech Academy of Sciences และผู้ร่วมเขียนงานวิจัยครั้งนี้ที่ตีพิมพ์ผ่านวารสาร Nature Communications ได้เตือนว่า บรรดานักดื่มเบียร์จะได้เห็นผลกระทบที่เกิดจาก Climate Change อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะด้านราคาหรือคุณภาพของเบียร์ […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

ไม่ต้องงดเนื้อสัตว์ตลอดไป ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แค่กินอาหารให้เหมาะสม

อากาศร้อนขึ้นทุกวัน จนหลายคนเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยหรือคำขู่จากการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป ถึงแม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่นอกจากการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งให้น้อยลงแล้ว อาหารการกินของเราในทุกๆ มื้อก็มีส่วนส่งผลกระทบต่อโลกด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการผลิตวัตถุดิบไปจนถึงมื้ออาหารที่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่บนจาน แต่ขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต เพราะเราคงไม่สามารถงดกินข้าวเพื่อคืนความยั่งยืนให้โลกได้ แล้วจะมีหนทางไหนบ้างที่ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูฮาวทูการกินที่ยังคงสนุกกับมื้ออาหาร และเป็นส่วนหนึ่งในการรักโลกไปพร้อมๆ กัน อาหารจากเนื้อสัตว์ทำโลกร้อน เราเรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กจนโตว่าสัตว์บางประเภท เช่น วัว หมู ไก่ ปลา แกะ ถูกสร้างมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ แต่เรากลับไม่รู้เลยว่าการมีอยู่และเพาะพันธุ์สัตว์เหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่จำนวนมากนั้นกำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำร้ายโลกอยู่ เพราะการทำปศุสัตว์จำเป็นต้องใช้พื้นที่มหาศาล จนอาจส่งผลให้พื้นที่ป่าและต้นไม้ลดลง กระทบต่อการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยลงตามไปด้วย กลายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ทุกขั้นตอนของการผลิตเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียไปรบกวนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำและพลังงานปริมาณมากในการเลี้ยงสัตว์ ทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งอาหารและเนื้อสัตว์ รวมถึงการแปรรูปอาหาร ที่เป็นปัจจัยของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น คาร์บอนฟุตพรินต์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร คาร์บอนฟุตพรินต์ หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยและการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย 1 ใน 4 ของการเกิดก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ก็ตาม […]

อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]

เข้าใจสิทธิกับสิ่งแวดล้อมผ่าน 4 สารคดีที่ยืนยันว่าทุกคนควรเข้าถึงอากาศสะอาด ชมฟรีที่ House Samyan 9 – 12 ธ.ค. 65

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการทรัพยากร การอพยพย้ายถิ่นฐาน สาธารณสุข และความขัดแย้งระดับนานาชาติที่ล้วนเชื่อมโยงกัน ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่จึงกลายเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองว่า การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เนื่องจากวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีตรงกับ ‘วันสิทธิมนุษยชนสากล’ เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมงาน ‘Our Right to Live on a Healthy Planet’ เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมกับสภาพภูมิอากาศให้มากขึ้น ผ่าน 4 ภาพยนตร์สารคดี ได้แก่ 1) สายเลือดแม่น้ำโขง Special : Edition (2022)ผู้กำกับ : ธีรยุทธ์ วีระคำประเทศ : ไทย 2) Losing Alaska (2018)ผู้กำกับ : ทอม เบิร์กประเทศ : ไอร์แลนด์ 3) สายน้ำติดเชื้อ (2013)ผู้กำกับ […]

Forest Green Rovers สโมสรฟุตบอลที่รักโลกพอๆ กับฟุตบอล จนได้เป็นเบอร์ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก

ช่วงปลายปีนี้ คอฟุตบอลทั้งหลายคงกำลังตื่นเต้นและตั้งตารอการแข่งขันรายการใหญ่อย่าง ‘ฟุตบอลโลก 2022’ (FIFA World Cup 2022) ซึ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ โดยที่ผ่านมาก็มีโปรแกรมแข่งขันระดับสูงสุดของอังกฤษอย่าง ‘พรีเมียร์ลีก’ (Premier League) ให้แฟนบอลยอมอดหลับอดนอน เฝ้าหน้าจอเพื่อลุ้นเอาใจช่วยทีมโปรดกันแบบตัวโก่ง หลายๆ คนคงรู้จักสโมสรดังๆ ในพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว แต่วันนี้ Urban Creature อยากพาทุกคนขยับไปยังดิวิชันที่เล็กลงมาอย่าง ‘อีเอฟแอลลีกวัน’ (EFL League One) เพื่อทำความรู้จักกับสโมสร ‘Forest Green Rovers (FGR)’ ที่นอกจากเป็นทีมฟุตบอลเก่าแก่อายุกว่า 133 ปี ที่นี่ยังได้รับการรับรองให้เป็น ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก’ โดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึง ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของโลก’ โดยสหประชาชาติ Forest Green Rovers ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเกือบทุกมิติ ตั้งแต่ตัวสนามฟุตบอลที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ เมนูอาหารที่เป็นวีแกนทั้งหมด จนถึงเสื้อนักกีฬาที่ผลิตจากกากกาแฟ ที่สำคัญ ทีมฟุตบอลเล็กๆ จากเมือง Nailsworth […]

จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

ปรับ Mindset เปลี่ยนสังคม ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ไปกับ Together To Net Zero

ในภาวะที่โลกเรากำลังเสี่ยงพบกับหายนะทางสภาพภูมิอากาศ ทั้งภาวะหิมะตกหนัก ฮีตเวฟ น้ำท่วม และภัยแล้ง ล้วนมาจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ใครคนใดคนหนึ่งที่ต้องตระหนักรู้ แต่เป็นทั้งโลกที่ต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือกัน เกิดเป็นการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ขึ้น โดยภายในการประชุมมี 132 ประเทศได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ก่อนปี 2050 ส่วนประเทศไทยก็ได้มีการวางเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ก่อนปี 2065 เช่นเดียวกัน ทำให้ทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดเวที ‘GC Circular Living Symposium 2022: Together To Net Zero’ เวทีการประชุมระดับนานาชาติที่รวมพลังขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 เพื่อ Update Trend แนวทางการลดโลกร้อนผ่าน Speakers ชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ไม่ใช่แค่บรรลุเป้าหมายขององค์กรในการลดก๊าซเรือนกระจก หากแต่ยังช่วยสนับสนุนภาพใหญ่ของไทยและโลกใบนี้ผ่านการสร้างการตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วนได้ตื่นตัว โดยภายในงาน ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืน GC […]

นักวิจัยเมืองชี้วิกฤตเมืองในอนาคตจากปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน จะทำให้คนอยู่ยาก-ลำบาก-เครียด

เมื่อไม่นานนี้ มีการจัดเสวนา ‘MQDC Sustainnovation Forum 2022 เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤตอย่างไร’ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรสำคัญด้านการพัฒนาเมือง ได้แก่ FutureTales LAB, RISC, Creative Lab และ Unisus-EEC โดยได้เปิดเผยข้อมูลวิจัยสภาพเมืองแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง พร้อมระดมวิธีการแก้ปัญหาจากหลายภาคส่วนเพื่อเตรียมรับมือวิกฤตต่างๆ และร่วมกันขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ในฐานะ Resilient City ไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืนมากที่สุด  ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales LAB ได้นำเสนอการคาดการณ์อนาคตเมืองปี 2050 โดยพิจารณาจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อัตราการใช้พลังงาน และพฤติกรรมของผู้คน พบว่า โลกในอนาคตจะเต็มไปด้วยมลภาวะที่ทำให้การอยู่อาศัยของมนุษย์ยากกว่าในปัจจุบันอย่างเทียบไม่ติด เนื่องจากอุณหภูมิทุกแห่งจะสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร ผู้คนมากกว่า 200 ล้านคนต้องย้ายถิ่นฐาน และกว่า 400 ล้านคนต้องประสบภัยพิบัติจากการขาดแคลนน้ำและอาหาร รวมถึงภัยแล้งสุดขั้ว ซึ่งประเทศไทยเองก็หนีวิกฤตเหล่านี้ไม่พ้นแน่นอน เพราะการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันล้วนเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก […]

ออสเตรเลียผลิตนมสังเคราะห์ ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากโคนม เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

หลังจากซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งได้เพิ่มพื้นที่ชั้นวางสินค้าให้กับนมจากพืชอย่างข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง หรืออัลมอนด์ ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่อีกไม่นานบรรดาห้างสรรพสินค้าอาจต้องจัดสรรพื้นที่อีกส่วนให้กับเครื่องดื่มทางเลือกใหม่แห่งอนาคตอย่าง ‘นมสังเคราะห์’ ก็เป็นได้ เพราะล่าสุด ‘Eden Brew’ บริษัทสตาร์ทอัปสัญชาติออสเตรเลีย ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยอิสระ CSIRO และสหกรณ์โคนมที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย Norco เพื่อพัฒนานมสังเคราะห์ขึ้นมาผ่านการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า ‘Precision Fermentation’ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ขึ้นด้วยการเพาะเซลล์ในห้องแล็บ ที่ผู้ผลิตอ้างว่าทำให้นมสังเคราะห์มีรสชาติ รูปลักษณ์ และเนื้อสัมผัสเหมือนกับนมวัวทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกดื่มนมสังเคราะห์นี้แทนนมวัวได้โดยที่รสชาติไม่แตกต่างไปจากเดิม Eden Brew คาดว่านมชนิดนี้จะวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วออสเตรเลียได้ภายในกลางปี 2023 ผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Eden Brew น่าจะตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนได้ไม่น้อย เพราะคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนของฟาร์มโคนม ซึ่งเป็นปัจจัยอันดับสองที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกรองลงมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากนมสังเคราะห์นี้ไม่ได้เกิดจากวัวภายในฟาร์ม แต่เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพ จึงไม่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนในกระบวนการผลิต นมสังเคราะห์จึงอาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไม่แน่ว่าในอนาคต การดื่มนมประเภทใหม่นี้อาจกลายเป็นเทรนด์ที่มาแทนการดื่มนมวัวแบบเดิมๆ ก็เป็นได้ Sources : ABC News | t.ly/yG6nDaily Mail Online | t.ly/cPZWScienceAlert | t.ly/q67l

ชวนดูสารคดี I AM GRETA และพูดคุยประเด็นวิกฤตโลกร้อนใน 3 จังหวัดทั่วไทย ส.ค. – ก.ย. 65

ใครที่สนใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เราขอชวนทุกคนไปเปิดมุมมองใหม่และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านกิจกรรม ‘CCCL Film Tours 2022’ ในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL Film Festival) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Canada Fund for Local Initiatives (CFLI)  ภายในงานจะจัดฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘I AM GRETA’ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ ‘เกรียตา ทุนแบร์ย’ นักเคลื่อนไหวทางด้านสภาพภูมิอากาศชื่อดังของโลก ผ่านฟุตเทจทั้งมุมที่แข็งแกร่งและอ่อนไหวของเธอ ซึ่งไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน เราเชื่อว่าการออกมาเรียกร้องและแสดงจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนของเกรียตาจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนทั่วโลกลุกขึ้นมาเรียกร้องให้สังคมและรัฐบาลทั่วโลกตระหนักต่อความสำคัญของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสนทนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติต่างๆ ร่วมกับเยาวชน คนทำหนัง รวมไปถึงผู้ขับเคลื่อนสังคมด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนเสียงของกลุ่มคนหลากหลายในสังคมต่อประเด็นนี้ CCCL Film Tours 2022 จัดขึ้นระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 ใน 3 จังหวัดทั่วไทย ได้แก่ 20 สิงหาคม 2565 ที่ Punspace Tha Phae Gate จังหวัดเชียงใหม่27 […]

เต่าตัวผู้หายไปไหน? โลกร้อนทำเต่าเกิดใหม่ในฟลอริดา กลายเป็นเพศเมียกว่า 99 เปอร์เซ็นต์

ภาวะโลกร้อนไม่ได้ทำให้มนุษย์ต้องเจอสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนเหงื่อซกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังส่งผลกระทบที่น่ากังวลต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตอย่าง ‘เต่าทะเล’ ด้วย  เพราะในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ รายงานระบุว่า รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เจอสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาตัวอ่อนและไข่ของเต่าทะเลค้นพบว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของเต่าทะเลที่เกิดใหม่นั้นเป็น ‘เพศเมีย’ แทบไม่มีเพศผู้เลย ข้อมูลจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Ocean Service) นั้นอธิบายว่า เพศของเต่าทะเลจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของไข่ที่อยู่ในขั้นตอนการเจริญพันธุ์ หากฟักตัวในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำกว่า 27.7 องศาเซลเซียส ลูกเต่าส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพศผู้ แต่ถ้าหากฟักตัวในบริเวณที่อุณหภูมิสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส ลูกเต่าก็จะเกิดเป็นเพศเมีย ถือเป็นข้อมูลที่คลายข้อสงสัยให้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะอากาศที่ร้อนขึ้นมากกว่าเดิมในช่วง 4 ปีนี้ ทำให้ทรายในฟลอริดาที่แม่เต่าไปฟักไข่ไว้อุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การเกิดใหม่ของลูกเต่าจึงกลายเป็นเพศเมียอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอัตราการเกิดของเต่าทะเลทั้งสองเพศที่ไม่สมดุลกันนี้ก็อาจส่งผลให้จำนวนประชากรเต่าในอนาคตลดลงตามไปด้วยเช่นกัน เห็นแบบนี้ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า น้องเต่าเกิดใหม่ในบ้านเราจะกลายเป็นตัวเมียกันหมดเหมือนกับที่ฟลอริดาไหมนะ Source : Reuters | t.ly/FvDr

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.