PepsiCo ถูกรัฐนิวยอร์กยื่นฟ้องฐานสร้างมลพิษพลาสติกรายใหญ่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีขยะพลาสติกและซองขนมที่ถูกพบในแม่น้ำบัฟฟาโลกว่า 1,916 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อ ‘PepsiCo’ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ รัฐนิวยอร์กได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ PepsiCo ฐานสร้างมลพิษจากการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าบริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำในเมืองเกิดการปนเปื้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อชาวเมืองและสัตว์น้ำ เพราะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งถือเป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกขนาดเล็ก ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ กระตุ้นอัตราการเกิดมะเร็งให้สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวนิวยอร์กหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในเวลาต่อมา โฆษกของ PepsiCo ออกมาแถลงการณ์เน้นย้ำว่า ทาง PepsiCo มุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกในอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญต่อการรีไซเคิลเพื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต Sources : BBC NEWS | t.ly/nKKUwSky News | t.ly/cmqwT

LEGO ยกเลิกการใช้ขวดพลาสติกในการสร้างวัสดุตัวต่อเลโก้รักษ์โลก หลังพบการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้น

เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา ทาง ‘LEGO’ ได้เปิดตัววัสดุตัวต่อเลโก้ต้นแบบตัวแรกที่ใช้ PET รีไซเคิล (rPET) ในการผลิต เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดทำจากวัสดุที่ยั่งยืนภายในสิ้นทศวรรษนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี 1963 เป็นต้นมา ตัวต่อเลโก้จำนวนหลายพันล้านชิ้นที่ผลิตในแต่ละปีล้วนทำมาจากพลาสติก ‘อะคริโลไนไตรล์ บิวทาไดอีน สไตรีน’ (ABS) หรือพลาสติกบริสุทธิ์ที่ทำจากน้ำมันดิบที่ปล่อยคาร์บอนมากถึง 1.2 ล้านตัน ทว่าเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ทาง LEGO ก็ออกมาประกาศล้มเลิกการใช้ขวดพลาสติกในการสร้างวัสดุตัวต่อเลโก้รักษ์โลกแล้ว หลังจากพบว่าการปรับโรงงานให้หันมาใช้พลาสติก rPET แทน ABS นั้นกลับก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นจนอาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะการขึ้นรูปเป็นตัวต่อจาก rPET จำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการแปรรูปและทำให้แห้ง เพื่อที่ตัวต่อจากวัสดุใหม่จะได้คุณสมบัติความทนทานเทียบเท่าของเดิม ซึ่งในกระบวนการนี้เองที่ทำให้แม้เราจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่รักษ์โลกขึ้น แต่กลับปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ออกมาในปริมาณเท่าเดิมหรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำ ปัจจุบันทาง LEGO จึงมองหาทางออกใหม่ในการมุ่งสู่การผลิตตัวต่อเลโก้จากวัสดุที่ยั่งยืน ด้วยการทดสอบและพัฒนาตัวต่อที่ทำจากวัสดุทางเลือกที่ยั่งยืนอื่นๆ กว่า 100 รายการ รวมถึงพลาสติกที่มาจากการรีไซเคิลและจากแหล่งทางเลือกอื่นอย่าง E-methanol ที่ผลิตจากก๊าซผสมระหว่าง Green Hydrogen และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการดักจับคาร์บอนในอากาศหรือโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อเข้าสู่ข้อบรรลุของบริษัทที่ต้องการให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 […]

‘SOAPBOTTLE’ ขวดสบู่จากสบู่ที่ใช้ได้ทั้งข้างนอกและข้างใน ช่วยลดขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์

โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปี โลกของเรามีปริมาณขยะพลาสติกจากขวดสบู่และแชมพูมากถึง 75 กิโลตัน และขยะเหล่านี้ต่างใช้เวลาในการย่อยสลายตัวเองเฉลี่ยมากถึง 500 ปี ด้วยเหตุนี้ ‘Jonna Breitenhuber’ นักออกแบบชาวเบอร์ลินจึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีอันชาญฉลาด ด้วยการนำสบู่เหลวใส่ไปในสบู่ก้อน และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ระดมทุนเมื่อปี 2021 โดยใช้ชื่อว่า ‘SOAPBOTTLE’ ความพิเศษของ SOAPBOTTLE คือไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์หรือสบู่ภายในต่างใช้งานได้จริง เพราะทำมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นวีแกน ไม่ก่อให้เกิดขยะพลาสติกเมื่อใช้สบู่เหลวหมดขวด และทุกกระบวนการผลิตยังไม่ทดลองใช้กับสัตว์ด้วย หลักการทำงานของ SOAPBOTTLE คือเมื่อเราเปิดใช้สบู่เหลวภายในหมดแล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากสบู่ข้างนอกจะค่อยๆ ละลายกลายเป็นสบู่สำหรับล้างมือ หรือนำไปแปรรูปเป็นสบู่สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ปัจจุบัน SOAPBOTTLE ได้ปิดรับการระดมทุนและอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และมองหาพันธมิตรที่เหมาะสม เพื่อขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมไปถึงของเหลวประเภทอื่นๆ อย่างแชมพูหรือครีมนวดผม และเตรียมพร้อมในการปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดในอนาคต Sources : SOAPBOTTLE | soapbottle.com/aboutYanko Design | t.ly/5CA4GDesignboom | t.ly/mheMz

โครงการติดตั้งตู้กดน้ำสาธารณะ 10 จุด และแผนที่จุดเติมน้ำกว่า 100 แห่งทั่ว กทม.

ในบรรดาคนเมืองที่เดินทางไปเรียน ทำงาน หรือกระทั่งท่องเที่ยว น่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่พกพากระบอกน้ำติดตัวไปด้วย เพราะนอกจากจะสะดวก ไม่สร้างขยะเพิ่มเติม เราก็ยังดื่มน้ำเย็นชื่นใจหรือชากาแฟที่ชงจากบ้านได้ตลอด แต่อุปสรรคสำคัญของการพกพากระบอกน้ำทุกๆ วันในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องจุดเติมน้ำที่มีค่อนข้างจำกัด หรือต่อให้เจอ บางทีเครื่องก็เสียหรือดูสกปรกจนเราไม่กล้าใช้เติมน้ำ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Environmental Justice Foundation Thailand (EJF) ได้เปิดตัวโครงการ ‘Bottle Free Seas’ ร่วมกับเครือข่าย Refill Bangkok เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพลาสติกมาร่วมผนึกกำลังกันอย่างคับคั่ง สร้างเทรนด์พกกระบอกน้ำเพื่อลดพลาสติกก่อนล้นโลก การร่วมมือนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การที่ EFJ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ติดตั้งตู้กดน้ำสาธารณะที่ใช้ระบบเซนเซอร์ในการเติมน้ำลงขวดเท่านั้น รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนไส้กรองและตัวเลขที่แจ้งว่าเติมน้ำไปจำนวนกี่ขวดแล้วในพื้นที่ 10 จุดทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งนำร่องติดตั้ง 2 จุดแรกไว้ที่สวนเบญจกิติ ส่วนอีก 8 จุดจะมีการติดตั้งและแจ้งข่าวเพิ่มเติมต่อไป ส่วนที่สองคือเว็บเพจ refillbkk.greendot.click ที่ทำหน้าที่เป็น One Stop Service สำหรับจุดเติมน้ำดื่มใกล้ตัว ประกอบด้วยแผนที่จุดเติมน้ำดื่มในเครือข่ายทั่วกรุงเทพฯ กว่า 100 จุด […]

ประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลกับโครงการ Upcycling Design Project ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท

‘คาเฟ่ อเมซอน’ ชวนนิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสนใจงานดีไซน์ ร่วมประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล กับโครงการ ‘Upcycling Design Project’ เพื่อใช้ต่อยอดเป็นสินค้าสำหรับจำหน่ายในร้านคาเฟ่ อเมซอน และชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้เป็น Co-Partner ร่วมกับร้านคาเฟ่ อเมซอน เพื่อส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการ ‘Upcycling Upstyling by GC’ ต่อไป พร้อมโอกาสพัฒนาผลงานร่วมกับดีไซเนอร์แฟชั่นแถวหน้าของประเทศไทย รายละเอียดเงินรางวัลมีดังนี้ – รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ผู้สนใจ ส่งใบสมัครโครงการ […]

