ฟังเสียงต้นกระบองเพชรด้วยเครื่อง ‘Desert Songs’ กล่องดนตรีจากเสียงของพืช

เคยสงสัยไหมว่าพืชใบเขียวที่อยู่รอบตัวเรามีเสียงเป็นอย่างไร เพราะอยากรู้ว่าต้นกระบองเพชรมีเสียงแบบไหน ทำให้ ‘Love Hultén’ ช่างไม้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับโสตทัศนศิลป์ (Audio Visual Arts) ตัดสินใจออกแบบและสร้าง ‘Desert Songs’ กล่องดนตรีขนาดใหญ่ที่บรรจุต้นกระบองเพชรไว้ เพื่อดึงเอาเสียงภายในออกมาด้วยวิธีอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา โดยใช้สายไฟ ข้อมูล และเครื่องเสียงที่เขาสร้างขึ้นเอง Love Hultén นำแนวคิด Plantwave ที่สร้างเสียงดนตรีจากต้นไม้ด้วยการรวบรวม Bio-data จากพืชมาแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ที่จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นคลื่นเสียงที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่อยู่ภายในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชชนิดนั้นๆ แต่สิ่งที่ทำให้ Desert Songs แตกต่างจากเพลงที่ทำขึ้นด้วยแนวคิด Plantwave ทั่วไปคือ การที่ Love Hultén สังเกตเห็นว่ากระบองเพชรแต่ละสายพันธุ์จะให้ผลลัพธ์เป็นเสียงที่แตกต่างกัน ทำให้ภายในกล่อง Desert Songs ประกอบด้วยกระบองเพชรหลากหลายสายพันธุ์ที่ให้สัญญาณที่หลากหลายและถูกส่งออกมาแบบสุ่ม เพื่อแปลงเป็นสัญญาณ MIDI (Musical Instrument Digital Interface) สำหรับป้อนไปยังเครื่องสังเคราะห์เสียง Korg NTS-1 ก่อนจะส่งไปตีความใหม่โดยอุปกรณ์เอฟเฟกต์ Hologram Electronics Microcosm อีกครั้ง จนทำให้เสียงที่ออกมาจากต้นกระบองเพชรมีความลึกลับและน่าค้นหายิ่งขึ้น […]

@modernbiology ชายผู้สร้างเสียงดนตรีจากพืช เพื่อระดมเงินปกป้องผืนป่า

ในสมัยเด็ก เวลาเราเล่นเลียนเสียงธรรมชาติกัน เสียงที่เลียนแบบได้ง่ายๆ คงหนีไม่พ้นเสียงของสัตว์ต่างๆ หรือถ้าเป็นเสียงลมก็ยังพอจะนึกออกทำได้อยู่บ้าง แต่ถ้ามีใครบอกให้ทำเสียง ‘เห็ด’ ‘ใบไม้’ หรือ ‘แตงโม’ เราคงขมวดคิ้วไปสักพักใหญ่ ว่าสิ่งเหล่านี้มีเสียงกับเขาด้วยหรือ? สำหรับคนทั่วไป พืชเหล่านี้อาจจะไม่มีเสียง แต่สำหรับ Tarun Nayar อดีตนักชีววิทยาที่ผันตัวมาเป็นนักดนตรี ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดไหนก็มีเสียงด้วยกันทั้งนั้น เพราะเขาสามารถดึงเอาเสียงเพลงออกมาจากธรรมชาติเหล่านี้ได้ด้วยการเสียบอุปกรณ์ผ่านเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) เข้ากับพืช ผัก และผลไม้ที่เขาต้องการ อาทิ เห็ด ต้นกระบองเพชร ใบเฟิร์น ลูกเบอร์รี หรือแม้กระทั่งผลมะม่วงสุก จนได้ออกมาเป็นเพลงให้พวกเราได้ฟังกัน โดยการดึงเอาเสียงออกมาไม่ใช่การที่พืชสร้างเสียงเพลงขึ้นมาได้เอง แต่ Tarun Nayar ใช้การเคลื่อนที่ของน้ำภายในพืชเหล่านั้นในการสร้างเป็นโน้ตเพลงที่แตกต่างกันออกไปขึ้นมา และเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Environmental Music’  ไม่ใช่แค่การค้นพบหรือมอบสิ่งที่แปลกใหม่ให้ผู้คนฟังเท่านั้น แต่ Tarun Nayar มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นในการตั้งมั่นตั้งใจที่จะทำหน้าที่ปกป้องผืนป่าที่ให้เสียงดนตรีกับเขาด้วย “ผมกำลังพยายามควบคุมพลังงาน ความสนใจ ความตระหนัก และเงินทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากโครงการนี้ เพื่อปกป้องพื้นที่ป่า” Tarun Nayar กล่าว และสำหรับใครที่สงสัยว่าเสียงจากพืชมีลักษณะเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปฟังเพลงที่สร้างจากเสียงของธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้นผ่านแอ็กเคานต์ TikTok […]

