จับรถไปเดินชม Bangkok Design Week 2024 กับกิจกรรมไฮไลต์ 4 ย่านในหนึ่งวัน

สองวันสุดท้ายกับ ‘Bangkok Design Week 2024’ เทศกาลงานออกแบบประจำปีของชาวกรุงเทพฯ ที่ชวนให้เราได้ออกจากบ้านไปเดินชมความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง ภายใต้คอนเซปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ปีนี้ Bangkok Design Week ครอบคลุมพื้นที่กว่า 15 ย่าน ได้แก่ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, พระนคร, ปากคลองตลาด, นางเลิ้ง, เยาวราช, หัวลำโพง, อารีย์-ประดิพัทธ์, บางโพ-เกียกกาย, วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู, เกษตรฯ-บางบัว, พร้อมพงษ์, สยาม-ราชเทวี, บางกอกใหญ่-วังเดิม, พระโขนง-บางนา, บางมด และพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯ กับ 500 โปรแกรมที่ต่างหยิบยกของดีประจำย่านมานำเสนอผ่านความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบ เราเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะไปจอยน์งานนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้ง แต่ใครที่ยังอยากไปอีก หรือใครที่กำลังเล็งว่าจะไปย่านไหนดี Urban Creature ขออาสานำเส้นทางเดินเที่ยวงาน BKKDW 2024 ในหนึ่งวัน พร้อมกับกิจกรรมไฮไลต์ที่ห้ามพลาดจาก 4 ย่านยอดฮิตอย่างเจริญกรุง-ตลาดน้อย, เยาวราช, ปากคลองตลาด […]

‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ตำนานร้านอาหารเช้าโดยทายาทรุ่น 4 ที่อยากเพิ่มพื้นที่และบทสนทนาระหว่างมื้ออาหาร

เช้าวันหยุดเราเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้า ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังถนนประชาธิปไตยในฝั่งพระนคร รู้ตัวอีกทีเราก็ยืนอยู่หน้าบ้านสไตล์วินเทจสีเหลืองนวลที่มีต้นไม้เขียวขจีแซมอยู่ตามจุดต่างๆ เป็นบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายตั้งแต่แรกเห็น เมื่อเงยหน้าขึ้นไปบริเวณชั้นสองของอาคารก็จะเห็นป้ายตัวอักษรสีเหลืองขนาดใหญ่เขียนว่า ‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ใช่แล้ว ที่นี่คือสาขาใหม่ของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ตำนานร้านอาหารเช้าที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ มาหลายทศวรรษ ทำให้หลายครั้งที่เราพูดถึงร้านกาแฟโบราณ ชื่อของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่จะต้องติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของใครหลายคน แต่สิ่งที่ทำให้โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย แตกต่างจากสภากาแฟทั่วไปคือการออกแบบร้านให้โมเดิร์นขึ้น แถมเฟอร์นิเจอร์และสีที่ใช้ตกแต่งยังช่วยสร้างบรรยากาศโฮมมี่ เหมาะกับการนั่งจิบกาแฟเพลินๆ ไม่เหมือนกับสภากาแฟแบบดั้งเดิมที่เน้นเสิร์ฟอาหารเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ความอบอุ่นตลบอบอวลในบ้านหลังนี้ เพราะ ‘กั๊ก-สุวิชชาญ คมนาธรรมโกมล’  ทายาทรุ่นที่ 4 ร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ้กี่เล่าให้เราฟังระหว่างทัวร์ร้านในวันนี้ว่า เขาอยากให้ลูกค้าที่เข้ามาทานอาหารรู้สึกเหมือนได้ทานข้าวอยู่บ้าน และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันท่ามกลางบรรยากาศใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เขาตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวและเสน่ห์ความเก่าแก่ของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ให้กับผู้มาเยือนทุกกลุ่มและทุกวัย “ปรับในสิ่งที่ควรปรับ เปลี่ยนในสิ่งที่ควรเปลี่ยน เก็บในสิ่งที่ควรเก็บ” คือแนวคิดในการทำธุรกิจของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ที่กั๊กย้ำกับเราตลอดบทสนทนานี้ ตำนานความอบอุ่นคู่พระนคร กั๊กเล่าย้อนให้เราฟังว่า โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่สาขาแรกเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. 1952 แรกเริ่มเดิมทีถูกเรียกว่า ‘ร้านโชห่วย’ ที่มีกาแฟและชาขายอยู่ในมุมเล็กๆ มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งดื่มเพียง 3 โต๊ะเท่านั้น จากนั้นเป็นต้นมา โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ได้ยืนหยัดอยู่คู่ชาวพระนคร ผ่านทุกรอยต่อของกาลเวลา การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ทิศทางการขับเคลื่อนของสังคม และดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องมานานถึง 71 […]

เปิดย่านพระนครตะลอนออนดราม่า ในงาน Cultural District 2023 เกาะรัตนโกสินทร์ 19 – 28 พ.ค. 66

กลับมาอีกครั้งกับงาน ‘Cultural District’ โดยมิวเซียมสยาม กับคอนเซปต์ ‘พระนคร ออน ดราม่า’ ที่จะพาทุกคนไปเปิดเกาะรัตนโกสินทร์ เสพดราม่ากับอดีต 5 อัครสถานบันเทิงแห่งย่านพระนคร และไม่ใช่แค่เดินดูสถานที่แห่งความทรงจำเท่านั้น แต่ยังเป็นการเข้าไปรับชมการแสดงที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับได้ย้อนเวลาไป ณ ตอนนั้นจริงๆ ภายในงานมีการจัดการแสดงทั้งหมด 5 สถานที่ ดังนี้ 1) ‘สังคีตศาลา National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร’ ที่จะพาทุกคนไปรับชมละครใน ละครนอก รำฉุยฉาย ทริปตามรอยประวัติศาสตร์มหรสพวังหน้าและมหรสพต้นกรุง 2) ‘สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ’ กับการแสดงลิเก ล้อมวงพูดคุย และงานแสดงภาพถ่ายจากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย 3) ‘ลานคนเมือง ท่าพระจันทร์’ กับนิทรรศการย้อนความหลังของดนตรียุค 90 และมินิคอนเสิร์ต Inspiration from 90s โดย น้อง ท่าพระจันทร์ 4) ‘โรงภาพยนตร์ควีนส์’ โรงภาพยนตร์เก่าแห่งวังบูรพา ที่ทุกคนจะได้เข้าชมห้องฉายภาพยนตร์ ร่วมทริปตามรอยโก๋หลังวัง และนิทรรศการ […]

ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก

เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]

‘ทรงวาด’ ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดแห่งพระนคร

จุดเริ่มต้นของย่าน ‘ทรงวาด’ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้หลายครั้งเพราะความแออัดของชุมชน และตัวอาคารที่เป็นไม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงวาดแนวถนนบนแผนที่ขึ้นมาใหม่ เป็นเส้นตรงจากท่าน้ำราชวงศ์เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดปทุมคงคาฯ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ย่านสำเพ็ง เพราะถ้าปล่อยให้ปลูกสร้างอาคารอย่างเดิม ตึกรามบ้านช่องก็จะแน่นหาทางเดินไม่ได้ และรับสั่งให้เปิดเป็นถนน รถราจะได้มีโอกาสแล่น ไม่ต้องแออัด เมื่อสำเร็จความเจริญก็เข้ามาถึง ถนนสายนี้จึงมีนามว่า ‘ทรงวาด’ เวลา 09.00 น. แสงแดดสาดส่องยังตึกเก่าแก่สไตล์โคโลเนียล ที่โดดเด่นด้วยซุ้มประตูหน้าต่างแบบกอทิก ประดับประดาด้วยไม้ฉลุสีเขียวอย่างวิจิตร ตึกแห่งนี้เคยเป็นห้างขายผ้าที่นำเข้าจากอินเดีย จนมีชื่อเล่นว่า ‘ตึกแขก’ มนตร์เสน่ห์ของตึกแขกดึงดูดทุกสายตาของคนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณหัวมุมถนนทรงวาดตัดกับถนนราชวงศ์ รวมถึงเชื้อเชิญให้เราเข้าไปเยือนถนนทรงวาด เพื่อตามหาร่องรอยอารยธรรมและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังถนนย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดของพระนคร ร่องรอยความรุ่งเรืองของย่านทรงวาด เมื่อเราย่างก้าวเข้าไปยังทรงวาด เพียงไม่กี่ก้าวเราก็พบร้านค้าพืชพันธุ์ทางการเกษตรตลอดสองข้างทาง ได้เห็นตึกแถวที่เป็นโกดังสินค้า รถเข็นของ คนยกกระสอบ รถบรรทุก และนกพิราบที่คอยกินพืชผลที่หล่นจากกระสอบ ซึ่งภาพทั้งหมดฉายให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีตที่ยังคงหลงเหลือ มีหนึ่งเรื่องเล่าตลกๆ ที่คนเฒ่าคนแก่แถวนั้นเล่าให้เราฟัง สมัยก่อนถ้าคุณต้องการพืชพันธุ์แค่หยิบมือ ให้เดินไปหยิบจากกระสอบได้เลย ไม่ต้องซื้อ เรื่องเล่านี้ตีความได้หลายแง่ อาจจะหมายถึงร้านค้าแถวนี้เน้นการขายส่งเป็นหลัก หรือในอีกความหมายหนึ่ง อาจจะหมายถึงความร่ำรวยของพ่อค้าแม่ค้าบนถนนสายนี้ก็ว่าได้ หากเราบอกว่าเมื่อเกือบร้อยปีก่อนท่าน้ำที่ปัจจุบันไร้เงาเรือ เต็มไปด้วยเรือน้อยใหญ่จอดเทียบเต็มน่านน้ำเจ้าพระยา หลายคนอาจนึกภาพไม่ออก เพราะปัจจุบันท่าเรือเหล่านี้คงเหลือไว้เพียงเค้าลางที่ยังพอเล่าอดีตให้เราฟังได้ว่า ‘ทรงวาด’ เคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญทางเรือ สังเกตได้จากเสาท่าเรือที่ยังหลงเหลืออยู่ตลอดแนวแม่น้ำ […]

ซอสพริกศรีราชา ตราเหรียญทอง แห่งย่านเฟื่องนคร ซอสพริกที่อายุพอๆ กับประชาธิปไตย 2475

พาไปเฟื่องนคร คุยกับคุณตาเจ้าของโรงงานซอสพริกศรีราชา ตราเหรียญทอง ที่เกิดมาพร้อมกับประชาธิปไตย และอยู่คู่ย่านมากว่า 80 ปี

โลกใบใหม่ของ ‘นิวเวิลด์’ ห้างร้างย่านบางลำพู อดีตวังมัจฉาในความทรงจำชาวเมือง

ชวนดูนิทรรศการที่เล่าเรื่องย่านบางลำพู ผ่าน ‘ห้างนิวเวิลด์’ ตึกร้างที่อยู่คู่ย่านมาร่วม 40 ปี

ตีตั๋วเข้าพิพิธภัณฑ์ ฟังเรื่อง ‘พระนคร’

ชักชวนทุกคนร่วมทริป ลัดเลาะเข้า 9 พิพิธภัณฑ์ที่พระนครและละแวกใกล้เคียงอย่าง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อเรียนรู้เมืองเก่าของกรุงเทพฯ ในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ตำรับยา และการศึกษาไปพร้อมกัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.