Samsung เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับเครื่องซักผ้า ที่ดักจับพลาสติกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผลการวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติรายงานว่า ปัจจุบันในทะเลทั่วโลกมีไมโครพลาสติกสะสมถึง 171 ล้านล้านชิ้น โดยมีไมโครพลาสติกกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ที่มีแหล่งที่มาจากสิ่งทอสังเคราะห์ที่หลุดออกมาในช่วงซักล้าง เพื่อเป็นด่านแรกในการดักจับไมโครพลาสติกระหว่างการปล่อยน้ำเสียหลังการซักเสื้อผ้าในแต่ละวัน ‘Samsung’ ได้เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับติดตั้งบนเครื่องซักผ้า ที่ช่วยดักจับไมโครพลาสติกที่ปะปนในน้ำได้มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่ากับขวดพลาสติกขนาด 500 มิลลิลิตร 8 ขวดต่อปี ด้วยตาข่ายดักจับไมโครพลาสติกขนาด 65 – 70 ไมโครเมตรที่อยู่ภายใน Less Microfiber™ Filter เป็นผลงานการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ ‘Patagonia’ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอนุรักษ์มหาสมุทรระดับโลกอย่าง ‘Ocean Wise’ ผ่านเป้าหมายการลดปริมาณไมโครพลาสติกในท้องทะเล และช่วยให้การซักผ้าเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เครื่องซักผ้าของแบรนด์ Samsung เท่านั้น แต่ Less Microfiber™ Filter ยังนำไปติดตั้งอยู่บนเครื่องซักผ้าแบรนด์อื่นๆ ได้ด้วย ผ่านการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน ‘SmartThings’ แพลตฟอร์มการเชื่อมต่ออัจฉริยะของ Samsung ที่จะแสดงผลการใช้งานของตัวกรอง และแจ้งเตือนผู้ใช้งานเมื่อจำเป็นต้องทำความสะอาด ปัจจุบัน Less Microfiber™ […]

‘อุตสาหกรรม K-POP กับปัญหาขยะพลาสติก’ เมื่อความรักไอดอลเกาหลีไม่ได้มาพร้อมกับการรักษ์โลก

ในขณะที่วัฒนธรรมการฟังเพลงเปลี่ยนผ่านจากการฟังแบบแอนะล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่แค่ปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงเสียงเพลงบนโลกออนไลน์ได้เป็นล้านล้านเพลง แต่เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงแห่งอเมริกา (RIAA) กลับรายงานว่า ชาวอเมริกันซื้อซีดีเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2020 เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นครั้งแรกที่ยอดขายเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องมานานถึง 17 ปี การเพิ่มขึ้นของตลาดซีดีในอเมริกาหลังจากซบเซามานานนั้นมีเหตุผลหลายประการ แต่จากข้อมูลใน Billboard พบว่า การออกอัลบั้มของวง BTS ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดขายแผ่นซีดีกระโดดขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากการจำหน่ายอัลบั้มของ Adele และ Taylor Swift ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมกลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลีมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ โดยมี ‘Physical Album หรือ อัลบั้มแบบจับต้องได้’ เป็นจุดร่วม ผ่านการสร้างเงื่อนไขของอุตสาหกรรมเคป็อปที่ส่งผลให้มีการซื้อ-ขายอัลบั้มในปริมาณมากๆ  จากปกติที่เวลาชอบศิลปินคนไหน เราก็มักสนับสนุนด้วยการซื้ออัลบั้มของเขาสัก 1 – 2 อัลบั้มเพื่อเก็บสะสม ทว่าเมื่อเป็นศิลปินเคป็อปเมื่อไหร่ การที่แฟนคลับคนเดียวซื้ออัลบั้มถึงหลักร้อยก็ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย เนื่องจากมีคัลเจอร์แฟนด้อมที่เหนียวแน่นมากๆ กับสิทธิพิเศษที่จะตามมาเป็นเหตุผลรองรับ แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะยอมรับเรื่องนี้ได้ เพราะไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดกลุ่มคนที่ออกมารณรงค์ถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการซื้อ-ขายอัลบั้มที่มากเกินความจำเป็นของอุตสาหกรรมเคป็อปอย่างหนัก จนตัวค่ายและศิลปินเองต้องออกมาปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวการหลักในการผลิตขยะพลาสติก ในปัจจุบัน ปริมาณขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัฐบาลในประเทศเกาหลีใต้อยู่ไม่น้อย เพราะในขณะที่หลายประเทศกำลังรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ระหว่างปี […]