Urban Foraging BKK ทริปตามหา ‘พืชกินได้’ สารพัดประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในเมืองกรุง

รู้หรือไม่ว่า ‘วัชพืช’ และ ‘สมุนไพร’ นานาชนิดที่อยู่รอบตัวเราสามารถเปลี่ยนเป็นเมนูแสนอร่อยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และอาจช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของคนเมืองได้ด้วยนะ 23 เมษายน 2565 เรามีโอกาสไปร่วมทริป ‘Urban Foraging BKK’ ที่จัดโดย สวนผักคนเมือง : ปลูกเมือง ปลูกชีวิต, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นกิจกรรมเที่ยววันเดียว ‘ครั้งแรก’ ที่สวนผักคนเมืองพาคนเมืองอย่างเราไปลัดเลาะตามหาและทำความรู้จักพืชที่ซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งนี้ใช้ชื่อทริปว่า ‘พืชกินได้นอกสายตา’ เหตุผลที่ใช้ชื่อนี้ เพราะจริงแล้วๆ รอบตัวของเรารายล้อมไปด้วย ‘พืชอาหาร (Edible Plants)’ ซึ่งไม่ได้หมายถึงผักที่ปลูกในแปลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัชพืชและสมุนไพรริมทางที่เราอาจคุ้นตา แต่อาจไม่รู้จักชื่อ หรืออาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าพืชเหล่านี้มีประโยชน์สารพัด ทริป Urban Foraging BKK จึงอยากแนะนำพืชอาหารที่เติบโตตามธรรมชาติให้เรารู้จัก เพราะไม่แน่ว่าพืชที่เคยแปลกหน้าเหล่านี้อาจมาปรากฏตัวบนโต๊ะอาหารของเราในอนาคตก็เป็นได้ ที่สำคัญ ทริปนี้ยังมีเป้าหมายสร้างองค์ความรู้ด้านอาหารใหม่ๆ ที่อาจช่วยพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นด้วย  คอลัมน์ Experimentrip จึงอยากพาทุกคนไปติดตามภารกิจตามหาพืชอาหารว่าจะพบพืชชนิดใดบ้าง ประโยชน์และสรรพคุณของพืชแต่ละชนิดคืออะไร และคนเมืองอย่างเราจะรู้สึกเซอร์ไพรส์กับพืชกินได้ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมขนาดไหน ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาออกเดินทางสู่การเรียนรู้ครั้งใหม่พร้อมกันเลย! ล่องเรือมุ่งหน้าสู่ […]

‘CHVA’ แบรนด์ที่พลิกวัชพืชอันตรายเป็นวัสดุกันกระแทกแก้ปัญหาขยะพลาสติกจากช้อปปิง Online

ชวนคุณไปจัดการกองผักตบชวาที่ลอยค้างในลำคลอง มาแปรรูปเป็นโปรดักต์เพื่อสิ่งแวดล้อม ช่วยทดแทนการใช้พลาสติกกันกระแทกให้น้อยลงแล้ว แถมยังสร้างความหมายให้กับชุมชนอีกด้วย

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.