ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

‘Rainy Day People’ มนุษย์เมืองใต้ฝนฟ้าที่ไม่เป็นใจ

“ดูท่าเหมือนฝนจะตก หยิบร่มติดตัวไปด้วยเป็นยันต์กันฝน” นี่คือประโยคที่หลายคนพูดล้อเล่นกันบ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาสภาพอากาศในป่าคอนกรีตที่ร้อนระอุอย่างกรุงเทพมหานครได้ แม้จะมีกรมอุตุนิยมวิทยาคอยพยากรณ์ให้ก็ตาม บางวันบอกว่าจะตกหนัก แต่ดันไม่หนักบริเวณที่เราอยู่ บางวันบอกว่าฟ้าจะสว่างสดใส แต่เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างกลับมีฝนตกโปรยปรายเสียอย่างนั้น การหลบฝนใต้ร่มเงาสะพาน สวมถุงกันผมชื้น หรือฝืนเดินฝ่าม่านน้ำไป เลยอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเมืองอย่างเราๆ ล้วนต้องปรับตัวและใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่คาดเดายากมานานแล้ว จนบางครั้งก็อาจลืมไปว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วหรือเปล่า ระหว่างติดฝนจนกลับบ้านไม่ได้ครั้งหนึ่ง เราจึงลองมองพฤติกรรมของ ‘มนุษย์เมืองใต้ฝน’ ที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งน่าสังเกต น่าสนใจ และน่าคิดตาม ทำให้เราอยากบันทึกเอาไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราต่างต้องเอาตัวรอดกันให้ได้ในมหานครแห่งนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี 

วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565  ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง พี่วินมอเตอร์ไซค์ปากซอยทำนายว่าฝนจะถล่มลงมาช่วงเย็น ถ้าคำทำนายของพี่วินฯ เป็นจริงนั่นเท่ากับว่าคนกรุงเทพฯ ในเมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัว จะต้องเลิกงานลงมาเจอกับห่าฝนที่ต่อให้ตกต่อเนื่องไม่ถึงชั่วโมงน้ำก็ท่วมถึงหัวเข่า รถราบนท้องถนนติดแจ บางคนอาจต้องรอรถเมล์จนยืนร้องไห้ บ้างอาจต้องใช้เงินแก้ปัญหาเพื่อจะได้กลับบ้านไปพักผ่อนไวๆ หลังเจองานหนักหน่วงช่วงกลางสัปดาห์ ดูแล้วปัญหาฝนตกน้ำท่วมน่าจะยังไม่มีทางจบสิ้นในเร็ววัน แต่อย่างน้อยหนึ่งในวิธีที่จะช่วยทุเลาปัญหานี้ไปได้ก่อนระหว่างฤดูฝน นั่นคือการใช้ฟีเจอร์ใหม่ของ ‘Traffy Fondue’ แพลตฟอร์มสีน้ำตาลคู่ใจชาวเมือง ฟีเจอร์ที่ว่านี้ทำให้เราสามารถติดตามสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที โดยใช้ข้อมูลของผู้ใช้งานที่แจ้งระบบเข้ามาในรัศมี 500 เมตร ภายในเวลา 6 ชั่วโมงก่อนหน้า มาแสดงผลเพื่อให้พวกเราวางแผนการเดินทางจากบ้านหรือที่ทำงานได้ เรียกว่าร่วมด้วยช่วยกันเพื่อไม่ให้ต้องเอามือพายเรือระหว่างทาง แถมลดโอกาสเสี่ยงเท้าราน้ำอีกด้วย วิธีตรวจสอบน้ำท่วมนั้นก็แสนสะดวก เริ่มจาก Add LINE เพิ่มเพื่อนที่ bit.ly/3BC4uWI จากนั้นมองหาไอคอนรูปบ้านโดนน้ำท่วมสีเขียวด้านล่าง เพื่อขอตรวจสอบน้ำท่วม โดยส่งพิกัดที่อยากรู้และรอผล หรือหากอยากแจ้งปัญหาอื่นๆ เช่น ต้นไม้ล้ม เสาไฟหัก ก็ทำได้ด้วยการเลือกไอคอนสีเหลือง ‘แจ้งเรื่องใหม่’ ได้เลย ติดตามความคืบหน้าของการรายงานปัญหา หรือเข้าไปแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอย รวมถึงดูคู่มือการใช้งาน Traffy Fondue ได้ที่ https://www.traffy.in.th/

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.