PowerPod นวัตกรรมกังหันลมในเมือง ใช้พื้นที่น้อย ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ ทางเลือกใหม่ของพลังงานหมุนเวียน

การรักษาทรัพยากรเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนกำลังตระหนักถึงความสำคัญ และการใช้พลังงานทดแทนคือสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ โดยหนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่น่าจะเป็นแหล่งทุนที่หาง่ายที่สุดคือ ‘พลังงานลม’ แต่ด้วยข้อจำกัดของกังหันลมแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่ ส่งเสียงดัง และอาจสร้างอันตรายต่อสัตว์ต่างๆ รวมถึงต้องอาศัยพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีลมโกรกอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของเมืองได้ ด้วยเหตุนี้ ‘Halcium’ บริษัทสตาร์ทอัปในเมืองซอลต์เลกซิตี้ รัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงออกแบบกังหันลมแบบใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านั้น ก่อให้เกิดพลังงานลมมาสู่เมืองต่างๆ ชื่อของกังหันลมที่ว่านี้คือ ‘PowerPod’ ซึ่งเป็นกังหันลมต้นแบบขนาดเล็กที่ดีไซน์มาให้รวบรวมอากาศได้ 360 องศา มีใบพัดอยู่ภายในที่ถูกปกป้องด้วยเปลือกนอก ส่งผลให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพและกำลังมากกว่ากังหันลมทั่วไป ที่จะช่วยผลิตพลังงานได้มากกว่ากังหันลมแบบเดิมถึง 300 เท่า อีกความสามารถหนึ่งของ PowerPod คือ การรับพลังงานลมจากการเปลี่ยนทิศทางหรือหลายทิศทางพร้อมกันได้ ซึ่งลมแบบนี้มักพบได้บ่อยในสภาพแวดล้อมในเมือง พูดง่ายๆ คือ เจ้านวัตกรรมกังหันลมนี้สามารถผลิตพลังงานได้โดยไม่ต้องคำนึงทิศทางลม และเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของอาคารต่างๆ หรือรวมเข้ากับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อกักเก็บพลังงาน ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาพลังงานหมุนเวียนได้ มากไปกว่านั้น PowerPod ยังเป็นพลังงานสำรองสำหรับบ้านและการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในกรณีของเหตุฉุกเฉินหรือไฟฟ้าดับ และด้วยลักษณะที่มีรูปร่างเล็กกะทัดรัด ทำให้เอื้อต่อการติดตั้งบนหลังคา ระเบียง หรือขอบหน้าต่าง เพื่อรับลมและผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ PowerPod ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยบริษัทผู้ออกแบบกำลังดำเนินการ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของตัวต้นแบบให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ […]

เดนมาร์กแปลงสภาพใบพัดกังหันลมเก่าเป็นโรงจอดจักรยานในท่าเรืออัลบอร์ก

เดนมาร์กใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอย่าง ‘พลังงานลม’ จนเห็นกังหันลมเป็นส่วนหนึ่งของทิวทัศน์ในท้องถิ่นไปแล้ว ซึ่งเดนมาร์กมีแพลนผลักดันให้ได้พลังงานจากพลังงานลมถึง 70% ภายในปี 2030 จากเดิมอยู่ที่ 40% เท่านั้น เมื่อแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องของความยั่งยืน แต่คงไม่สมเหตุสมผลถ้าจะทิ้งใบกังหันลมแบบเสียเปล่า แน่นอนว่ามันมีอายุการใช้งานเพียง 20 ปีและไม่สามารถย่อยสลายเองได้ ปกติกังหันลมเก่าส่วนใหญ่ใช้การกำจัด 2 วิธี คือการฝังกลบและการเผา ซึ่งไม่ยั่งยืนเท่าไหร่นัก จึงเป็นโจทย์ให้รัฐบาลเดนมาร์กมองหาลู่ทางกำจัดใบพัดชิ้นใหญ่อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และ ‘การรีไซเคิล’ คือคำตอบในช่วงเวลานี้ ทำให้พวกเขามอบหมายหน้าที่ให้บริษัทรีไซเคิลหลายแห่ง เพื่อเฟ้นหาแนวทางการนำโครงสร้างโลหะอันมหึมานี้กลับมาใช้ใหม่  โดย Re-wind เป็นหนึ่งโครงการที่ได้รับการคัดเลือก หลังจากพวกเขาได้ตรวจสอบโครงสร้างพบว่าใบกังหันลมเอามาใช้ในทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ทำให้พวกเขาต้องการเปลี่ยนกังหันลมให้เป็น ‘โรงจอดจักรยาน’  Brian D. Rasmussen ผู้ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างท่าเรือและดูแลสิ่งแวดล้อมท่าเรืออัลบอร์ก เล่าถึงการนำใบกังหันลมมาทำให้ฟังว่าช่วงแรกเป็นเรื่องยาก เพราะใบพัดถูกออกแบบมาเพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานให้ได้มากที่สุด มันจึงมีน้ำหนักมากกว่า 20 ตัน พวกเขาจึงตัดส่วนที่ไม่จำเป็นของใบพัดออกไป เช่น ส่วนล่างสุด และปลายใบพัด เพื่อลดน้ำหนักลงและดัดรูปทรงได้ง่ายขึ้น ก่อนจะให้ช่างฝีมือท้องถิ่นมาตีเหล็กตามแบบติดตั้งช่องจอดจักรยานก็พร้อมใช้งานเรียบร้อย โรงจอดจักรยานจากใบกังหันลมเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐบาลสามารถหาทางทำให้ของเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ Cork Institute of Technology (CIT) จากประเทศไอร์แลนด์กำลังทดลองรีไซเคิลกังหันลมให้เป็นลานสเก็ต […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.