Plastic SAKE Brewery โปรเจกต์สุดล้ำ หมักเหล้าสาเกจากขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะมาอยู่ในจุดที่สามารถหมัก ‘สาเก’ จากเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์กันได้แล้ว ความคิดสุดครีเอทีฟนี้เกิดขึ้นจากโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ ของ Fumiaki Goto นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ที่นำเสนอประเพณีการบูชาธรรมชาติและวัฒนธรรมการบริโภคของญี่ปุ่นผ่าน ‘ไวน์ข้าวสาเก’ ที่มีส่วนผสมหลักคือ ‘ขยะพลาสติกพอลิเมอร์’ ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยปกติแล้ว สาเกต้นตำรับแท้จากประเทศญี่ปุ่น จะผลิตโดยใช้พันธุ์ข้าวอย่างดีหมักกับเชื้อราชนิดพิเศษจนทำให้เกิดเป็นแอลกอฮอล์รสชาติดี ทำให้สาเกกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสาเกซบเซาลงทุกปี เนื่องจากความนิยมที่ลดลง รวมไปถึงทางเลือกในตลาดเครื่องดื่มที่มีมากขึ้น ดังนั้น Goto จึงตั้งใจทำโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ นี้ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการผลิตสาเก โดยหวังว่าสุราประจำชาติของญี่ปุ่นจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง แถมยังได้ช่วยโลกของเราขจัดขยะพลาสติกไปพร้อมกันด้วย กระบวนการผลิตสาเกจากพลาสติกพอลิเมอร์แทบจะไม่ต่างจากการผลิตสาเกแบบดั้งเดิม ที่มีส่วนผสมหลักเป็นข้าวญี่ปุ่นและเชื้อราที่ใช้ในการหมัก แต่สิ่งที่ Goto เพิ่มเข้าไป ก็คือบรรดาพลาสติกพอลิเมอร์ชนิดใหม่ที่สามารถสลายตัวได้ด้วยจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเหล้าสาเกทั่วไป ดังนั้น การทำสาเกหนึ่งครั้ง นอกจากที่เราจะได้แอลกอฮอล์รสชาติดีมาดื่มกันแล้ว เรายังสามารถย่อยสลายเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์ไปพร้อมๆ กันได้ด้วย ถือเป็นมิติใหม่สำหรับการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง ด้าน Goto หวังว่าโปรเจกต์นี้จะเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการลดขยะพลาสติกและกลายเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในอนาคตได้ เพราะการกลั่นสาเกจากขยะไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ และสามารถทำในโรงสาเกขนาดเล็กรอบๆ ตัวเราได้ทันที Source :Designboom | […]

Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

PP Meltblown พลาสติกที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน l Now You Know

เม็ดพลาสติก PP Meltblown คืออะไร ทำไมเราต้องทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งนี้ด้วย? ก็เพราะหน้ากากอนามัยที่เราใส่ช่วงออกจากบ้าน หน้ากาก N95 ที่ใส่กันฝุ่นพิษ PM 2.5 หรือแม้แต่ชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE ที่ทุกคนได้ยินกันบ่อยช่วงโควิด ล้วนทำมาจากเม็ดพลาสติกชนิดนี้ มันจึงใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตทุกคนอย่างแยกไม่ออก ใกล้ตัวขนาดนี้ เลยอยากจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักให้มากขึ้น แถมตอนนี้ประเทศไทยเรายังมีโรงงานผลิตและพัฒนา PP Meltblown เป็นเจ้าแรกโดย IRPC ซึ่งช่วยยกระดับศักยภาพการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบไม่ต้องง้อการนำเข้าจากต่างประเทศอีกแล้ว Source : https://www.facebook.com/IRPCofficial/ #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #NowYouKnow #IRPCThailand #PPMeltblown #Polimaxx

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.